บทเรียน ปุจฉาวิสัชนา คํ่าคืนที่ (18-3-2557)

899

บทเรียน ปุจฉาวิสัชนา คํ่าคืนที่ (18-3-2557)
♔ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ♔
ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี : คืนนี้เป็นคํ่าคืนที่ 3 ซึ่งเราจะยังอยู่ในเรื่องท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)อีกคืนหนึ่ง เชิญคำถามแรกครับ
ปุจฉา : ท่านหญิง (อ)ได้รับความรู้จากญิบรอเอลโดยตรง หรือจากท่านนบีเพียงผู้เดียวคะ?

วิสัชนา : อะฮ์ลุลบัยต์(อ)เป็นนูร และ รูห์เดียวกัน

ดังนั้น เมื่อความรู้ได้ถูกประทานลงมายังพวกเขา พวกเขาก็จะรับรู้พร้อมกันทั้งหมด แต่การแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับวาระ และความเหมาะสมของตำแหน่งในโลกนี้ของแต่ละท่าน

หลักฐาน โดย เชคJavad Savangvan

 

معاني الاخبار – (ج 75 / ص 1)
عن أبي ذر – رضي الله عنه – قال: سمعت رسول الله صلى الله عليه واله وهو يقول: خلقت أنا وعلي من نور واحد نسبح الله يمنة العرش قبل أن خلق آدم بألفي عام، فلما أن خلق الله آدم جعل ذلك النور في صلبه ولقد سكن الجنة ونحن في صلبه، ولقد هم بالخطيئة ونحن في صلبه، ولقد ركب النوح السفينة ونحن في صلبه، ولقد قذف بإبراهيم في النار ونحن في صلبه، فلم يزل ينقلنا الله عزوجل من أصلاب طاهرة إلى أرحام طاهرة حتى انتهى بنا إلى عبدالمطلب، فقسمنا بنصفين فجعلني في صلب عبدالله و جعل عليا في صلفب أبي طالب وجعل في النبوة والبركة، وجعل في علي الفصاحة والفروسية وشق لنا اسمين من أسمائه فذو العرش محمود وأنا محمد، والله الاعلى وهذا علي.

ท่านอบูซัร (ร.ฎ.)เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
خلقت أنا وعلي من نور واحد
ฉัน(นบี)กับอาลีถูกสร้างมาจาก นูรอันเดียวกัน
نسبح الله يمنة العرش قبل أن خلق آدم بألفي عام،
เราทำการสดุดีต่ออัลลอฮ์ ทางด้านขวาของอารัช ก่อนการสร้างนบีอาดีม สองพันปี
فلما أن خلق الله آدم جعل ذلك النور في صلبه ولقد سكن الجنة ونحن في صلبه،
แล้วต่อมา อัลลอฮ์ทรงสร้างนบีอาดัม จึงทรงใส่นูรนั้นไวที่กระดูกสันหลังของเขา และให้เขา(อาดัม)ได้พำนักในสวรรค์ และเราก็อยู่ที่กระดูกสันหลังของเขา
ولقد هم بالخطيئة ونحن في صلبه،
ตอนเขาถูกลวงให้ทำความผิดพลาด(ตัรกุลเอาลา) และเราก็อยู่ที่กระดูกสันหลังของเขา
ولقد ركب النوح السفينة ونحن في صلبه،
ตอนนบีนู๊ห์โดยสารบนเรือ และเราก็อยู่ที่กระดูกสันหลังของเขา
ولقد قذف بإبراهيم في النار ونحن في صلبه،
ตอนนบีอิบรอฮีมอยู่ในกองไฟ และเราก็อยู่ที่กระดูกสันหลังของเขา
فلم يزل ينقلنا الله عزوجل من أصلاب طاهرة إلى أرحام طاهرة
อัลลอฮ์ อัซซะวะญัลยังคงทำการย้ายเราจาก กระดูกสันหลังที่บริสุทธิ์ ไปสู่ครรภ์ที่บริสุทธิ์
حتى انتهى بنا إلى عبدالمطلب،
จนกระทั่งพวกเรามาสิ้นสุดที่ ท่านอับดุลมุตตอลิบ
فقسمنا بنصفين فجعلني في صلب عبدالله
แล้วจากนั้นพวกเราถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน พระองค์ทรงใส่ฉันไว้ในกระดูกสันหลังของอับดุลเลาะฮ์
و جعل عليا في صلب أبي طالب
และพระองค์ทรงใส่อาลีไว้ในกระดูกสันหลังของอบูตอลิบ
وجعل في النبوة والبركة،
ทรงมอบไว้ในตัวฉันด้วยตำแหน่งนุบูวะฮ์และบะรอกะฮ์
وجعل في علي الفصاحة والفروسية
ทรงมอบไว้ในตัวอาลี คือความฟะซอหะฮ์ และ ฟะรูซียะฮ์
وشق لنا اسمين من أسمائه فذو العرش محمود وأنا محمد
และทรงแบ่งเราออกเป็นสองชื่อซึ่งมาจากพระนามของพระองค์ ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งอารัช มะห์มูด และฉันคือ มุฮัมมัด
والله الاعلى وهذا علي
และอัลลอฮ์คือ อัลอะอ์ลา(ผู้สูงที่สุด) และชายคนนี้คือ อาลี

