📝บางส่วนจากการบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ในวันคล้ายวันอีดุลมับอัษ 27 รอญับ ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 28 ก.พ. 2565
___________________
[เนื้อหาต่อจากตอนที่ 4]
•• ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญของอุมมัตของท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)คือ การขัดเกลาตัวเอง สำคัญที่สุดคือการขัดเกลาตัวเอง ออกจากซีฟัตที่ไม่ดีงามทั้งหมด
และสำหรับพวกเรา เวลาเราพูดถึงซีฟัตไม่ดีงาม อย่าไปแปลว่า กินเหล้า ทำซีนา ไม่คลุมฮิญาบ ไม่ใช่ อันนั้นคือห่าง..พวกเราขัดมาแล้วตรงนั้น ล้างรถแต่ข้างนอก ข้างในยังไม่ดูดฝุ่นเลยจะสะอาดหรือไม่? เปิดไปข้างในเหม็น นั่งไม่ได้ สะอาดหรือไม่? อันนั้นคือล้างข้างนอก ข้างในต้องดูดฝุ่นต้องเก็บขยะออกหรือไม่? ขยะในหัวใจมันมีมาก ซีฟัตที่ไม่ดีงามต่างๆทุกอย่าง ความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว ความตะกับโบร ริยาอ์อะไรก็ตามแต่ จะต้องขัดออกให้หมด
การขัดเกลาของพวกเรา จึงไม่ใช่เพียงแค่เรื่องไม่ถือศีลอด ไม่นมาซ ไม่ใช่เราก้าวพ้นจบสมบูรณ์แล้ว หากเรานมาซ ถือศีลอด ไม่ใช่ว่าเราสะอาดบริสุทธิ์แล้ว
แม้แต่ความหวาดกลัว กลัวอะไรก็ตามแต่ บางครั้งความหวาดกลัวไม่ได้แปลว่า คนถือปืนมา มันจะมาฆ่าเรา อันนั้นก็คือความหวาดกลัว ทว่าบางครั้งความหวาดกลัว หมายถึง กลัวลูก กลัวเมีย กลัวในทางที่ผิด ความหวาดกลัวอันนี้ อัลลอฮ์(ซบ)ก็คิดบัญชีเหมือนกัน ดังนั้น ต้องขจัดออกไป ไม่ให้มีความหวาดกลัวใดๆ นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ)
ทำไมอุมมัตของท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ต้องขัดเกลาถึงขนาดนี้? ในขณะที่ทำไมท่านนบีอิบรอฮีม(อ) จึงต้อง “สอน” พวกเขาก่อน [จากนั้นจึงจะขัดเกลาพวกเขา]
ویعلمهم الکتاب و الحکمة و یزکیهم
นี่ของนบีอิบรอฮีม แต่ทว่าของที่อัลลอฮ์(ซ.บ)พูดถึงนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) คือ
ویزکیهم و یعلمهم الکتاب والحکمة
คำว่า یزکیهم มาก่อน — อย่างไรก็ตาม การขัดเกลาตัวเองไม่ใช่ง่าย ไม่ได้หมายความว่า ถ้าเรานมาซแล้ว เราจะไม่เห็นแก่ตัวแล้ว ยังต้องขัดเกลาอีก นบี(ศ็อลฯ) มาเพื่อขัดเกลา หากขัดไม่หมด ต้องไปขัดต่อในอะลัมบัรซัค นะอูซูบิลลาฯ อะลัมบัรซัคขัดไม่หมด สถานีสุดท้ายขัดต่อ จนกระทั่งสามารถเข้าสวรรค์ได้ในท้ายที่สุด
🔻ทำไมภารกิจแห่งการขัดเกลา จึงมาก่อน สำหรับอุมมัตของท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)?
