อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ขอสำนึกในพระมหาธิคุณแห่งอัลลอฮฺ(ซบ) ที่ทรงประทานเนียะมัตและเตาฟีกแก่พวกเราในวันนี้ วันที่เราจะได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ เป็นภารกิจของมวลมุสลิม อันมีนัยยะสำคัญเชิงอุดมการณ์และการเมือง ภารกิจนี้มวลมุสลิมทั้งโลกต้องดำเนินกิจกรรมไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดให้ได้ นั่นคือการปลดปล่อยอัลกุดส์
ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยกับหลายๆคน อัลกุดส์ คือ โดมทองของมัสยิดอัลอักศอ ความสำคัญของอัลกุดส์ ถ้าจะเปรียบเทียบก็ประหนึ่ง อัลกะอฺบะฮฺ ในมัสยิดฮะรอม บัยตุลมุกอดดิส ในภาษาสากลก็คือเยรูซาเล็ม นัยยะสำคัญของมุสลิมก็ประหนึ่งมักกะฮฺนั่นเอง เมื่อเยรูซาเล็มเป็นที่ตั้งของ มัสยิดอัลอักศอ อันมีโดมทองอัลกุดส์อยู่ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง คือ อัลกะอฺบะฮฺ และอัลกุดส์จึงเป็นสิ่งศรัทธาในดวงใจของมุสลิมทั้งมวล
ประการที่แรก ความสำคัญของอัลกุดส์เบื้องต้นก็คือกิบลัตแรกของอิสลาม ท่านนบีมุฮัมมัดรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ได้นมาซโดยหันไปทางอัลกุดส์ระยะหนึ่งก่อนที่จะหันกลับมายังอัลกะอฺบะฮฺ
ประการที่สอง อัลกุดส์ประหนึ่งคือฮะรอมของบรรดาศาสดา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาอัมบิยาอฺ บรรดานบีส่วนหนึ่งได้ถูกฝังไว้ที่ บัยตุลมักดิสใต้โดมอัลกุดส์นี้เป็นพันๆ ท่าน
ประการที่สาม พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้เปิดเผยว่าเป็นสถานที่ที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) ขึ้นอิสรออฺเมียะรอจ ใจความว่า
มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ที่ได้ทรงประทานการอิสรออฺเมียะรอจยังบ่าวของพระองค์ ท่านศาสดาขึ้นสู่ฟากฟ้าในราตรีหนึ่งจากมัสยิดุลฮะรอม สู่มัสยิดอัลอักศอ
การเดินทางไปมัสยิดอัลอักศอนั้นอัลลอฮฺ(ซบ) ได้ทรงอธิบายคุณลักษณะของมัสยิดอัลอักศอ หรือว่าอัลกุดส์ ว่า “อัลละซีบาร็อกนา เฮาละฮู”
อัลลอฮฺ(ซบ) ทรงประทาน บารอกะฮฺอย่างมหาศาลแด่มัสยิด อัลอักศอ ดังนั้นบัยตุลมุก็อดดิส จึงเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธ์ที่ได้รับคำยืนยันจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
การอิสรออฺเมียะรอจของท่านรอซูลุลลอฮฺนั้น เริ่มต้นจากมักกะฮฺเป็นฐานมุ่งสู่อัลอักศอ และจากอัลอักศอเป็นฐานมุ่งสู่ฟากฟ้า อิสรออฺเมียะรอจ เป็นคำที่ประกอบขึ้นจากคำสองคำ การเดินทางจากมัสยิดุลฮะรอมไปมัสยิดอัลอักศอนั้นเรียกว่า อิสรออฺ ส่วนการเดินทางจากมัสยิดอัลอักศอ ขึ้นสู่ฟากฟ้าเรียกว่า เมียะรอจ หรือ อุรุจ
ความสำคัญของอัลกุดส์ ต่อประชาชาติมุสลิม จึงมีค่ามหาศาลทางจิตวิญญาณของมวลมุสลิม แต่อนิจจาวันนี้อัลกุดส์ได้ถูกประชาชาติที่ชั่วช้าสามานย์ที่สุดของมนุษยชาติยึดครองไปอย่างอธรรม
