อิบนุตัยมียะฮฺกับการบิดเบือนโองการมุบาฮะละฮฺ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าแม้แต่อิบนุตัยมียะฮฺ บุคคลที่เกิดขึ้นมาเพื่อลบล้างและทำลายความประเสริฐของอะฮฺลุลบัยต(อ) ก็ยังเขียนไว้ว่า “อันฟุซานา”ตรงนี้ในวันที่โองการมุบาฮะละฮฺถูกประทานลงมาคือ อาลี อิบนิ อาบีฏอลิบ แต่หลังจากนั้นเขาได้อธิบายต่อว่าไม่จำเป็นว่า “อันฟุซานา”นั้นจะเป็นอะลีคนเดียวตลอดไป …… !!! แต่นั้นคือคำอธิบายของเขา ก็เหมือนกับการอธิบายคำว่า “เมาลา”แปลว่าเพื่อน แต่ว่าคำอธิบายอันนี้ก็ไปขัดกับคำอธิบายของอาเล็มอุลามาอฺท่านอื่นๆ ขัดกับทัศนะของฟัครุรอซี ซึ่งเป็นอุลามาอฺชั้นสูงที่สุดทางด้านตัฟซีรของอะฮฺลิซซุนนะฮฺในกลุ่มของอาชาอิเราะฮฺ หรือ ท่านซามัคชารี ที่เป็นหนึ่งในอุลามาอฺชั้นนำของกลุ่มมุอฺตะซิละฮฺ ที่บอกว่าถ้าจะถามว่า”ฟาฏีลัต”ความประเสริฐอันไหนของอะลี(อ)ที่ถูกประกาศอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งสองท่าน (ฟัครุรอซีและ ซามัคชารี) ก็ได้บอกไว้ว่า “อันฟุซานา”นี้แหละที่เป็นการพิสูจน์ถึง “ฟาฏีลัต ความประเสริฐ”ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอะลี อิบนิ อาบีฏอลิบ ในฐานะตัวตนของนบี ไม่ใช่ตัวแทนของนบี…..!!!
คนบางกลุ่มกว่าจะรับว่าอะลีเป็นตัวแทนของท่านนบีนั้นก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก และจะอ้างว่าโองการนี้ไม่ได้บอกว่า อะลี(อ)เป็นตัวแทนของท่านนบี แต่ในความเป็นจริงแล้วโองการได้บอกว่าอะลีเป็นตัวตนของท่านนบี และการเป็นตัวตนนี้ มีฮาดิษต่างๆก็มาอธิบายประกอบว่าเป็นตัวตนอย่างแท้จริงและทุกแง่มุม ทั้งจิตวิญญาณ นามอธรรม และรูปธรรม
ความเป็นหนึ่งเดียวของท่านอิมามอาลีกับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ซล)
ดั่งฮาดิษต่างๆที่เราได้กล่าวไปแล้ว “รูฮุกะ รูฮี”อาจจะเป็นเรื่องของ นามธรรม อุดมการณ์และ ความเป็นหนึ่งเดียวทางจิตวิญญาณ แต่เมื่อบอกว่า “ละฮฺมุกะ ละฮฺมี “ “ดัมมุกะ ดัมมี” “เนื้อของเจ้าคือเนื้อของฉัน เลือดของเจ้าคือเลือดของฉัน” เนื้อของเจ้าคือเนื้อของฉัน เลือดของเจ้าคือเลือดของฉัน และอีกหลายเรื่องราวที่พิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของท่าน อิมามอะลีกับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ซล)โดยไม่มีความแตกต่างใดๆ ในฮาดิษมีความแตกต่างเดียวเท่านั้น
เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้พูดถึงฮาดิษในลักษณะนี้เพื่อพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของท่านอิมามอะลี(อ)กับท่านนบีจะเว้นไว้หนึ่งอย่างเท่านั้นและได้กล่าวหลายครั้งด้วยกัน คือ “อิลลา อันนาฮุ ลา นบียา บะอฺดี”เว้นแต่ว่าหลังจากฉันไม่มีนบีเท่านั้นเอง ตำแหน่งเดียวเท่านั้นที่นบีได้เว้นเอาไว้ที่ท่านมีและท่านอิมามอะลี(อ)ไม่มี นั้นคือท่านเป็นนบีและ อิมามอะลี(อ)ไม่ได้เป็นนบี
