สรุปบทเรียนอรรถาธิบาย ซิยาเราะฮ์ญามิอะตุลกะบีเราะฮ์ EP.7 [ฮ.ศ.1444]

0

📌 สรุปบทเรียนอรรถาธิบาย ซิยาเราะฮ์ญามิอะตุลกะบีเราะฮ์ EP 7 [ฮ.ศ. 1444]

🗓️ค่ำคืนที่ 9 รอมฎอน ฮ.ศ.1444 ตรงกับ 30 มีนาคม 2566

▪️สอนโดย ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลิมีน ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
________________

❤️เกริ่นนำ : เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่เอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงได้มอบเตาฟีกอันพิเสษและงดงามของท่านแก่ประชาชาติ นั่นคือการที่พระองค์ทรงเปิดประตูเราะฮฺมัตของพระองค์ ซึ่งกล่าวได้ว่าประตูแห่งเราะฮฺมัตที่เรากล่าวถึงนี้ มิใช่เพียงประตูแห่งสวรรค์เท่านั้น แต่ประกอบด้วยหลายประตูที่จะผ่านไปสู่สถานอันดีงามทั้งมวล และพระองค์ก็ทรงเปิดต้อนรับเรา “ทุกประตู” ขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงปิดประตูแห่งความกริ้วโกรธเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ ประตูนรก

❤️ในเดือนนี้ ทุกลมหายใจและการเคลื่อนไหวของมนุษย์เราจึงล้วนเฉี่ยวไปยังประตูแห่งสวรรค์ทั้งสิ้น และเราก็ต้องรู้จักประกอบคุณงามความดีและขอบคุณไปยังพระองค์เพื่อชำระล้างเราให้สะอาด จนกระทั่งเราไปถึงประตูสวรรค์นั้น

❤️หากเรารู้ว่ามีอะไรในเดือนนี้ เราจะรักและประสงค์ให้ทั้งปีเป็น “ปีแห่งเดือนรอมฎอน” เพราะในเดือนนี้ ชีวิตของเรา ไม่เฉี่ยวประตูนรกเลย จะเฉี่ยวแต่สวรรค์และความดีงามทั้งมวลเท่านั้น

นี่คือเตาฟีกอันงดงามและประเสริฐแห่งเดือนรอมฎอนที่พระองค์ทรงมอบให้กับมนุษยชาติ

🌵ดังนั้น ขอยินดีต้อนรับเข้าสู่ค่ำคืนที่ 9 แห่งเดือนรอมฎอน🌵

🌍อย่าได้คิดว่ารอมฎอนจะหมดเมื่อไหร่ แต่ให้คิดว่าเรายังเหลือเวลาในการประกอบความดีงามอีกสักเพียงใด ซึ่งขณะนี้รอมฎอนยังอยู่กับเราอีก 2 ใน 3 ของเดือน ถ้าเรามีความตั้งใจจริงในการประกอบคุณงามความดีในเดือนนี้ แน่นอนว่า… มันจะต้องชนประตูสวรรค์ในสักคืน
และพรุ่งนี้ (คืนที่ 10 ของเดือนรอมฎอน) คือวันวะฟาตของท่านหญิงคอดิญะฮฺ (ซ.) หนึ่งในสตรีที่พระองค์ทรงยกให้เป็นสตรีชั้นนำของจักรวาล และเป็นภรรยาคนเดียวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่เปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของท่าน ท่านจะรำลึกหาท่านหญิงตลอดเวลา ไม่ว่าในขณะที่ท่านหญิงยังมีชีวิตอยู่ หรือภายหลังที่ท่านหญิงได้วะฟาตไปแล้วก็ตาม

🇮🇷ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรกล่าวถึงคือ บรรดาอุลามาอฺล้วนยกบุคลากรสำคัญสองท่าน ที่ ”อิสลามเป็นหนี้บุญคุณท่านทั้งสองไว้” นั่นคือ การที่อิสลามเป็นหนี้บุญคุณใน “ทรัพย์สินของท่านหญิงคอดิญะฮฺ (ซ.)” (ที่เสียสละความร่ำรวยของท่านเพื่อการเผยแผ่อิสลาม) และ “คมดาบของท่านอิมามอาลี (อ.)” (ที่ฝ่าฟันสงครามและความขัดแย้งเพื่อการขยายตัวและความอยู่รอดของอิสลาม)🇮🇷

