ถอดเนื้อหาการบรรยาย มัจลิสปรมัตถ์แห่งการพลี สดุดีอาชูรอ ค่ำคืนที่ 10 มูฮัรรอม 1444 บรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลีมีน ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ณ มัสยิดรูฮุลลอฮ์ จ. นครศรีธรรมราช
__________
بسم الله الرحمن الرحيم
اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم
••• อัลฮัมดุลิลละฮ์ สุดท้ายชีวิตของพวกเราก็ยืนยาว จนมาถึงค่ำคืนแห่งอาชูรอ ค่ำคืนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้ องสรุปให้ได้ สำหรับทุกคนที่ติ ดตามกองคาราวานแห่งกัรบาลาอฺ เพื่อที่จะเอาบทสรุปอันนั้น มาเป็นแบบอย่าง และแบบฉบับของการดำเนินชีวิ ตของเรา เพราะแบบฉบับ แบบอย่างที่กัรบาลาอฺในวันอาชู รอนั้น เป็นแบบฉบับสุดท้าย ที่สมบูรณ์ ที่ประเสริฐสุด ที่เอกองค์อัลลอฮ(ซ.บ.) ได้เลือกให้กับมวลมนุษยชาติ
เหตุผลที่เราต้องฟังมัจญลิชมานั บเป็นเวลาหลายๆ ปี ถ้าย้อนหลังไปยังบรรพชนยุคก่ อนหน้าเรา ก็หลายร้อยปี นับเป็นพันปีนั้น จุดประสงค์อันหนึ่งนั้น เอกองค์อัลลอฮ(ซ.บ) ต้องการให้ทุกคนถอดแบบ ถอดพิมพ์เขียวของการปฏิวัตินี้ และเมื่อเข้าใจแล้ว ก็ตอบรับเสียงเรียกร้องและเชิ ญชวน กล่าวคือ เสียงที่เราตะโกนร้องอยู่ตลอดทั้ งเดือนมุฮัรรอม คือ “ลับบัยกะยะฮูเซน” — เข้าใจแล้ว ทำได้แล้ว พร้อมที่จะปฏิบัติแล้ว ที่นี่คือเป้าหมายสูงสุ ดของการปฏิวัติในครั้งนี้
เพราะหลังจากที่แบบฉบับได้ถู กแสดง หรือถูกสำแดงอย่างสมบูรณ์ ที่แผ่นดินกัรบาลาอฺในวันอาชูรอ เสียงเรียกร้องสุดท้ายอย่างเป็ นทางการของท่านอิมามฮูเซน(อฺ) คือ ‘ฮัลมินนาซิรินยันซุรนี’ هَلْ مِنْ ناصِرٍ یَنْصُرُنی
“มีผู้ช่วยเหลืออีกไหม ที่จะช่วยฉัน?”
“มีผู้ใดที่จะที่ตอบรับ เสียงเรียกร้องอันนี้?”
การเชิญชวนมนุษยชาติมาสู่ เอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ)
وَأَذِّن فِي النَّاسِ — อัลลอฮ(ซ.บ) ได้สั่งให้นบีอิบรอฮิม (อฺ) หลังจากที่สร้างกะบะฮเสร็จแล้ว มีคำบัญชาว่า..จงขึ้นไปยื นบนโขดหิน แล้วร้องตะโกนให้กับมวลมนุ ษยชาติมารวมตัวกัน ณ บ้านหลังนี้ ตรงนี้เรากำลังพูดถึงฮัจญ์ของท่ านนบีอิบรอฮิม(อ)ในริวายัตได้ กล่าวว่า ท่านนบี(อ) ได้ถามอัลลอฮ(ซ.บ) ว่า
‘ยาอัลลอฮ จะให้ฉันเชิญชวนมนุษชาติได้อย่ างไร? เสียงของฉันจะไปถึงไหน? อาจจะไปได้แค่ครึ่งกิโลฯ หรือหนึ่งกิโลฯ’ — ในริวายัตบอกว่า [พระองค์ตรัส] ‘เจ้ามีหน้าที่เชิญชวน’ أَذِّن ร้องตะโกนออกไปเชิญชวนคนมาทำฮั จญ์ ส่วนใครจะได้ยิน หรือไม่ได้ยินเป็นเรื่องของฉัน’ — หากจะกล่าวอย่างง่าย นบีอิบรอฮิม(อ) ก็ไม่รู้ว่า เสียงของท่านนั้นได้ก้องดังไปทั่ วทั้งโลก