หนังสือ มะอานี อัลอัคบาร โดยเชคศอดูก เล่ม หนึ่ง ฮะดีษที่ 4

ปุจฉา : อยากทราบ คนที่ตบหน้าท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ) ชื่อว่าอะไรครับ?

วิสัชนา : กุนฟูซ ละอฺนะตุลลอฮ

หลักฐานประกอบโดย เชค Javad Savangvan

1920568_663468647022259_482526389_n-1

سليم بن قيس الهلالي
الصفحة 153 .
وقد كان قنفذ لعنه الله ضرب فاطمة عليها السلام بالسوط – حين حالت بينه وبين زوجها وأرسل إليه عمر: (إن حالت بينك وبينه فاطمة فاضربها) – فألجأها قنفذ لعنه الله إلى عضادة باب بيتها ودفعها فكسر ضلعها من جنبها (1) فألقت جنينا من بطنها. فلم تزل صاحبة فراش حتى ماتت صلى الله عليها من ذلك شهيدة.

ในหนังสืออะกีดะฮ์เล่มแรกๆของชีอะฮ์ ชื่อ
กิตาบ สุลัยม์ บิน ก็อยส์ อัลฮิลาลี มรณะ ฮ.ศ. 90 หน้าที่ 153 บันทึกว่า

ปรากฏว่า กุนฟุซ (ขออัลลอฮ์ละนัตมันด้วย)ได้ฟาด ทญ.ฟาติมะฮ์ด้วยแซ่ ขณะที่นางได้ขัดขวางระหว่างมันกับสามีนาง และอุมัรได้ส่งกุนฟุซเข้าไป (โดยสั่งว่า) หากนางฟาติมะฮ์ได้ขัดขวางระหว่างเจ้ากับเขา(อาลี) ก็จงตีนาง แล้วกุนฟุซจึงผลักดันนางไปติดขอบประตูบ้านนาง และมันได้ผลักนาง จนทำให้กระดูกซี่โครงด้านข้างของนางหัก แล้วทารกในครรถ์นางก็แท้งออกมา จากนั้นนางจึงนอนซมอยู่บนที่นอน จนนางเสียชีวิตชะฮีด เนื่องจากเหตุการณ์วันนั้น

///////////////
จากหลักฐานของหนังสือเล่มนี้ ทำให้ สัยยิดฟัฏลุลเลาะฮ์ไม่ยอมรับ และแถมพวกที่ตักลีดตามเขาก็ไม่ยอมรับ ความมัซลูมของท่านหญิงฟาติมะฮ์