และนี่คือบทเกริ่นนำที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้
ต่อมาเข้าสู่บทเรียนของเรากัน

🌳เนื่องในบทเรียนของเรายังมีเกร็ดแห่งความรู้อีกนิดหนึ่งเกี่ยวกับการรับคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่เราจะต้องทำการอรรถาธิบายให้ลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการนำเสนอโดยท่านอยาตุลลอฮฺมัรวี
โดยท่านได้นำเสนอว่า ในประเด็นการรับคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) มนุษย์อาจมีสถานภาพที่แตกต่างกัน รวมถึงมะกอม และดะรอญะฮฺ ก็จะแตกต่างกัน
🌳ซึ่งมะกอมและดะรอญะฮฺของมนุษจ์จะสูงส่งขนาดไหน ล้วนขึ้นกับสภาวะและความพร้อมที่จะรับคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

อธิบายอย่างง่าย ๆ ว่า บางคนรับคำสั่งของพระองค์ เพียงแต่ในเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง เช่น พร้อมที่จะบริจาค แต่ในกรณีที่ถูกทดสอบมากกว่านั้นแล้ว เขาก็อาจจะไม่มีความพร้อม

หรือบางคน… อาจพร้อมมากกว่านั้น คือพร้อมที่จะพลีสถานภาพของตนอย่างเกียรติยศ เพื่อจะได้ปกป้องพิทักษ์รักษาศาสนา ดังสมมุติว่า แม้นเกียรติศักดิ์ของเขาจะถูกดูหมิ่นก็ตาม แต่เขาก็พร้อมที่จะยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)❗

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีคนที่พร้อมกันทั้งสองกรณี คือทั้งทรัพย์สินนอกกาย และสถานกาพของตน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
เรื่องการคลุมฮิญาบ
สมมุติว่า… มีมุสลิมะฮฺคนหนึ่ง ไปสมัครงานในบริษัทที่มีเงินเดือนสูง และเขามีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง อีกทั้งมีผู้คนเพียงจำนวนน้อยนิดที่จะผ่านการคัดเลือกงานนั้นไปได้ แต่บริษัทกล่าวว่า… “งานนี้ห้ามคลุมฮิญาบ ถ้าเธอคลุมฮิญาบ เราจะไม่รับเธอเข้าทำงาน” และสตรีคนนั้นก็ได้เลือกที่จะคลุมฮิญาบและไม่รับงานนั้น
ขณะเดียวกัน ผู้คนที่ไม่เข้าใจ ต่างก็มองว่าเธอนั้นกำลังทำลายโอกาสของตนเพียงเพื่อเรื่องการคลุมฮิญาบ “ที่บางคนมองว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยหากเทียบกับโอกาสในชีวิตที่จะได้ทำงานในสถานที่นั้น”
นั่นหมายความว่าสตรีคนนั้นพร้อมที่จะพลีโอกาสของตน ทั้งในแง่ทรัพย์สิน และสถานภาพ เพื่อรักษาคำสั่งของพระองค์

หรืออีกกรณีหนึ่ง บางคนได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสำนักคิดอิมามียะฮฺ จนกระทั่งสูญเสียตำแหน่งและภาพลักษณ์ในสายตาคนนอกที่มีความคิดแตกต่างกัน บางคนถึงกับสูญเสียเพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัว หรือความปลอดภัย เพียงเพราะเขาต้องการจะอยู่กับแนวทางอันเที่ยงตรง
นั่นก็เป็นอีกกรณีหนึ่งของการ “พลี” เพื่อที่จะยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) มันคือการพลีที่มีระดับของมัน ตั้งแต่ระดับเล็กที่สุด จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของการพลี

#และบรรดาอิมามของเราก็เป็นแบบฉบับของการพลีที่ดีที่สุด

❤️ดังเช่น กรณีการแลกของอิมามอาลี (อ.) ในคืนลัยละตุลมะบีต (คืนแห่งการหลับใหล เพื่อให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สามารถหลบหนีจากบรรดาเพชรฆาต ก่อนจะทำการฮิจเราะฮฺจากมักกะฮฺสู่มะดินะฮฺ)
หรือการพลีของท่านอิมามฮูเซน (อ.) ที่กล่าวได้ว่าเป็นการพลีที่ยิ่งใหญ่
ลองถามตนเองดูว่า มีอะไรบ้างที่ท่านอิมามฮูเซน (อ.) ไม่ได้พลีในกัรบาลา
แน่นอน ถ้าได้ฟังมัจญลิสค่ำคืนมุฮัรรอม เราย่อมนึกภาพออกชัดเจน ท่านยอมพลีทุกสิ่ง ตั้งแต่ทรัพย์สิน พวกพ้อง ลูก ภรรยา หรือแม้กระทั่ง “ตัวท่านเอง”
❤️และเช่นเดียวกัน ท่านอิมาม (อ.) ทราบดีอยู่แล้วว่าตนจะเจอกับอะไร ท่านทราบหรือไม่ว่าศีรษะของท่านจะถูกเสียบอยู่บนปลายหอก หรือร่างกายของท่านจะถูกม้าเหยียบจนแหลกเหลว หรือบรรดาสตรีและเด็กจะถูกจับเป็นเชลย และต้องถูกโซ่ตรวนอันหนักอึ้งคล้องพร้อมกับถูกทุบตีตลอดเส้นทาง แน่นอน ท่านทราบดี
และถ้าหากไม่มีจิตวิญญาณของการพลีแล้ว สิ่งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างของการพลีนี้ คือสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงแบบฉบับของการนับถือศาสนา นั่นคือ หากเราไม่มีจิตวิญญาณแห่งการพลีแล้ว เราก็อย่านับถือศาสนาเสียดีกว่า… !

แน่นอนว่า… ท่ามกลางสังคมและสภาพแวดล้อมที่ผู้คนต่างมองศาสนาเป็นเพียงความเขลา บุคคลที่จะนับถือศาสนาได้จะต้องเป็นผู้ที่พร้อมพลีทุกสิ่งเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เท่านั้น
เช่นเดียวกัน คนที่พร้อมจะพลีทุกสิ่งเท่านั้น ถึงจะมีสถานภาพในการเป็นอิมามแห่งมวลมนุษยชาติได้
ในโลกนี้มีผู้ที่ต้องการสวมตำแหน่งผู้นำเพื่อสวาปามทรัพย์สิน สถานภาพ และผลประโยชน์มากมาย แต่สำหรับคนที่จะมาเป็นผู้นำแห่งฟากฟ้านั้น ตรงกันข้าม เขาต้องพร้อมที่จะเสียสละและพลีทุกสิ่งในชีวิตเพื่อเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

เรามาดูตัวอย่างของแนวทางในการนับถือศาสนาจากโองการในอัลกุรอานกัน…

💛เริ่มจากซูเราะฮฺ ฮัจญ์ โองการที่ 11 💛

‎وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَعْبُدُ اللَّهَ عَلَىٰ حَرْفٍ ۖ فَإِنْ أَصَابَهُ خَيْرٌ اطْمَأَنَّ بِهِ ۖ وَإِنْ أَصَابَتْهُ فِتْنَةٌ انْقَلَبَ عَلَىٰ وَجْهِهِ خَسِرَ الدُّنْيَا وَالْآخِرَةَ ۚ ذَٰلِكَ هُوَ الْخُسْرَانُ الْمُبِينُ

อายะฮฺนี้สามารถเป็นลำนำของชีวิตเราได้เป็นอย่างดี
ถอดความได้ว่า
จะมีมนุษย์จำนวนหนึ่งที่นับถือศาสนาเพียงแค่ลมปากของเขา
ถ้าเขาประสบกับความดีงาม เขาจะชื่นชมและยกย่อง
แต่เมื่อเขาถูกทดสอบ
“สีหน้าของเขาก็จะเปลี่ยนไป”
คนแบบนี้แหละ ที่จะขาดทุนทั้งโลกนี้และโลกหน้า

