นิซฟูชะอฺบาน 2020 Part 5 วันคล้ายวันประสูติ อิมามมะฮ์ดี (อ) “มหาบุรุษที่โลกรอคอย”
บรรยายพิเศษโดย ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลิมีน ซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี
🔴 การมะรีฟัตต่ออิมามประจำยุค : ตามทัศนะของท่านอยาตุลลอฮ์ ญาวาดี ออมูลีย์ ปราชญ์แห่งยุคสมัย
บทเรียนแห่งชีวิตที่สำคัญอีกบทเรียนหนึ่ง นั้นก็คือ ความเข้าใจอย่างมีมะรีฟัตต่ออิมามประจำยุคให้ได้อย่างลึกซึ้ง และเป็นมาตรวัดที่จะชี้ว่า เราจะกลับคืนสู่อัลลอฮฺ(ซบ) ในสภาพของญาฮีลียะฮ์ หรือในสภาพมีมะรีฟัตนั้น บททดสอบนี้ สามารถหาคำตอบได้จาก เรามีมะรีฟัตต่ออิมามประจำยุคหรือไม่ ?
ดังนั้น เนื้อหาในบทเรียนที่ทรงคุณค่านี้ ซึ่งได้มาจากทัศนะของท่านอยาตุลลอฮ์ ญาวาดี ออมูลีย์ ท่านเป็นอุลามาอฺอันดับหนึ่งในโลกอิสลาม (ตามทัศนะของผม และตามทัศนะอุลามาอฺหลายท่านทั่วโลก) อีกทั้งท่านเป็นนักปรัชญาเมธีที่ใหญ่ที่สุดในโลกของชีอะฮ์ จนถึงยุคปัจจุบันนี้ ท่านยังดำเนินชีวิตอยู่
หมายเหตุ : ” ปรัชญาเมธี” หมายถึง ผู้ที่เป็นนักคิดทั้งหลาย แต่”คิด”ในที่นี้หมายความว่า คิดในสิ่งที่เป็นหลักการ มีเหตุมีผล และมีผู้คนยอมรับ
ประการสำคัญ ผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์ หรือ นักปรัชญาเมธีได้ ต้องเป็นผู้ที่คงแก่เรียนอย่างมาก มีความรู้ที่กว้างขวาง และมีหลักการที่แน่นอน
👉 ท่านอยาตุลลอฮ์ ญาวาดี ออมูลีย์ ได้มีทัศนะเล็กๆน้อยๆในการอรรถาธิบายว่า ทำไมฮะดิษบทนี้ นบีไม่พูดว่า “ใครที่ดำเนินชีวิต แล้วไม่รู้จักอิมามของเขา เขาตายญะฮีลียะฮ์”
แต่ในฮะดิษนี้กลับบอกว่า “ใครที่ตายลงไป แล้วไม่ได้รู้จักอิมามประจำยุคของเขา การตายของเขา ตายญะฮีลียะฮ์”
🔶 สาระศึกษา ข้อสังเกตุ
ท่านนบี(ศ็อลฯ)ไม่ได้บอกว่า “มีชีวิตแล้วไม่รู้จักอิมาม” แต่ใช้คำว่า “ตายไปแล้วไม่รู้จักอิมาม เท่ากับเป็นการตายแบบญะฮีลียะฮ์”
แน่นอนถือเป็นคำตอบที่สำคัญมาก จากคำถาม ทำไมท่านนบี จึงเริ่มต้นที่ความตาย และทำไมไม่เริ่มต้นที่ชีวิต
ท่านตอบว่า “เพราะความตายคือ บทสรุปของชีวิต” ประโยคนี้สำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้น เหตุผลที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะมันมีฮาดิษของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวบทหนึ่ง
🌹ฮะดิษท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)
رسول خدا (ص(«کَما تَعیشُونَ تَمُوتُونَ وَکَما تَمُوتُونَ تُبْعَثُونَ»
عوالی اللآلی، ج4، ص72
ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าวว่า (กะมา ตะอีชู ตะมูตูน) “เหมือนกับที่เจ้าดำเนินชีวิตอยู่ เจ้าก็จะตายแบบนั้น”
คำอธิบาย : ฮะดิษนี้จำไว้นะครับ 👉🏻ขอมอบให้เป็นของขวัญสำหรับนิสฟูชะอฺบาน ปีแห่งไวรัสโคโรน่า (โควิด 19)
ประโยคต่อมา (วะกะมา ตะมูตูนา ตุบอะซูน) “และเจ้าตายแบบไหน เจ้าก็จะฟื้นคืนชีพแบบนั้น”
👉🏻 และพึงจำไว้อีกอย่างหนึ่งว่า หลังจากความตาย และหลังจากการฟื้นคืนชีพ ชีวิตของเราจะเป็นนิรันดร์ และไม่มีวันตายอีกตลอดไป ไม่มีวันสิ้นสุด แต่ว่านิรันดร์แบบไหน นิรันดร์ในนรก หรือนิรันดร์บนสวรรค์ นิรันดร์อย่างทุกข์ทรมาน หรือนิรันดร์อย่างสุขสบายนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
🌹 ดั่งที่นบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ) กล่าวว่า
مَنْ ماتَ وَ لَمْ يَعْرِفْ إمامَ زَمانِهِ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّة؛مناقب ابن شهرآشوب، ج۱، ص۲۴۶
คำอธิบาย : มันมาตะ (مَنْ ماتَ)ใครที่จะตายลงไป จะเห็นได้ว่า ฮะดิษนี้ “สรุปกันที่ตาย” ถ้าจะให้เข้าใจกันง่ายๆ คือ วันที่ตัวเราตาย เรารู้จักอิมามประจำยุคของเราเองไหม ตรงนี้จะได้อธิบายให้รู้จัก คำว่า “มีมะรีฟัต” ถ้าวันที่ตัวเราเองตาย “วะลัมยะอฺริฟ” (وَ لَمْ يَعْرِفْ)และไม่มีมะรีฟัตกับอิมามของเราเอง การตายของเราเป็นการตายที่ญะฮีลียะฮ์ เป็นการตายที่ไม่รู้จักอิสลาม
การตายข้างต้น พูดง่าย ๆ เป็นการตายที่ชีวิตไม่ได้อยู่ในอิสลาม แม้เจ้าจะเป็นมุสลิม ที่ชื่ออับดุลลอฮ์ หรือชื่ออะไรก็ตาม แต่มาตรวัดการจบชีวิตของเจ้าในครั้งนี้ จบแบบญะฮีลียะฮ์หรือแบบอิสลามหรือไม่นั้น ให้ดูได้ในวันที่ชีวิตจบว่า เจ้ามีมะรีฟัตกับอิมามประจำยุคหรือไม่
👉 ถ้าเจ้ามีมะรีฟัตกับอิมามประจำยุค การตายของเจ้า คือ ไม่ใช่ญะฮีลียะฮ์ แต่ถ้าในวันที่เจ้าตาย ตายลงไปโดยยังไม่มีมะรีฟัตกับอิมามประจำยุค เจ้าตายญะฮีลียะฮ์
👉 การตายแบบญะฮีลียะฮ์ คือ การตายเหมือนกับคนที่ไม่ละหมาด ไม่ถือศีลอด ไม่จ่ายซะกาต ทั้ง ๆ ที่เจ้าละหมาด เจ้าถือศีลอด และจ่ายซะกาต
👉 การตายแบบญะฮีลียะฮ์ เป็นการตายที่เหมือนคนที่ยังไม่รู้จักพระเจ้า หรือตายเหมือนคนที่ยังไม่มีพระเจ้า ทั้ง ๆ ที่เจ้ามีพระเจ้า และเจ้าละหมาด 5 เวลา
นี่คือ บางส่วนในความหมายของคำว่า “ตายแบบญะฮีลียะฮ์ จากการไม่มีมะรีฟัตต่ออิมามประจำยุค ซึ่งหากสังเกตุ จะเน้นคำว่า “ประจำยุค” ถ้าจะพูดให้พวกเราเข้าใจง่าย และมีกำลังใจเพิ่มขึ้น สมมติ เราไม่มีมะรีฟัตกับอิมามอาลี(อ)นั้น ยังไม่เท่าไหร่ เราไม่มีมะรีฟัตกับอิมามฮูเซน(อ)ก็ยังไม่หนักเท่ากับการไม่มีมะรีฟัตกับอิมามประจำยุคของเราเอง
ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการมีมะรีฟัต เพราะหัวใจหลักของเรื่อง หรือหัวใจของฮาดิษบทนี้ชี้ที่คำว่า “มะรีฟัต” ซึ่งเราก็ต้องทำความเข้าใจ ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนท่ีต้องรู้ว่า มะรีฟัตคืออะไร แปลว่าอะไร ระดับไหน
อย่างไรก็ดี ในส่วนระดับเรา แบบพวกเรา ชาวบ้านธรรมดา ๆที่พอมีความรู้บ้าง เราจะไปถึงขั้นมีมะรีฟัตต่ออิมามได้หรือไม่นั้น ซึ่งบางคนเมื่อพูดถึงมะรีฟัตก็จะรู้สึกหนัก อาจมีคำถามคาใจว่า โอ้ ต้องขนาดเอาลียาอฺอัลลอฮฺหรือ
ขอตอบว่า ไม่ใช่ แน่นอนเราไปถึงขั้นเป็นเอาลียาอฺอัลลอฮไม่ได้ ถ้าเราไม่มีมะรีฟัต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนในโลกนี้ต้องมีมะรีฟัตเหมือนกับเอาลียาอฺอัลลอฮฺ หรืออยาตุลลอฮ์
ทว่าการมีมะรีฟัตในที่นี้ ก็คือ การรู้จักที่ลึกซึ้ง การรู้จักที่ดีกว่า การรู้จักที่มากกว่า ซึ่งภารกิจนี้คือ “หน้าที่ของทุกคน และไม่มีใครมีสิทธิไม่ต้องมีมะรีฟัต” หากจะพูดให้แคบลงไป ก็คือ “ชีอะฮ์ทุกคนจะต้องมีมะรีฟัต”
ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ไม่มีมะรีฟัต เขาไม่ถูกนับว่าเป็นชีอะฮ์ เพราะคนที่ไม่มีมะรีฟัตเป็นชีอะฮ์ไม่ได้ แลัในสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มขึ้น คือ การมีมะรีฟัต ไม่ได้แปลว่า ต้องมีความรู้เท่ากับอยาตุลลอฮฺหรือเอาลียาอฺอัลลอฮฺ เพียงแต่มะรีฟัตระดับเรานั้น ขอ ให้มีความรู้ที่ละเอียด ที่ลึกซึ้ง ที่ดีกว่า
หากจะกล่าวโดยสรุป การมีมะรีฟัตระดับเรา คือ การมีความรู้ที่ทำให้เรารู้หน้าที่ของเราอย่างแท้จริง และมีการปฏิบัติหน้าที่ของเราได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ ซึ่งสมบูรณ์ในที่นี้ หมายถึง สมบูรณ์ตามความรู้ที่เรามีนั่นเอง
ดังนั้น เมื่อเราพูดว่า “การมีมะรีฟัต” อย่าไปตั้งว่าเป็นมาตราฐานของเอาลียาอฺอัลลอฮฺ เพราะถ้าเราตั้งแบบนั้น เราจะหมดโอกาสที่จะสัมผัสมะรีฟัต ซึ่งจะขอนิยามให้พี่น้องเข้าใจง่ายๆ นั่นก็คือ ความรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ตามที่เราควรจะรู้ ซึ่งแน่นอนความรู้นั้นมีอยู่อย่างมากมาย ทว่าหากความรู้นั้น เราใช้คำว่า อันที่จริง อันที่ควร หรือ การคาดคะเนเช่นนั้น เช่นนี้ก็ยังไม่ใช่ ในการย้ำเตือนว่า ต้องเป็นความรู้ที่ถูกต้องและตามความจำเป็นที่เราจะต้องรู้ จึงจะเรียกว่า “มะรีฟัต” ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องมี และพึงจำไว้ว่า หากไม่มีสิ่งนี้ทุกคนตายญะฮีลียะฮ์
โปรดติดตาม Part 6
اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم
เรียบเรียงโดย : Wanyamilah S.✍🏻