เสียงเชิญชวนมาทำฮัจญ์ เป็นเสียงตะโกนของท่านนบีอิ บรอฮิม(อ) และอัลลอฮ (ซ.บ) ก็จะทำให้เสียงนี้นั้น ก้องไปทั้งโลกและตลอดไป ไม่ใช่เพียงแต่ในวันของท่านนบี อิบรอฮฺม (อ) เพียงเท่านั้น หน้าที่ของอัลลอฮ(ซ.บ) คือ นำเสียงเชิญชวนของท่านนบีอิ บรอฮิม(อ) ไปทั่วทั้งโลก
ที่กัรบาลาอฮก็เช่นเดียวกัน วันนั้น ในมุมมืดอันหนึ่ง คน 72 คน กำลังถูกรุมฆาตกรรม ถูกปิดล้อม ไม่มีใครคิด ไม่มีใครเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้ นในวันนั้นจะเป็น “อมตะ”จะถูกรำลึกนับพันๆปี วันเวลายิ่งผ่านไป ความเร่าร้อน ก็ยิ่งทวีเพิ่มขึ้น วันนี้มนุษย์ทั่วทั้งโลก ตอบรับคำเรียกร้องของท่านอิ มามฮูเซน(อ.) เพราะเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ( ซ.บ)
ดั่งที่อัลลอฮ(ซ.บ) ได้ตรัสกับท่านนบีอิบรอฮิมว่า ‘เจ้ามีหน้าที่ประกาศ’ (أَذِّن ) ‘ถึงหรือไม่ถึง ได้ยิน หรือไม่ได้ยิน ไปทั่วทั้งโลก เป็นเรื่องของฉัน’ — กัรบาลาอฺก็เช่นกัน เจ้ามีหน้าที่แสดงแบบ ตามที่ฉันกำกับ ส่วน [การสำแดงนั้น] จะไปก้องโลก จะเร่าร้อน จะมีคนตอบรับ 72 คนในวันนั้น และกลายเป็น 20 ล้าน 25 ล้าน 30 ล้านคน ในทุกปี [ของทุกวันนี้] ที่ได้ตอบรับคำเรียกร้อง ‘ฮันมินนาซิรินยันซุรนี’ هَلْ مِنْ ناصِرٍ یَنْصُرُنی ของท่านอิมามฮูเซน(อฺ) ว่า ‘ลับบัยกะยะฮูเซน’
(لبیك یا حسین) — ซึ่งเราก็ได้ยินกันทุกๆคืน ที่เราตะโกน “ลับบัยกะยะฮูเซน”
4 บทเรียนจากกัรบาลา
ค่ำคืนนี้ ถือว่าเป็นค่ำคืนสุดท้ายในห้ องเรียนอย่างเป็นทางการ ก็อยากจะทำความเข้าใจเล็กน้อยว่ า เมื่อเรากล่าวว่า “ลับบัยกะยะฮูเซน” เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่ องใดบ้าง? สิ่งใดบ้าง? เราจึงจะกลายเป็นผู้ที่กล่ าวตอบรับคำเรียกร้องของท่านอิ มามฮูเซน(อฺ) อย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปลายลิ้น และในค่ำคืนนี้อยากจะสรุปสาส์ นแห่งกัรบาลาอฺ ก็คิดว่าน่าจะได้ไม่มากนัก อาจจะได้ 4-5 สาส์น ที่ซึ่งจะถูกนำมาสรุปให้เป็ นบทเรียน เพื่อเราจะได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ และนำไปปฏิบัติให้ได้อย่างสมบู รณ์ ซึ่งจะได้ประโยชน์อย่างมากมาย มหาศาล
สิ่งสำคัญที่สุดของขบวนการปฏิวั ติในครั้งนี้ คือ การทำความเข้าใจ เนื้อหาของการปฏิวัติ และนำความเข้าใจนั้นใส่ไปในจิ ตวิญญาณของเรา ถ้าทำเช่นนี้ได้ เราคือผู้ที่ตอบรับคำเรียกร้ องของท่านอิมามฮูเซน(อ) อย่างแท้จริง แต่ถ้าทำไม่ได้ การรำลึกของเราก็ไม่ได้ต่ างจากการพ่นลมปากออกมา แต่จิตวิญญาณของเราไม่ได้คล้ อยตามเสียงปฏิวัติของขบวนการแห่ งการปฏิวัติของท่านอิมามฮูเซน( อ)