ขาดทุนในโลกนี้อย่างไร : ก็คือ หากคนที่มิใช่มุสลิม อาจจะยังพอแสวงหาความสุขในโลกนี้ เพียงแค่ไม่กระทำอิบาดัต แต่หากเป็น “มุสลิมเพียงลมปาก” ความสุขในโลกนี้เขาก็ไม่กล้าแสวงหา หรือจะความสุขในโลกหน้าเขาก็ถูกปฏิเสธ

ดังนั้น เราต้องมีความรอบคอบและใส่ใจในการนับถือศาสนา ยามถูกทดสอบแล้วเราขาดความเชื่อมั่นเพียงเล็กน้อย จนเป็น “ผู้ที่สีหน้าเปลี่ยน” นั่นก็อาจจะทำให้เรากลายเป็น “ผู้ที่ขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” ได้

และนี่ก็คือแนวทางที่เรานับถืออยู่ เป็นแนวทางที่จะต้องมีความพร้อมในการพลีทุกสิ่งทุกอย่าง และความไว้วางใจในเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทั้งยามถูกทดสอบและยามได้รับการประทานความดีงาม โดยมีอะฮฺลุลบัยต์ (อ.) และบรรดาอิมาม (อ.) เป็นแบบฉบับทั้งในการรับคำสั่ง และการรักษามันคำสั่งนั้นอย่างมั่นคง สงบ เยือกเย็น อีกทั้งมีความสุขที่ได้ปฏิบัติตามพระองค์ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคและความเจ็บปวดย่างกรายเพียงใดก็ตาม

ซึ่งถ้าทำไม่ได้ ก็ขอให้ออกไป ก่อนที่จะขาดทุนทั้งโลกนี้และโลกหน้า…

ต่อมาเรามาเข้าหัวต่อไปที่มีความลึกซึ้งเช่นเดียวกัน💛

‎وَ الْمُسْتَقِرِينَ فِي أَمْرِ اللَّهِ

“ผู้ปักหลักที่อยู่อย่างสงบนิ่งในคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)”

คำว่า أَمْرِ ในประโยคซิยารัตบทนี้ ถามว่าทำไมเราจึงเอาคำเอกพจน์มาใช้
คำตอบคือ… เมื่อเราเอาคำเอกพจน์มาใช้ เพื่อจะคงความหมายไว้ทั้งสองความหมายเอาไว้
ทั้งความหมายอัมรฺ ที่พหูพจน์เป็น อะวามิร أوامر (คำสั่ง)
และอัมร์ที่มีพหูพจน์เป็น อุมูร أمر (กิจการ สถานภาพ)

เกี่ยวกับอัมรฺ ที่มีความหมายว่า อะวามิร أوامر (คำสั่ง) เราได้กล่าวถึงไปแล้ว (แต่ก็อย่าลืมที่จะเก็บความหมายนี้ไว้ เพราะจะช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นเช่นกัน)
ทีนี้มาดูอัมรฺที่มีความหมายว่า อุมูร أمر ที่แปลว่ากิจการ สถานภาพ ของเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

👉ก่อนอื่นเรามาว่าด้วยกิจการ (การสร้าง) หรือสถานภาพของอัลลอฮฺ ซึ่งมี 2 สถานภาพด้วยกัน
นั่นคือ
1. มุลก์ (ملك) หรืออาณาจักรทางวัตถุ (ที่เรามองเห็น)
2. มะละกูต (ملكوت) หรืออาณาจักรทางจิตวิญญาณ (อสสาร)
เรามาดูซูเราะฮฺที่ประกอบความเข้าใจทั้งสองคำกัน

👉ซูเราะฮฺแรก ซูเราะฮฺมุลก์ (บางคนเรียกซูเราะฮฺตะบา)
โองการที่ 1

‎تَبَارَكَ الَّذِي بِيَدِهِ الْمُلْكُ وَهُوَ عَلَىٰ كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ

“มหาสิริมงคล” ยิ่งแด่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งในพระหัตถ์ของพระองค์คือ الْمُلْكُ หรืออาณาจักรทางวัตถุ

อาณาจักรที่สอง คือ มะละกูต
จากซูเราะฮฺยาซีน โองการที่ 83

‎فَسُبْحَانَ الَّذِي بِيَدِهِ مَلَكُوتُ كُلِّ شَيْءٍ وَإِلَيْهِ تُرْجَعُونَ

น่าสังเกตว่าเมื่อเป็นมะลากูต مَلَكُوتُ เราเรียกพระองค์ว่า سُبْحَانَ الَّذِي
หรือ “มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ (ซ.บ.)”