“อันตามินนี บิมันซิละติ ฮารูนามินมูซา อิลลา อันนะฮุ ลานะบียาบะอฺดี” “โอ้อะลีเจ้ากับกับฉันนั้นอยู่ในตำแหน่งเหมือน มูซากับฮารูน เว้นแต่ว่าหลังจากฉันนั้นไม่มีนบีอีก
”ฮาดิษ ละหฺมุกะ ละฮฺมี”ก็เช่นเดียวกัน เจ้าเหมือนกับฉันทุกอย่างเว้นไว้อย่างเดียว คือไม่มีนบีอีกหลังจากฉัน คือเจ้าไม่ใช่นบี ตำแหน่งเดียวเท่านั้นที่มีความแตกต่างคือฉันเป็นนบี และเจ้าไม่ใช่นบี ส่วนในเรื่องอื่นๆทั้งหมดนั้นไม่มีความความแตกต่างใดๆระหว่างเจ้ากับฉัน
แน่นอนสถานภาพของ “อันฟุซานา”จะต้องชัดแจ้งและจะต้องพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง เพราะถ้าไม่ชัดแจ้งและไม่พิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่แล้ว อุลามาอฺชั้นสูงก็จะไม่บันทึกว่าเมื่อถามว่าฮาดิษและ โองการใดที่ได้พิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของอะลี อิบนิ อาบีฏอลิบ พวกเขาได้บันทึกว่า โองการ “อันฟุซานา”ก็เพียงพอแล้วที่จะพิสูจน์ถึงความประเสริฐสุดของอะลี อิบนิ อาบีฏอลิบ เหนือทุกๆศอฮาบะฮฺ……. เหนือทุกๆประชาชาติ……. หรือเหนือมัคลูคทั้งหมด……. ด้วยกับคำว่า”อันฟุซานา”
ในโองการนี้ถือว่าเป็นหลักฐานที่ชัดแจ้งที่สุด และหลังจากที่คริสต์เตียนไม่กล้าที่จะมุบาฮะละฮฺและยอมที่จะจ่าย ญิซยะฮฺแล้ว นบีก็สั่งให้วันนั้นเป็นวันเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก หลายสิ่งหลายอย่างสถานภาพอันยิ่งใหญ่ของ อะฮฺลุลบัยต ชัยชนะของอิสลามที่มีเหนือชาวคริสต์เตียน ทั้งความรู้และความศักดิ์สิทธ์ก็ได้ถูกประกาศในวันนั้น
บทเรียนสอนมนุษย์ผู้ดื้อรั้น
ความรู้กับความศักดิ์สิทธิ์คนละเรื่องกัน บางครั้งอาจจะมีความรู้ก็มี แต่ว่าคนที่มีความศักดิ์สิทธิ์แต่ไม่มีความรู้นั้นเป็นไม่ได้ ดังนั้นทั้งความรู้และความศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามมีชัยเหนือชาวคริสต์เตียน แต่ด้วยความดื้อของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่บ่งชี้ว่าถึงแม้นว่าจะมีจิตสัมผัสแล้วและรู้ว่าอัลลอฮอยู่กับฝ่ายตางกันข้าม ก็ยังไม่ยอมไปอยู่ฝ่ายนั้น นี่คือมนุษย์ และมีแง่มุมที่ละเอียดอย่างมากที่น่าศึกษา …… !!!
ไม่ใช่ชาวคริสต์เตียนดอกหรือที่เห็นนูรอันนั้น…. ไม่ใช่ชาวคริสต์เตียนดอกหรือที่บอกว่าถ้าฝ่ายโน้นยกมือแล้ว ไม่ทันที่มือจะขึ้นสู่ฟากฟ้า เราก็จะพบกับความพินาศ ทั้งๆที่เขาสรรเสริญเยินยอคู่ต่อสู้ และแทนที่เขาจะยอมรับอิสลามแต่กลับปฏิเสธ เมื่อเขามั่นใจว่าว่าอัลลออฮฺ(ซบ)อยู่ฝ่ายโน้น และเขาก็กำลังเคารพภักดีอัลลอฮฺ คริสต์เตียนก็เคารพภักดีอัลลอฮฺ(ซบ) และพระเจ้าที่เขาสักระบูชาอยู่นั้น เขาก็รู้ว่าอยู่ฝ่ายโน้น แต่เขาก็ไม่ยอมตามไป นี่คือเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สอนว่า แม้รู้ว่าอัลลอฮฺอยู่ฝ่ายโน้น มนุษย์ที่ดื้อเพ่งทั้งหลายก็ไม่ยอมรับสัจธรรม ยอมจ่ายญิซยะฮฺ ยอมเสียเงินเสียทอง ยอมปฏิบัติตามฮาวานัฟซูของตัวเอง “อิลาฮะฮุ ฮาวาฮุ” “พระเจ้าของเขาคือฮาวานัฟซูของเขา”