นะอุซุบิลลาฮิ มินซาลิก

http://www.aqaed.org/shialib2/html/358/1.jpg

ปุจฉา : ในเหตุการณ์ที่ท่านหญิงโดนทำร้าย เหตุใดอีมาม อาลี (อ) จึงอดทน อดกลั้น เป็นอย่างมาก และนอกจากด้วยคำสั่งเสียที่ท่านศาสดาได้กำชับไว้แล้ว ยังมีนัยยะทางการเมือง อื่นอีกหรือไม่ ?
วิสัชนา : ศาสนานี้จะคงอยู่จนถึงวันสิ้นโลก ต้องรักษาด้วยหยดเลือดและหยาดน้ำตา

การรักษาด้วยบริบทของหยดเลือดและหยาดน้ำตา จึงต้องถูกแสดงออกมาเพื่อเป็นต้นแบบให้เห็นทุกยุคสมัย ด้วยเรื่องราว มัซลูมมียะห์ของอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น ที่จะรักษาศาสนานี้ได้จนถึงวันที่อิมามมะฮ์ดี(อ)ปรากฏ

ดังนั้น หยดเลือดและหยาดน้ำตา จึงมีพลังยิ่งใหญ่เป็นอย่างมากที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้ โดยเฉพาะหยาดน้ำตาที่ได้หลั่งให้กับอะฮ์ลุลบัยต์ มันจะทำให้มนุษยพร้อมที่จะพลีทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ชีวิต
ปุจฉา : เหตุใดชาวเมืองมะดีนะห์ ไม่ขานรับคำเชิญชวนของท่านหญิง(อ) ?
วิสัชนา : เพราะศรัทธาอ่อนแอและไม่มีพลังเพียงพอที่จะทำการพลี
ปุจฉา : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายหญิง(อ)สอนบทเรียนอะไร ? สำหรับผู้ที่อยากเป็นชีอะฮ์ที่แท้จริง

วิสัชนา : บทเรียนสำหรับผู้ที่อยากเป็นชีอะฮ์ที่แท้จริงมีดังนี้

1.มนุษยที่ประเสริฐสุด จะต้องพร้อมพลีเพื่อพระองค์
2.เมื่อศรัทธาอ่อนแอก็ไม่มีพลังเพียงพอที่จะออกมาปกป้องศาสนา หรือปกป้องบุคลากรที่ประเสริฐสุดในศาสนาแบบฉบับท่านหญิง(อ)
ปุจฉา : ทำไมท่านหญิงซัยหนับ(อ)ถึงถูกฝังที่ซีเรียคะ?

วิสัชนา : มี 2 รายงาน คือ ซีเรียกับอียิปต์
ปุจฉา : ท่านหญิงใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมาโดยตลอด แต่หลังจากเหตุการณ์ที่สะกีฟะห์ท่านหญิงต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมแก่สามี เพื่อเติมเต็มบทบาททางการเมืองของสตรีและเป็นแบบอย่างในการต่อสู้กับความอธรรมด้วยใช่หรือไม่ ?

วิสัชนา : ใช่ครับ และเพื่อส่งสาส์นให้กับมุสลิมทุกคนว่า การปกป้องศาสนาเป็นหน้าที่ของทุกคน และเมื่อถึงคราวจำเป็น ทุกบริบทของชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เคยออกจากบ้านก็ต้องออกมาเพื่ออิสลาม แม้จะถูกหมิ่นเกียรติ หรืออะไรก็ตามต้องรับได้ทั้งหมด ถ้าสิ่งเหล่านี้เพื่อปกป้องศาสนา
ปุจฉา : เพียงแค่เวลา 75 หรือ 95 วัน อะไรทำให้ประชาชนสมัยนั้นเป็นผู้ศรัทธาที่อ่อนแอได้?