ซึ่งเมื่อเป็น มุลกฺ เราเรียกพระองค์ว่า تَبَارَكَ الَّذِي
หรือ “มหาสิริมงคลยิ่งแด่อัลลอฮฺ (ซ.บ.)”

👉มีความต่างระหว่างคำสองคำนี้มากมายมหาศาล👈

การใช้คำว่า سُبْحَانَ الَّذِي ในมะละกูตสำหรับเรียกพระองค์
ชี้ถึงความบริสุทธิ์ที่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ สำหรับโลกแห่งมะละกูตนี้ อาจกล่าวได้ว่ามันบริสุทธิ์เกินกว่ามนุษย์ผู้แปดเปื้อนจะเข้าใจได้ด้วยซ้ำ
นั่นเพราะ ملكوت เป็น المجرد หรืออสสาร

ดังนั้น กล่าวได้ว่ามนุษย์มีสองอาณาจักรอยู่ในตนเองนั่นคือ

1. มุลก์ (ملك) ที่เป็นเลือดเนื้อกายาของเรา และ
2. มะลากูต (ملكوت) ที่เป็นรุฮฺ หรือจิตวิญญาณของเรา

🌧สำหรับจิตวิญญาณ เมื่อมันเป็นอสสาร หรือกล่าวได้ว่าไม่เป็นวัตถุที่จับต้องได้ มันจึงสามารถท่องไปยังอาณาจักรต่าง ๆ ของพระองค์ได้โดยไม่มีสิ่งใดมากีดขวาง เช่น เมื่อออกจากโลกนี้ ก็ไปสู่อาลัมบัรซัค ก่อนจะเคลื่อนไปอาลัมกิยามัต และไปต่อเรื่อย ๆ
🌧การที่มันไม่ได้เป็นวัตถุ จึงหมายความว่ามันอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของวัตถุไปอีก ก็คือ ไม่ได้ขึ้นกับสถานที่ เวลา และการที่มันมี “ความสมบูรณ์” อยู่ในตัวอยู่แล้ว

⭐ถามว่า สมบูรณ์ อย่างไรหรือ ? นั่นก็คือ ตามปกติ การที่พวกเราเกิดมาเป็นมนุษย์ มีร่างกายเป็นวัตถุ พวกเราจะต้องค่อย ๆ พัฒนาสู่ความสมบูณร์ต่อไป ตั้งแต่เป็นอสุจิ ก่อนที่จะเป็นก้อนเลือด และค่อย ๆ พัฒนาจนมีเนื้อหนัง และเติบโต

⭐อย่างไรแล้ว รุฮฺหรือวิญญาณนั้นต่างออกไป เพราะวิญญาณล้วนมีความสมบูรณ์ในตนเองอยู่แล้ว (เพราะมันไม่ได้เป็นวัตถุ ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงหรือเติบโตนั้นเป็นคุณสมบัติของวัตถุ) แต่เมื่อเรามีร่างกาย สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การที่เราจะต้องเลือก ว่าเราจะพัฒนาจิตวิญญาณนี้ให้สูงขึ้น หรือต่ำลง ซึ่งนั่นขึ้นกับอามัลของเรา

วิญญาณจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยึดติดกับเวลาและสถานที่ เมื่อไม่ยึดติดกับเวลาและสถานที่แล้ว มันจึงสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปยังที่ไหนก็ได้หรือกระทั่งแปลงเป็นได้ทุกอย่าง
และนี่ก็คือความหมายของ أَمْرِ ที่สื่อถึงความหมายที่สอง นั่นคือ อุมูร أمر (กิจการ, สถานภาพ) ซึ่งเป็นเรื่องของ มะละกูต หรือความเป็นอสสารที่มีความสมบูรณ์แบบ