จริงๆแล้วเขาไม่ได้ภักดีอัลลอฮฺ(ซบ)หรอกแต่เขาภักดีตัวของเขาเอง อัลลอฮฺเป็นหุ้นส่วนเศษเสี้ยวส่วนหนึ่งในการเคารพภักดีของเขา เขาเคารพภักดีนัฟซูของเขาต่างหาก ทำไมจึงยอมจ่ายญิซยะฮ์ ? ทำไมไม่กล้ามุบาฮะละฮฺ ? ทั้งๆที่รู้ว่าพระเจ้าอยู่ฝ่ายโน้น และยอมไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม นับถือพระเจ้าองค์เดียวกันด้วยทั้งๆที่รู้ว่าท่านนบีมุฮัมมัด(ซล)ก็นับถือพระเจ้าองค์เดียวกับท่านนบีอีซา(อ) แต่เขาก็ไม่ยอมรับอิสลามและเลือกที่จะยอมจ่ายญิซยะฮฺ สิ่งนี้ก็เป็นแง่มุมหนึ่งที่ควรต่อการศึกษาค้นคว้า แม้ว่าไปถึงจิตสัมผัสแล้วก็ตาม เพราะสัมผัสจิตไม่ใช่เครื่องยืนยันว่ามนุษย์จะรอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ(ซบ) นั้นก็เพราะพวกเขาทำไปเพื่อที่จะเห็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ดังนั้นอาเล็มอุลามาอฺ ของชีอะฮฺต่อต้านการทำอามั้ลอิบาดัต การพัฒนาการบำเพ็ญตนที่จะให้เห็นญิน มะลาอิกะฮฺ และเห็นนูร ซึ่งมันไม่มี ประโยชน์ใดๆเลย
การเห็นนูรของอะฮฺลุลลบัยต(อ)ในวันนั้นของคริสต์เตียนแห่งนัจญรอนก็ไม่ได้ให้ประโยชน์ใดๆแก่พวกเขา ในขณะที่พวกเขารู้ว่าสัจธรรมอยู่ข้างไหน แต่เขายอมที่จะจ่ายญิซยะฮฺ แต่เขาไม่ยอมที่จะรับอิสลาม เขาไม่ยอมที่จะมอบตน นี่คืออีกสันดานอันหนึ่งของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะทำอามั้ลอิบาดัตหรือไม่ทำอามั้ลอิบาดัตก็ตาม
อัลลอฮฺ(ซบ)ทรงให้เกียรติต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยต(อ)
โองการกล่าวว่า “อับนาอานา” บรรดาลูกๆของเรา แต่นำสองคนมาทำการมุบาฮะละฮฺ แม้ว่าจะลงมาในรูปของพหูพจน์ก็ตาม “นิซาอานา”ก็ลงมาในรูปพหูพจน์ แต่มีสตรีคนเดียวเท่านั้นที่ถูกเลือก “อันฟุซานา”ก็เป็นรูปพหูพจน์ แต่ก็มีคนๆเดียวเท่านั้นที่ถูกเลือก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อัลลอฮฺทรงรู้ล่วงหน้ามาแล้ว แต่ทำไมอัลลอฮฺจึงลงคำทั้งสามนี้มาในรูปแบบของพหูพจน์ ? ในแง่มุมของภาษาอาหรับเบื้องต้นเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่คนๆนั้น แม้แต่อัลลอฮฺ(ซบ)เองก็ก็ยังให้เกียรติแก่บุคคลเหล่านี้ทั้งๆที่รู้ว่าที่เลือกมานั้นไม่ได้เลือกผู้หญิงมาหลายคน แต่เลือกผู้หญิงเพียงคนเดียว ดังนั้นในหลัก ภาษาอาหรับการเรียกคนๆเดียวหรือจำนวนไม่ถึงพหูพจน์ ด้วยการใช้คำพหูพจน์นั้นถือเป็นการให้เกียรติต่อบรรดา อะฮฺลุลบัยต(อ)
อุลามาอฺบางท่านกล่าวว่าเวลากล่าวนามอะฮฺลุลลบัยต(อ)ต้องพึงระวัง ต้องกล่าวนามเต็มๆ จะไปเรียกว่า “ฮูเซน” หรือ “ญะอฺฟัร” เฉยๆไม่ได้….. ต้องเรียกท่านอิมามฮุเซน(อ) หรือท่านอิมามญะอฺฟัร(อ) ซึ่งสิ่งนี้จะต้องระมัดรังวังเป็นอย่างมาก แม้แต่อัลลอฮฺ(ซบ)ก็ยังให้เกียรติต่ออะฮฺลุลบัยต(อ)ในการกล่าวและเอ่ยชื่อของพวกเขาโดยการใช้คำที่เป็นพหูพจน์