[ตอบ โดยการอ้างอิงไปยัง] ฮาดิษบทเดียว ลองฟังฮาดิษบทนี้ แล้วเราจะรู้ว่าทำไมต้องขัดเกลาก่อน
ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)ได้ตอบคำถามหนึ่งว่า ท่านถูกมับอัษมาเพื่ออะไร? ซึ่งนบี(ศ็อลฯ) ได้บอกว่า
إنَّما بُعثتُ لأتمِّمَ مكارمَ الأخلاقِ
คำอธิบาย:
“แท้จริง…” — ให้แปล แท้จริงว่า “เฉพาะ” ด้วย —
อันที่จริงแล้ว เป้าหมายหลัก เป้าหมายเดียวที่ฉันมับอัษขึ้นมานั้น มาเพื่อจะ
مكارمَ الأخلاقِ
ทำให้ “อัคลากที่ทรงเกียรติ” นั้นสมบูรณ์ จบสิ้น จะมาบอกเรื่องอัคลากนั้นให้จบ
สิ่งที่เราพูดไปก่อนหน้านี้ คือ อัคลากเบื้องต้น ความกล้าหาญ ความเอื้อเฟื้อ ความเผื่อแผ่ มีเมตตา ไม่โอ้อวด เหล่านี้ คืออัคลากเบื้องต้น
มีอัคลากที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งท่านอิมามโคมัยนี(รฎ)ได้เขียนไว้ในหนังสือ 40 ฮะดิษของท่าน ในฮะดิษท้ายๆว่าจุดจบของมนุษย์อยู่ตรงไหน จุดสูงสุดของมนุษย์อยู่ตรงไหน มนุษย์กำลังเดินทางไปสู่ที่ใด…
ท่านอธิบายฮาดิษบทนี้ว่า จุดสูงสุดของมนุษย์ ไปอยู่ตรงที่อัลลอฮ์(ซ.บ) ฮาดิษดังกล่าวเป็นฮาดิษกุดซีด้วย อยู่ใน 40 ฮะดิษของอิมามโคมัยนี(รฎ) เป็นฮะดิษที่สูงมาก มีอยู่ 2-3 ฮะดิษ ซึ่งเราจะยกมาสัก 1 ฮะดิษก่อน ความว่า:
یا عبدی إعبدونی حتی تکون مثلی
‘โอ้บ่าวของฉัน จงเคารพภักดีต่อฉัน….’
— เคารพภักดีอย่างไร? —
‘จนกระทั่งเจ้าได้เป็นเหมือนกับฉัน’
حتی تکون مثلی
หมายความว่าเป็นเหมือนกับใคร? — เป็นเหมือนกับอัลลอฮ์(ซ.บ) *แต่เป็นแบบไหนนั้น ไม่ขอพูด เนื่องจากเวลาจะหมดแล้ว เพียงให้รู้ว่านี่คือที่ไปของมนุษย์*
นบี(ศ็อลฯ)มาสั่งสอน มาขัดเกลา มาทำอะไรกับพวกเรา ดังนี้ คือ ฮิกมัตที่ต้องขัดเกลาพวกเราก่อน หากไม่ขัดเกลา ไม่มีวันที่จะไปถึง อันที่จริงแล้ว มีอยู่ 2-3 ฮะดิษด้วย [ที่ยืนยันประเด็นนี้]
ในฮะดิษบทนี้ มีดุอาบทหนึ่งเข้ามายืนยัน เป็นดุอาในเดือนรอญับด้วย ผมคิดว่า คนที่เป็นนักเรียนศาสนาโดยส่วนมาก จะรู้จักดุอาบทนี้ เพราะครูบาอาจารย์จะเน้น และกำชับเป็นอย่างมากในหมู่นักวิชาการว่า ในเดือนรอญับ ให้อ่านดุอาบทนี้
ดุอาที่กำลังจะยกมานี้ จะเข้ามายืนยันในสิ่งที่เรากำลังคุยกันว่า ทำไมมับอัษนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ทำไมอัลลอฮ์(ซบ)ต้องทวงบุญคุณกับมนุษย์
หนึ่งในดุอาประจำวันสำหรับเดือนรอญับ ขึ้นต้นว่า