วิสัชนา : มิใช่ 75 หรือ 95 วันครับ ความจริง คือ มัยยิตนบียังไม่ได้ฝังเลย พวกเขาก็เริ่มหันหลังให้กับคำสั่งเสียของศาสดาแล้ว
ปุจฉา : เพื่อให้เราได้ศึกษา นอกจาก ท่านหญิงซัยหนับ(อ)แล้ว มีท่านหญิงคนอื่นๆอีกหรือไม่ ที่เรียกได้ว่าเป็นฟาติมะห์แห่งยุคสมัยของตนเอง หรือที่ได้สำแดงวีรกรรมความเป็นฟาติมะห์ออกมา?

วิสัชนา : มีมากครับ มีทุกยุคสมัย ท่านหญิงมะอศูมมะห์แห่งเมืองกุม คือ หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดแจ้ง และในสมัยอิมามอาลี(อ) ก็มีสตรีจำนวนหนึ่งที่ลุกขึ้นต่อสู้กับมุอาวิยะห์ในเชิงการเมือง จนถูกมุอาวิยะห์ลอบสังหารก็มี

ในกัรบาลาอฺก็เช่นกัน มีชะฮีดจำนวนหนึ่งที่ออกมาช่วยอิมามฮูเซน(อ)เพราะได้แรงบันดาลใจจากมารดาหรือภรรยา

– ยังจำแม่เฒ่าที่ออกมาปกป้องมุสลิมบินอากีลได้ไหม? (นางให้น้ำและที่พัก)

รู้จักอุมมุลวาฮับไหม? นางคือ แม่เฒ่าที่โยนศรีษะลูกชายของตนเองกลับไปในสนามรบและกล่าวว่า…
 “สิ่งใดที่ฉันได้พลีเพื่ออัลลอฮ (ซบ.) ฉันไม่รับคืน”

ในอิหร่าน และเลบานอน มีฟาตีมะห์และซัยหนับหนับแห่งยุคสมัยเป็นจำนวนมาก อินชาอัลลอฮ หลังจากเรื่องราวของอะอ์ลุลบัยต์ได้เผยแพร่ให้ชาวโลก เราจะได้เห็นฟาตีมะห์และซัยหนับแห่งยุคสมัยไปทั่วทั้งโลก

Su Kai Na : (เพิ่มเติม) ท่านวาฮับ คือ หนึ่งในชูฮาดาแห่งกัรบาลาอฺ ท่านเคยเป็นคริสเตียนมาก่อนแล้วเข้ารับอิสลาม ท่านพึ่งแต่งงานได้เพียงหนึ่งวันเท่านั้น
ภรรยาได้พูดกับสามีของท่านว่า ฉันจะไม่ให้คุณออกไป ถ้าคุณไม่ตกลงกับฉันด้วยกับการที่ว่าในโลกหน้าให้เราได้เป็นสามีภรรยากัน

สามีกล่าวถามต่อ ถ้าหากฉันต้องตกนรกล่ะ?
ภรรยาตอบว่า หากการช่วยเหลือไปยังฮูเซน(อ)บุตรแห่งศาสนทูตของพระองค์แล้ว ลงนรกฉันก็จะลงไปกับเจ้าด้วย…….(จากหนังเรื่องมุคตอร )
ปุจฉา : ทำไมท่านหญิงซัยหนับ(อ)จึงถึงถูกฝังที่ซีเรียค่ะ?

วิสัชนา : ท่านหญิง(อ) เสียชีวิตในยุคบนีอุมัยยะห์เรืองอำนาจ จึงจำเป็นที่จะต้องปกปิดหลุมศพของท่าน เพราะสมัยนั้น บนีอุมัยยะห์ได้ขุดศพศอฮาบะห์ ที่อยู่ตรงกันข้ามกับพวกมันและทำการดูหมิ่น หลุมฝังศพของอิมามอาลี(อ)ก็เช่นกัน ต้องปกปิดถึง 70 ปี

ด้วยเหตุนี้จึงมี 2 รายงานเกี่ยวหลุมฝังศพของท่านหญิงไซหนับ(อ)

ปุจฉา : ทำไมถึงไม่ฝังที่มะดีนะห์ ?