⭐ดังนั้น หากเราใช้ أَمْرِ ในการพูดถึงสถานภาพของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่เป็นมะลากูต เราจึงกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นสิ่งที่มีหนึ่งเดียว (เตาฮีด) ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และนั่นหมายความว่า เตาฮีดก็เป็น أَمْرِ ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ขณะเดียวกันถ้าพูดถึงความเมตตา ก็ต้องเป็นความเมตตาที่มหาศาลชนิดที่ว่าเราไม่สามารถจินตนาการหรือไปถึงได้ และแน่นอนความเมตตาก็เป็น أَمْرِ ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ย้ำอีกครั้งว่า أَمْرِ ที่สื่อถึง มะละกูต คือเรื่องจิตวิญญาณ อสสาร ถือเป็นอำนาจระดับที่อยู่เหนือการมีอยู่ ดังเช่นอำนาจการปกครองต่อมะลาอิกัต (เราไม่มีวันนึกภาพออกว่าเป็นอย่างไร)
พอพวกเราเข้าใจว่า أَمْرِ เป็นเรื่องของมะละกูต ถ้าเรากลับมาอ่านซิยารัตแล้ว

‎وَ الْمُسْتَقِرِينَ فِي أَمْرِ اللَّهِ

“ผู้ปักหลักที่อยู่อย่างสงบนิ่งในคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)”

🦋 ถ้า أَمْرِ ในความหมายแรก คือ มั่นคงในคำสั่ง
🦋 แต่ أَمْرِ ในที่นี้ คือ อะฮฺลุลบัยต์ (อ.) อยู่ในเตาฮีดของพระองค์
ถามว่าอยู่ในเตาฮีดกับเชื่อในเตาฮีดนั้น ต่างกันหรือไม่
แน่นอนว่าต่างกัน
และการที่อยู่ในเตาฮีดนี้ นั่นหมายความว่า อะฮฺลุลบัยต์ (อ.) จะไม่มีชีริกใด ๆ แม้แต่เล็กน้อยหรือเศษเสี้ยว ซึ่งมีสำนวนกล่าวว่า ดั่งมดดำที่ซ่อนอยู่ในก้อนหินสีดำในคืนอันมืดมิด
ไม่มีถึงขนาดนี้

❗สำหรับมนุษย์ธรรมดาเราอาจจะคิดว่าเราศรัทธาในเตาฮีดแล้ว แต่หารู้ไม่ แท้จริงเรื่องเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นชีริกที่แปดเปื้อนหัวใจเราได้❗

เช่น เมื่อเราไปซื้อของแล้วเราต้องจดจำรายการ กระทั่งคิดว่าเราไม่อาจจำรายการเหล่านั้นได้ นั่นก็อาจนำไปสู่ความคิดว่า อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คงไม่ทำให้เราจำได้

❗การไม่มั่นใจในความจำของตนเองก็เป็นชีริกอย่างหนึ่ง❗

👉แน่นอนอะฮฺลุลบัยต์ (อ.) ปราศจากสิ่งนั้น เพราะท่านเหล่านั้นเข้าใจเตาฮีดของพระองค์อย่างสมบูรณ์
นี่คือสถานภาพของอะฮฺลุลบัยต์ (อ.) ที่เป็น مخلصین (มุคลิซีน) หรือสะอาดบริสุทธิ์โดยปราศจากชีริกใด ๆ
เพราะพวกท่านอยู่ในแนวทางหรือ أَمْرِ ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

👉อีกตัวอย่างหนึ่งที่กล่าวถึง أَمْرِ ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เช่น จากซูเราะฮฺยาซีน

‎إِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيْئًا أَنْ يَقُولَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ

เมื่อพระองค์ทรงประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด พระองค์จะทรงกล่าวว่า จงเป็น แล้วมันก็จะเป็นในบัดดล