اَللّٰهُمَّ اِنِّي اَسْاَلُكَ بِمَعَانِيْ جَمِيْعِ مَا يَدْعُوْكَ بِهِ وُلَاةُ اَمْرِكَ
‘โอ้อัลลอฮ์(ซ.บ)เราขอด้วยความหมายทั้งหมดที่บรรดา وُلَاةُ اَمْرِكَ (อุลาตุอัมริก) ขอจากพระองค์‘
“อุลาต” คือบรรดาบุคคลที่ได้รับวิลายัตจากอัลลอฮ์(ซบ) นั่นคือ อะฮ์ลุลเบต — แม้เราไม่รู้ว่าอะฮ์ลุลเบตขออะไร แต่เราขอดุอาอันเดียวกัน ฃกับที่อะฮ์ลุลเบตขอจากพระองค์ ทั้งหมดเลย กล่าวคือ ไม่ว่าอะฮ์ลุลเบตขออะไรจากพระองค์ เราก็ขอสิ่งนั้นด้วย
อินชาอัลลอฮฺ ให้เราอ่านดุอาบทนี้ ซึ่งหนังสือมะฟาติฮุลญินาน พร้อมกับความหมายทั้งเล่ม ก็มีพี่น้องเราจัดทำขึ้นมาแล้ว และดุอาดังกล่าว ครูบาอาจารย์ ก็เน้นเป็นอย่างมาก
اَللّٰهُمَّ اِنِّي اَسْاَلُكَ بِمَعَانِيْ جَمِيْعِ مَا يَدْعُوْكَ بِهِ وُلَاةُ اَمْرِكَ
เราขอทั้งหมดเลย ‘ในความหมายที่อุลาตุอัมริก — คนที่เป็นวะลี คนที่ได้รับวิลายัต หรือที่อะฮ์ลุลเบต ขอ‘
หลังจากนั้นก็เป็นการอธิบายซีฟัตของอะฮ์ลุลเบต [ความว่า]
الْمَاْمُوْنُوْنَ عَلٰى سِرِّكَ
‘ผู้ที่มีอามานะฮ์ในความลับทั้งหมดของพระองค์’
الْمُسْتَبْشِرُوْنَ بِاَمْرِكَ الْوَاصِفُوْنَ لِقُدْرَتِكَ
… ต่อไป และมีคำวิงวอนว่า:
فجعلتهم معادن لکلماتک
ที่พระองค์ทรงทำให้พวกเขาเป็นที่เก็บของกาลีมะฮ์ของพระองค์ทั้งหมด ทั้งมวล…
یعرفک بها من عرفک
*ตรงนี้คือ เป้าหมายที่เรากำลังอธิบาย*
‘โอ้อัลลอฮ์ เรารู้จักพระองค์เพราะพวกเขา’ — อะฮ์ลุลเบตทำให้เราได้รู้จักอัลลอฮ์(ซ.บ) รายละเอียด อินชาอัลลอฮ์ ไว้อธิบายโอกาสหน้า — เราได้รู้จักอัลลอฮ์(ซ.บ)เพราะอะฮ์ลุลเบต
مَنْ عَرَفَكَ…
‘ดังนั้นใครที่รู้จักพระองค์แล้ว…’
لَا فَرْقَ بَيْنَكَ وَ بَيْنَهَا…
‘ไม่มีความแตกต่างใดๆระหว่างพระองค์และพวกเขา’
ณ ตรงนี้ ดุอาบทนี้ที่มาจากอะฮ์ลุลเบต ยืนยันว่า ถ้าใครรู้จักกับอัลลอฮ์(ซ.บ) ไม่มีความต่างใดๆระหว่างอัลลอฮ์(ซ.บ)กับอะฮ์ลุลเบต
اِلَّا اَنَّهُمْ عِبَادُكَ…
‘เพียงแต่พวกเขานั้นเป็นบ่าวของพระองค์’ — เป็นมัคลูกของพระองค์
อันนี้ผมยกขึ้นมา เพื่อยืนยันว่า….
یا عبدی إعبدونی حتی تکون مثلی
สิ่งที่ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)จะพามนุษย์ไปถึงจุดนี้นั้น หากจะหาคำตอบที่ง่ายที่สุด คือ นำพามนุษย์ไปเป็นอัลลอฮ์(ซ.บ)ด้วย แต่อัลลอฮ์ที่เป็นมัคลูกของอัลลอฮ์(ซ.บ) ถามว่า อันนี้เป็นบุญคุณที่ใหญ่หลวงหรือไม่?