วิสัชนา : ช่วงนั้น มะดีนะห์โดนบาลอ เกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก สามีจึงส่งท่านหญิง(อ)ไปอยู่เมืองอื่น จนไปเสียชีวิตในซีเรียหรืออียิปต์(ตามรีวายะฮ์)
ปุจฉา : มีฮาดิษกล่าวว่าความพึงพอใจอัลลอฮ(ซบ)ขึ้นอยู่กับพึงพอใจของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) ใครทำให้ท่านโกรธเท่ากับทำให้อัลลอฮ์(ซบ)โกรธ
คำถาม ความพึงพอใจที่สุดของท่านคือสิ่งใดและสิ่งที่ทำให้ท่านโกรธมากที่สุดคือเรื่องใดครับ
วิสัชนา : ไม่มีมากที่สุด
ทุกอย่างที่อัลลอฮ(ซบ.)พอพระทัย คือ สิ่งที่ท่านหญิง(อ)พอพระทัย และสิ่งใดที่อัลลอฮ(ซบ)ไม่พอพระทัย ท่านหญิง (อ)ก็ไม่พอพระทัย

ปุจฉา : บทบาททางการเมืองของท่านหญิง(อ)เรื่องใด ที่เราสามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

วิสัชนา : สตรี คือ พลังเบื้องหลังที่สำคัญที่สุด ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ)ได้เคยกล่าวไว้ว่า การปฏิวัติของเราได้ประสบความสำเร็จก็เพราะสตรีชาวอิหร่าน คือ ฟาตีมะห์และซัยหนับแห่งยุคสมัย

ปุจฉา : กาซ่าตอนนี้เปรียบเหมือนกัรบาลาอฺได้ไหมครับ ? แล้วเราสามารถช่วยได้อย่างไรครับ

วิสัชนา : ♔ كل يوم عاشورا كل ارض كربلا ♔

ปุจฉา : บทบาทมุสลิมะฮ์ ในยุคปัจจุบันต้องแกร่ง ทั้งภายนอกและภายใน จากแบบอย่างความอดทนของท่านหญิงซัยหนับ(อ)และนักต่อสู้เสียสละอย่างท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ) ฉะนั้นท่านผู้นำ ต้องการให้มุสลิมะฮ์ ขับเคลื่อน หรือ แสดงศักยภาพ ในรูปแบบใด ขอท่านแนะนำด้วยค่ะ

วิสัชนา : ขอให้ทบทวนการประชุมที่หาดปากเมง หรือทยอยเอามาลงในเฟสบุ๊ค ห้องมหา’ลัย คมความคิด ก็ดี

Wanyamilah : (เพิ่มเติม) ทบทวนการประชุมที่หาดปากเมง จังหวัดตรัง

บทเสวนาบทบาทของสตรี (สถานภาพสตรีในอิสลาม)

โดยฮุจญตุลอิสลามซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاء بَعْضٍ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ
وَيُقِيمُونَ الصَّلاَةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللّهَ وَرَسُولَهُ أُوْلَـئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللّهُ إِنَّ اللّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ

“บรรดาชายผู้ศรัทธา และบรรดาหญิงผู้ศรัทธา คือ ผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการชักชวนการทำความดี และห้ามปรามการทำความชั่ว และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และเชื่อฟัง (อิฏออัต) อัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ พระองค์อัลลอฮฺจะทรงเอ็นดูเมตตาแก่พวกเขาเหล่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง”
(ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 71)”