ในมุมของภาษาอาหรับและหลักไวยากรณ์อาหรับคือการให้เกียรติอย่างสมบูรณ์ ส่วนในมิติของการอรรถาธิบายนั้น ลูกๆแห่งอิสลามนั้นคือท่านอิมามฮาซันและอิมามฮุเซนเท่านั้น ถ้าใครต้องการลูกแห่งอิสลามนั้นมีแบบฉบับเดียวที่สมบูรณ์แบบคืออิมามฮาซันและอิมามฮุเซน ส่วนสตรีแห่งอิสลาม สตรีแห่งอัลลอฮฺ(ซบ)และสตรีแห่งศาสดาคือท่านหญิง ฟาฏิมะฮฺ(อ) เป็นแบบฉบับที่ถูกยอมรับ ณ.อัลลอฮฺ(ซบ) ส่วนตัวตนแห่งนบี ตัวตนแห่งอิสลามคือ ท่านอิมามอะลี อิบนิ อาบีฏอลิบเท่านั้น และบุคคลที่สืบทอดตำแหน่ง
อะฮฺลุลบัยตฺคือนูรอันเดียวกัน
คำว่า”อันฟุซานา” ที่ใช้ในรูปพหูพจน์ก็เนื่องจากว่าหลังจากท่านอิมามอะลี(อ)แล้วจะมีตัวตนของท่านนบี (ซล)อีก สิบเอ็ดท่าน ในวันนั้นอิมามอาลี(อ)คือตัวตนของนบีที่ปรากฏและอีกสิบเอ็ดคนคือตัวตนของท่านนบีที่จะปรากฏในวันข้างหน้า ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า “อันฟุซานา” และเมื่อทั้งสิบสองคนเป็นตัวตนของท่านนบีแล้วจึงเป็นที่มาของฮาดิษบทหนึ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ซล)และบรรดาอะอิมะฮฺ(อ)ต่างก็พูดฮาดิษบทนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “เอาวาลุนา มุฮัมมัด วะ เอาซะฏุนา มุฮัมมัด วะ อาคิรุนา มุฮัมมัด” หมายความว่า “คนแรกของเราคือมุฮัมมัด ตรงกลางของเราก็คือมุฮัมมัดและสุดท้ายของเราก็คือมุฮัมมัด” “วะ กุลลุนนา มุฮัมมัด” และเราทั้งหมดคือมุฮัมมัด” และสิ่งนี้คือเหตุผลหนึ่งที่บรรดา อาเล็มอุลามาอฺอธิบายว่าทำไม “อันฟุซานา” จึงเป็นพหูพจน์ ก็เพื่อเตรียมการในการปรากฏของอิมามอีกสิบเอ็ดท่านหลังจากท่านอิมามอะลี (อ)อีกทั้งต้องการที่จะบอกว่าอิมามที่จะมาอีกสิบเอ็ดท่านนั้นไม่ได้มีสถานภาพที่แตกต่างไปจากท่านบี และไม่ได้แตกต่างไปจากอิมามอะลี(อ)
จากฮะดิษบทนี้เราเข้าใจแล้วว่าอะฮฺลุลบัยต(อ)ทุกคนคือมุฮัมมัด ดังนั้นเราจึงเข้าใจว่า ทำไมต้องใช้ “อันฟุซ” ผู้เป็นตัวตนแต่ไม่ใช่ตัวแทน เพราะท่านนบีกำลังจะบอกว่าตัวตนที่แท้จริงไม่ใช่ตัวแทน
ทำไมอุมมัต(ประชาชาติ)ของท่านนบีจึงไม่รู้จักอะฮฺลุลบัยต(อ) ? ทำไมในวันนี้มีบรรดาผู้รู้ที่โง่เขลานำท่านอิมามอะลีไปเทียบกับบรรดาศอฮาบะฮฺ ? บางคนถึงขั้นที่เอาฮาดิษที่อุปโลกน์ขึ้นมาจากบนีอุมัยยะฮฺ ว่าท่านอิมามอะลีเคยดื่มเหล้าบ้าง….. และอะไรต่างๆอีกมากมาย หนึ่งในเหตุผลที่เป็นคำตอบในเรื่องนี้ และในอัลกุรอานก็ได้อธิบายว่า บรรดาผู้รู้และบรรดาบุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรรมเดียวกับบนีอิสรออีล พฤติกรรมหลักที่สำคัญอันหนึ่งของปุโรหิตของบนีอิสรออีล หรือผู้รู้ของบนีอิสรออีลที่พยายามปกปิดความประเสริฐของท่านอิมามอาลีที่ไม่มีความแตกต่างกับบรรดาผู้รู้ที่ปกปิดความยิ่งใหญ่ของอะฮฺลุลบัยต(อ) เริ่มจากการการตัดทอนฮาดิษที่พูดถึงความยิ่งใหญ่ของอะฮฺลุลบัยต(อ)
ติดตามอ่านต่อ สาบานพิสุทธิ์ (ตอนจบ)