นี่คือนัยยะสำคัญที่มวลมุสลิมต้องสำนึกในภารกิจที่ต้องต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อยึดเอาอัลกุดส์กลับมาอันเป็นความชอบธรรมที่ผู้ศรัทธาต้องดำเนินภารกิจนี้ให้ลุล่วงสำเร็จไปให้ได้เพราะเป็นหน้าที่อันชอบธรรมที่จะต้องดำเนินการอย่างไม่เพิกเฉย
ปัญหานี้ใช่เพียงการยึดมัสยิดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการรุกรานอิสลามทั้งแผ่นดิน เพราะมัสยิดอัลอักศอหรือเยรูซาเล็มนั้นชาวปาเลสไตน์ได้อาศัยแผ่นดินนี้อยู่ตั้งแต่บรรพกาล แต่ด้วยถูกชาวยิวโดยร่วมมือกับ นักล่าอาณานิคมตะวันตก ได้เข้ามายึดเอาแผ่นดินปาเลสไตน์ แล้วบีบบังคับจนเจ้าของแผ่นดินต้องถอยร่นอพยพ จนกลายเป็นผู้ลี้ภัยไปในหลายประเทศ ที่ยังอาศัยอยู่บ้างก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นน่าอัปยศ ความเจ็บปวดอันแสนสาหัสเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยเงื้อมมือของยิวผู้รุกราน
ภารกิจนี้ถูกยืนยันโดยพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและท่านรอซูลุลลอฮฺได้ตอกย้ำไว้ว่า แท้จริงผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน เมื่อมุสลิมไม่ว่าส่วนใดในโลกนี้เจ็บปวดก็คือความเจ็บปวดของมุสลิมทั้งโลก มุสลิมผู้ศรัทธาต้องตระหนักไว้จงดีว่าการยึดเอาอัลกุดส์คืนกลับมานั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ
ผู้ยึดครองอัลกุดส์และแผ่นดินปาเลสไตน์ก็คือ ยิวผู้รุกราน
ยิว คือใคร? ยิว คือ พวกไหน? ยิว คือประชาชาติใด?
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ได้อธิบายถึงอุปนิสัย พฤติกรรมและอุดมการณ์เอาไว้อย่างชัดเจนที่สุด มีเป็นร้อยๆ โองการที่ได้อธิบาย ตำหนิและประจานประชาชาตินี้ไว้อย่างน่าเคียดแค้นชิงชังเป็นที่สุด
ประชาชาตินี้ได้ทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้าต่างกรรมต่างวาระหลายครั้งหลายหน พวกเขาเคยถูกฟาโรห์กดขี่ข่มเหงจนเลือดตาแทบกระเด็น อัลลอฮฺ(ซบ) ทรงส่งนบีมูซา(อ) มาเพื่อปลดปล่อยพ้นจากสภาพทุกขเวทนาการนั้น
อัลลอฮฺ(ซบ) ทรงส่งบนีมูซา(อ) ไปช่วยเหลือด้วยการพาพวกเขาพ้นเงื้อมมือของฟาโรห์ จนในที่สุดได้จมกองทัพของฟาโรห์ลงในทะเลแดง นบีมูซา(อ) พาพวกเขาขึ้นฝั่งปลดแอกพวกเขาได้แล้ว ธาตุแท้อันชั่วช้าของประชาชาตินี้ก็สำแดงให้เห็นหลายครั้งหลายหน
ครั้งแรกพวกเขาเริ่มออกจากแนวทางของพระผู้เป็นเจ้า โดยการปั้นลูกวัวขึ้นมาเพื่อกราบไหว้บูชาแทนพระผู้เป็นเจ้า อัลลอฮฺ(ซบ) ได้ทรงลงโทษพวกเขาจนพวกเขาได้ขออภัยโทษต่อพระองค์ จนอัลลอฮฺ(ซบ) ทรงเมตตาให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัวใหม่ แต่แล้วพวกเขาก็ทรยศในรูปแบบต่างๆ อีกหลายครั้งหลายหน เรื่องราวของพวกเขา อัลกุรอานบทอัลบะกอเราะหฺที่แปลว่าลูกวัวได้ยืนยันเรื่องนี้ไว้ชัดเจน
ครั้งหนึ่งอัลลอฮฺ(ซบ) ทรงสั่งให้พวกเขาทำกุรบาน โดยให้เชือดวัวเป็นพลี พวกเขาได้แสดงความเนรคุณโดยการตั้งคำถามวกวนไปมากว่าจะทำกุรบานได้