รากฐานทางความคิด

ปัญหาหนึ่งของสตรี ก็คือ สตรีไม่รู้จักสถานภาพและบทบาทของตัวเองในอิสลาม ทั้งๆ ที่ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้เรียกพวกเธอเหล่านั้นว่า “มุอฺมินะฮฺ”
“มุอฺมินะฮฺ” แปลว่า “ผู้ศรัทธาหญิง”
(สตรีมุสลิมทุกคนเป็นมุสลิมะฮฺ แต่สตรีมุสลิมทุกคนไม่ใช่มุมินะฮฺ ไม่ใช่ผู้ศรัทธาที่แท้จริง)
ในโองการข้างต้นพระองค์ทรงมีพระดำรัสว่า
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาชาย และบรรดาผู้ศรัทธาหญิงคือผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”

หมายความว่า แท้จริงแล้วผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงในทัศนะของพระผู้เป็นเจ้ามีความเท่าเทียมกัน ทั้งสองเป็นเอาลียาอฺซึ่งกันและกัน หรือเป็นผู้ชี้แนะ ผู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในบางครั้งหญิงผู้ศรัทธาจะเป็นผู้ปกป้องและผู้ช่วยเหลือชายผู้ศรัทธา

ในโองการข้างต้น อิสลามได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้ศรัทธาหญิงและชายผู้ศรัทธาว่ามีความเท่าเทียมกัน ในบางสถานการณ์ชายผู้ศรัทธาจะได้รับการสนับสนุนจากหญิงผู้ศรัทธาและลูกๆ ผู้ศรัทธาในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ และภารกิจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ที่ทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธา คือ เอาลิยาอฺซึ่งกันและกัน

ในโองการข้างต้น “การส่งเสริมการทำความดีและการยังยั้งความชั่ว เป็นหน้าที่ของทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธา ที่จะต้องปกป้องและขจัดวัฒนธรรมที่แปลกปลอมที่เข้ามาในสังคมชีอะฮฺให้หมดไป ทั้งสองมีหน้าที่ในส่วนนี้เหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างแต่อย่างใด

จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามพระบัญชาของพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ) สำหรับหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธาเท่าเทียมกันทุกประการ ต่อมาการปฏิบัตินมาซ ทั้งชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาก็มีภารกิจที่เท่าเทียมกัน ภรรยาต้องเป็นผู้ที่กิยามในนมาซ ต้องประสพความสำเร็จในการปฏิบัตินมาซ ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาจะต้องเป็นผู้ที่ยืนหยัดในนมาซ เพราะนมาซจะยับยั้งพวกเขาจากความไม่ดีงามทั้งหลาย ยับยั้งเขาจากการนินทา การให้ร้าย การกระทำในสิ่งที่ไร้สาระทั้งปวงได้

คนที่ทำให้นมาซสำเร็จ คือ คนที่ขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำให้นมาซสำเร็จ เช่น การติดยึดอยู่กับการแต่งตัวสวยๆ งามๆ เพราะเป็นค่านิยมของคนนอก และอื่นๆ ทั้งหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธา หากเขาเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง นมาซของเขาต้องไปถึงยังสวรรค์ด้วยกันทั้งสอง ไม่ใช่เฉพาะผู้ชาย หรือเฉพาะผู้หญิง แต่ทั้งสองคนสามีภรรยาจะต้องไปด้วยกัน
ดังนั้น “การพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงส่ง” สำหรับหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธาจึงมีความเท่าเทียมกันทุกประการ
การจ่ายซากาต บางครั้งเป็นวายิบ บางครั้งเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ การขัดเกลาจิตวิญญาณด้านการให้ การใช้ทรัพย์สินในหนทางของพระผู้เป็นเจ้านั้น ทั้งหญิงผู้ศรัทธาและชายผู้ศรัทธาจะมีความเท่าเทียมกัน ถ้าหากสามีเชิญชวนให้ภรรยาบริจาค เขาคือ เอาลิยาอ์ของภรรยา