ตรงนี้เราจะเข้าใจ ทำไม
لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ
[การมับอัษศาสดามูฮำหมัด ศ็อลฯ จึงเป็นบุญคุณกับบรรดาผู้ศรัทธา]
เพราะอันนี้ มนุษยชาติทำได้หรือไม่? — [มนุษย์ชาติทั่วไปทำไม่ได้] นอกจาก มุมินนินเท่านั้นที่ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)จะสามารถพาไปถึง แต่ว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่เรากลับมาติดกับดุนยา แล้วก็ไปไม่ถึงไหน เพราะเราติดของเน่าของเหม็นที่อยู่ในดุนยา ทำให้เราไม่สามารถที่จะไปไหนได้เลย เพราะเราไม่รู้ว่าราคาของเรานั้นจะยิ่งใหญ่และสูงส่งสักขนาดไหน
นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมเมื่อมับอัษนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)แล้ว อัลลอฮ์(ซ.บ)จึงทวงบุญคุณกับมนุษย์ และทวงบุญคุณกับมุอฺมินเท่านั้น
✳️ อามั้ลในวันอีดมับอัษ
อินชาอัลลอฮ์ ด้วยบารอกัตแห่งมับอัษท่านนบี(ศ็อลฯ) หรือพูดว่าเป็นวันอีด มีอะมั้ลอยู่ 3-4 อย่าง ที่เป็นอะมั้ลที่ทำง่าย และได้ผลบุญเป็นอย่างมาก
เปิดในหนังสือจะพบว่า อามั้ลในคืนมับอัษ คือ การซิยารัตท่านอิมามอะลี(อ) อย่างเดียว น่าแปลกเป็นอย่างมาก คืนมับอัษที่คิดว่าจะเป็นซิยารัตท่านนบี (ศ็อลฯ) กลับกลายเป็นซิยารัตท่านอิมามอะลี(อ) ซึ่งดูในมะฟาตุฮุลญินานได้
ในส่วนของอามั้ลในวันรุ่งขึ้น ได้แก่
1. อาบน้ำกุซุล เนียตวันมับอัษ
— หากได้รับเตาฟีก มีอามั้ลอีกอันนึง คือ
2. การถือศีลอด *อะมั้ลพรุ่งนี้ง่ายและได้ผลบุญอย่างมหาศาล*
3.ซิยารัตท่านอิมามอะลี อีกครั้ง
ณ ตรงนี้ ลองตอบดูว่า วันมับอัษท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ทำไมต้องซิยารัตท่านอิมามอะลี?
คืนมับอัษ ต้องซิยารัตอิมามอะลี(อ) พรุ่งนี้วันมับอัษก็ต้องซิยารัตท่านอิมามอะลี(อ) แต่ทว่า พรุ่งนี้มีซิยารัตอิมามอะลี(อ)ด้วย และซิยารัตท่านนบี(ศ็อลฯ) ด้วย
อนึ่ง ในวันที่ 17 รอบิอุลเอาวัล ซึ่งเป็นวันประสูติท่านนบี(ศ็อลฯ) เมื่อเปิดมะฟาติฮุลญินาน จะพบว่า หนึ่งในอะมั้ลสำหรับวันนั้น คือซิยารัตท่านอิมามอะลี(อ)
🔻คำถาม: ทำไมวันของท่านนบี(ศ็อลฯ) จึงไปเกี่ยวกับท่านอิมามอะลี (อ)? ทำไมไม่ซิยารัตนบี(ศ็อลฯ) ไปเลย? ทำไมวันเกิดนบี(ศ็อลฯ) วันมับอัษ ต้องซิยารัตอิมามอะลี(อ)?
[ตอบ] — เพราะไม่มีใครไปถึงท่านนบี(ศ็อลฯ) ถ้าไม่ผ่านท่านอิมามอะลี(อ) ผู้ที่ทำให้เรื่องราวของนบี(ศ็อลฯ)คงอยู่จนถึงวันนี้ ก็คืออิมามอะลี(อ) ผู้ที่สร้างแบบฉบับการต่อสู้กับกอซิฏีน นาซีกีน มารีกีน คืออิมามอะลี(อ)
สุดท้ายนี้ ซอลาวาตให้เยอะในวันอีดนี้ แต่เนียตที่ซอลาวาตนี้ เพราะเป็นวันมับอัษ
กล่าวอย่างง่าย [สำหรับอามั้ลให้เรากระทำ มี] กุซุล ถือศีลอด ซียารัตท่านอิมามอะลี(อ) ซอลาวาต *ตอนซอลาวาตเนียตว่าซอลาวาตในวันมับอัษ
อินชาอัลลอฮ์ ด้วยบารอกัตอันยิ่งใหญ่ ด้วยบุญคุณที่อัลลอฮ์(ซ.บ)มีต่อพวกเราทุกๆคน
ยาอัลลอฮ์ขอให้พวกเราทุกคนไปถึงเป้าหมายสูงสุดของมับอัษด้วยเถิด ยาอัลลอฮ์
ยาอัลลอฮ์ ด้วยบารอกัตของวันมับอัษ ขอพระองค์ทรงเร่งการปรากฎตัวของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) ด้วยเถิด ยาอัลลอฮ์
ยาอัลลอฮ์ ด้วยบารอกัตของวันมับอัษ ขอพระองค์คุ้มครองการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ด้วยการชี้นำของท่านซัยยิดอะลีคาเมเนอี ให้อยู่คู่กับพวกเราจนถึงวันที่ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ) ปรากฎด้วยเถิด ยาอัลลอฮ์•••
اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم
___________
Website : syedsulaiman. com
Facebook : @syedsulaiman.th
Instagram : @syedsulaiman_thailand
YouTube : Syedsulaiman. com