จากนั้นพวกเขาก็ได้ทรยศต่อท่านนบีมูซา(อ) จนอัลลอฮฺ(ซบ) ให้นบีมูซา(อ) ทิ้งประชาชาตินี้ไปเสีย
ใจความว่า “โอ้บนีอิสรออีลจงรำลึกเนียะมัตต่างๆ ที่อัลลอฮฺ(ซบ) ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า และครั้งหนึ่งอัลลอฮฺ(ซบ) ได้ทรงทำให้พวกเจ้าสูงส่งกว่าประชาชาติอื่นๆ ทั้งหมด”
บรรดาศาสดาได้ถูกส่งไปยังพวกเขามากที่สุด แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป พวกเขาได้ใช้ความชาญฉลาดที่อัลลอฮฺ(ซบ) ไปใช้ในหนทางที่ผิดด้วยความจองหองลำพองตน ถึงขนาดประกาศตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระผู้เป็นเจ้า
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานบอกว่าพวกเขาเริ่มเบื่อหน่ายต่อศาสดาของเขา ทั้งๆที่ศาสดาได้แสดงปาฏิหาริย์ให้เขาเห็นหลายครั้งหลายหน
ในซูเราะหฺอาลิอิมรอน (โองการที่ 151) จากโองการนี้พวกเขากลายเป็นประชาชาติที่ถูกสาปแช่ง สาเหตุแห่งการถูกทรงสาปแช่งนั้นคือพวกเขาได้บอกกับศาสดาว่าพวกเขาได้ยึดเอาอำนาจของพระองค์ไว้หมดแล้ว พระบัญชาแห่ง อัลลอฮฺ(ซบ) ไม่มีอีกแล้ว โองการนี้จึงถูกประทานลงมา
เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าพวกเขาบอกว่าพวกเขาได้พันธนาการพระเจ้าไว้หมดแล้ว พระองค์ทรงบอกว่าแท้จริงพวกเจ้านั่นแหละที่ถูกพันธนาการ อำนาจของพวกเจ้านั่นเหละที่จะถูกยึดศาสดาของพวกบนี อิสรออีลนั้น พระองค์ได้ทรงส่งมาเป็นหมื่นๆ ท่าน จากจำนวนหนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันท่าน จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเมตตาพวกเขาเท่าใด แต่ยิ่งพระองค์ทรงเมตตามากเท่าใดพวกเขาก็ทรยศต่อพระองค์มากขึ้นเท่านั้น
ความชั่วช้าสามานย์ของพวกเขาถึงขั้นลงมือฆ่าศาสดา พวกเขาเริ่มลงมือเข่นฆ่าศาสดาเป็นจำนวนมาก ในบางริวายะฮฺกล่าวว่า บางเมืองนั้นพวกเขาได้สถาปนารัฐขึ้นมาใหม่ บางเมืองก็เข่นฆ่าศาสดาเป็นร้อยท่านในชั่วคืนเดียว และพวกเขาก็กลับมาทำธุรกิจค้าขายอย่างปกติในตอนเช้าเหมือนไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นเลย
ทั้งๆ ที่พวกเขาเคยวิงวอนขอพรจากพระองค์ว่าได้โปรดส่งศาสดามาให้พวกเขาด้วยเถิด แต่เมื่อพระองค์ทรงส่งมาให้แล้วพวกเขากลับเป็นผู้สังหารศาสดาเสียเอง
เหตุุผลของการสังหารศาสดานั้นก็คือศาสดาได้มาอบรม สั่งสอน ให้พวกเขาเลิกพฤติกรรมอันโหดเหี้ยมชั่วร้ายสามานย์เสีย พวกเขาไม่พอใจ พฤติกรรมเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ประหนึ่งเป็นความชั่วร้ายสามานย์ทางพันธุกรรมที่ไม่มีวันสิ้นสุด
ปาฐกถาเนื่องในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฎอน “วันกุดส์สากล” หรือวันแห่งการปลดปล่อย “อัลกุดส์”
(บรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลีมีน ซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี)
ติดตามอ่านต่อ ‘อัลกุดส์’ โดมทองแห่งศรัทธา (ตอนที่ 2)