ในเรื่องการบริจาค ถ้าภรรยาเชิญชวนสามีให้บริจาค เขาคือ เอาลิยาอฺของสามีในเรื่องการบริจาค

สรุปคือ “บทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิม” สำหรับชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ
การอิฏออัต (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอ(ซบ)และรอซูลของพระองค์ ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธาจะมีการอิฏออัตอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสตรีส่วนมากไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แต่พวกเขาจะต้องพัฒนาตัวเอง ต้องเรียนรู้ สตรีจะต้องเรียนรู้ให้มากเท่ากับผู้ชาย และจะต้องรู้จักสถานภาพและบทบาทของตัวเองในด้านต่างๆ

สตรีต้องรู้ว่าเขามีความเท่าเทียมกับผู้ชายในความเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง แต่ปัญหาในปัจจุบัน คือ ผู้หญิงไม่ค่อยพัฒนาองค์ความรู้ตัวเองในเรื่องศาสนา การพัฒนาองค์ความรู้ของผู้หญิง สตรีจะต้องติดตามข่าวสารสถานการณ์โลก เพื่อเขาจะมีความรู้ก่อนที่จะทำงาน จะสามารถนำสิ่งที่ได้รู้นั้นไปนำเสนอต่อผู้อื่นได้

จะเห็นได้ว่า “การอิฎออัต (เชื่อฟัง) ต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์” สำหรับชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ

บทสรุป อิสลามถือว่า ชายผู้ศรัทธาและหญิงผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันทุกประการ ไม่มีความแตกต่างกันแม้สักนิดเดียว ทว่าในเรื่องใดบ้าง?

คำตอบคือ
1- การส่งเสริมการทำความดี และ การยับยั้งการทำความชั่ว

2- การพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงส่ง (การดำรงไว้ซึ่งการนมาซ)

3- บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมมุสลิม (การจ่ายซากาต)

4-การเชื่อฟังต่อพระบัญชาของพระองค์อัลลอ(ซบ)และรอซูลของพระองค์
(การอิฎออัตต่ออัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์)
สตรีทุกคนจะต้องหลุดพ้นจาก “รากฐานความคิดที่ผิดพลาด” ที่ว่าสตรีไม่ได้มีความสำคัญเท่าเทียมกับบุรุษ เนื่องจากในโองการข้างต้น อิสลามถือว่า สตรีผู้ศรัทธาและบุรุษผู้ศรัทธามีความเท่าเทียมกันในเรื่องราวของศาสนา
ดังนั้ร สตรีก็ต้องทำความดี พัฒนาจิตวิญญาณ รับผิดชอบสังคม และเชื่อฟังพระองค์และรอซูลของพระองค์เท่าเทียมกับผู้ชาย

CR…อะฮ์ลุลบัยต์ อะคาเดมี ประเทศไทย

♔ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ♔
ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี : คำถามต่อไปครับ

ปุจฉา : ทำไมบนีฮาชิม และอันศอร ถึงไม่ช่วยเหลือท่านหญิง?

วิสัชนา : บนีฮาชิมถูกห้ามโดยนบีมูฮัมหมัด(ศ็อล)และอิมามอาลี(อ) และวันนั้นหาก บนีฮาชิมออกมา วันนี้จะไม่เหลือบนีฮาชิมแม้สักคนเดียว เพราะในวันนั้นบนีฮาชิมมีจำนวนเหลือน้อยมาก เมื่อเทียบกับฝ่ายตรงข้ามที่รอแก้แค้นรอปิดบัญชีกับนบี(ศ็อล)และอิมามอาลี(อ)

อีกเหตุผลหนึ่ง ก็เพื่อต้องการทดสอบอีหม่านพวกที่เหลือไม่ว่ามุฮาญีรีนหรืออันศอร

วันนี้พอแค่นี้ ศอลาวาต
♔ اللهم صل علی فاطمة وابيها وبعلها وبنيها بعددمااحاط به علمك ♔

♔ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ♔