นี่คืออำนาจของ أَمْرِ 🇮🇷
ซึ่งกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถกั้นได้
ดังเช่น ระหว่าง كُنْ (จงเป็น) กับ فَيَكُونُ (มันก็เป็น) ที่ปราศจากเวลามากั้น
การที่มีเวลากั้น จะต้องเป็นเรื่องของวัตถุเท่านั้น แต่กรณีนี้ กลับปราศจากซึ่งเวลากั้น أَمْرِ ของพระองค์จึงเป็น أَمْرِ แห่งมะละกูต

👉อีกกรณีหนึ่ง ในเรื่องราวของนบีสุไลมาน (อ.) ที่ได้ตรัสสั่งให้นำบัลลังก์ของท่านหญิงบิลกิสมา และมีผู้รู้ส่วนของคัมภีร์ (นามว่าอาศิฟ บิน บัรคียา/آصف بن برخيا)ได้เสนอจะยกมาให้ในเสี้ยวพริบตา กระทั่งเขาก็ได้นำบัลลังก์นั้นมาตามคำรับสั่งขงท่านนบี (อ.)
นั่นก็เพราะคนคนนั้นได้ทำด้วยอำนาจของ أَمْرِ ที่ปราศจากเวลาและสถานที่มากั้น

👉โองการต่อไป จากซูเราะฮฺ อัลอันบิยาอฺ โองการที่ 73

‎وَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا وَأَوْحَيْنَا إِلَيْهِمْ فِعْلَ الْخَيْرَاتِ

ถอดความได้ว่า และฉันจะทำให้พวกเขาเป็นอิมาม ภารกิจของพวกเขาคือ เขาจะฮิดายัตมวลมนุษยชาติ ด้วย… أَمْرِ ของเรา (بِأَمْرِ)
ดังนั้น أَمْرِ จึงอยู่ในมือของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก่อนจะส่งต่อมาสู่อะอฺลุลบัยต์ (อ.)

👉และโองการต่อไป จากซูเราะฮฺ อันนิสาอฺ โองการที่ 59

‎ أَطِيعُوا اللَّهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ

จงตออัตต่ออัลลอฮฺ จงตออัตต่อรอซูล และจงตออัตต่ออุลิลอัมริ

“อุลิลอัมริ” (أُولِي الْأَمْرِ) นั้นไม่ใช่ผู้ถือตำแหน่งผู้นำเท่านั้น แต่คือ ผู้ที่มี أَمْرِ จากพระองค์อยู่ในมือ และย่อมสามารถอธิบายเกี่ยวกับ เตาฮีด ของพระองค์ ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งถ้าไม่ใช่ผู้ที่มี أَمْرِ ของพระองค์แล้ว ย่อมไม่สามารถทำได้

🌕และนี่คือ “ผู้ที่ปักหลักที่อยู่อย่างสงบนิ่งในคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)”🌕

💙มีริวายัต กล่าวว่า มีคนหนึ่งไปหาท่านอิมามญะอฺฟัร อัศศอดิก (อ.) เพื่ออุทธรณ์เกี่ยวกับความยากจนของเขา
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “เจ้ารวยอยู่แล้ว”
เขาจึงตอบกลับมาว่า “ท่านหมายความอย่างไร ?”
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวตอบ “หากฉันจะให้เงินจำนวนหนึ่งแก่เจ้า เพื่อให้เจ้าออกจากการเป็นส่วนหนึ่งในวิลายัตแห่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เจ้าจะยอมหรือไม่”
เขาจึงตอบด้วยความมั่นใจว่า “ถึงท่านจะให้มากกว่านั้น ข้าก็ไม่ยอม”
ท่านอิมาม (อ.) จึงตอบเขาว่า “นี่แหละ ฉันจึงจะบอกว่า เจ้านั้นรวยที่สุด พระเจ้ามีวิลายัตแห่งอัลลออฺ (ซ.บ.) อยู่”💙

🌏“ใครหรือจะยอมทิ้งผู้นำแห่งฟากฟ้า แล้วกระทำตามคำสั่งของผู้นำบนดิน
เพราะผู้นำบนดินนั้นมิอาจเทียบเท่ากับผู้นำแห่งฟากฟ้าได้ แม้แต่เศษเสี้ยวหนึ่งก็ตาม..”🌏

📝สรุปบทเรียนโดย อับบาส บุญรังสี