บทเรียนที่ 1
บทเรียนแรกที่อยากนำเสนอให้กั บพี่น้องในค่ำคืนนี้ สั้นๆ ง่ายๆ แต่มีเงื่อนไขสำคัญอยู่ 2-3 เงื่อนไข หากเรามี เราก็จะผ่านบทเรียนอันนี้ได้
บทเรียนแห่งอาชูรอ บทเรียนแห่งกัรบาลาอฺอันหนึ่งที่ ได้สอนให้กับมนุษยชาติทุกๆคน สำหรับคนที่รักในอิสลาม สำหรับคนที่พร้อมที่จะพลีให้กั บอิสลาม บทเรียนอันแรก — ซึ่งใครจะนำเอาบทเรียนใด เรียงลำดับมาก่อนก็ได้ แต่ผมจะนำเสนอบทเรียนนี้ก่อนเป็ นอันดับแรก — เป็นการสรุปบทเรียนแห่งกั รบาลาอฺ ซึ่งเราจะต้องนำมาใช้เป็นบทเรี ยนของเราให้ได้ — [บทเรียนแรก] ก็คือ การรู้จักเวลาของการเคลื่อนไหว
คำอธิบาย:
การเป็นผู้ศรัทธา การเป็นนักปฏิวัติ จะต้องรู้เวลา และท่วงทำนองของการเคลื่อนไหว
หลายเรื่อง หลายโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอิ สลามมาจากผู้ศรัทธา มาจากนักปฏิวัติ ที่ไม่รู้จักเวลาว่า เมื่อไหร่เราถึงจะเคลื่อน เมื่อไหร่เราถึงจะสู้ — อธิบายไปข้างหน้าก่อน เพื่อที่จะอธิบายคำๆนี้ — หลังจากเหตุการณ์กัรบาลาอฺ 1 ปี ผ่านไป 2 ปี ผ่านไป มีการลุกฮือของอุมมัติอิสลามเกิ ดขึ้นตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งในมะดีนะฮ และในกูฟะฮ และอีกหลายหัวเมือง เพื่อต่อต้านการปกครองของบนีอุ มมัยยะฮฺ
นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่ า จำนวนผู้ที่ลุกฮือ จากต่างกรรมต่างวาระ ต่างสถานที่ ต่างเวลา หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมแห่งกั รบาลาอฺนั้น ส่งผลทำให้มีคนตายไปกว่า 50,000 คน ในมะดีนะฮ์ก็เปนหมื่นคน ในกูฟะฮ์ก็เป็นหมื่นคน แต่กลับเป็น 50,000 คน ที่แทบจะเรียกได้ว่า ไม่ได้สร้างประโยชน์ใดๆ เพราะเป็นการลุกขึ้นสู้ ที่ผิดเงื่อนไขของเวลา
ผิดเงื่อนไขของเวลาในที่นี่ [หมายถึง] ไม่ได้ลุกสู้ในตอนที่อิมามฮู เซน(อ) สู้ … อิมามฮูเซน(อ)ไม่ได้ลุกขึ้นมาสู้ แบบเงียบ ๆ ตั้งกลุ่มเงียบ ๆ ค่อย ๆ ขับเคลื่อนขบวนไปยังมักกะฮ์ และจากมักกะฮ์มุ่งสู่กัรบาลา ไม่ใช่เช่นนั้น ทว่า อิมามฮูเซน(อ)นั้น ได้ประกาศอย่างชัดแจ้ง อิมามฮูเซน(อ) มีคุตบะห์ต่าง ๆ อย่างมากมาย อิมามฮูเซน(อ) เรียกได้ว่า แวะเกือบทุกหมู่บ้าน ที่สามารถแวะได้ ตลอดเส้นทางจากมะดีนะฮ์สู่มั กกะฮ์ จากมักกะฮ์สู่กัรบาลา
แต่ในวันนั้น อุมมัตของท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็ อลฯ) ไม่ได้ลุกขึ้นสู้ตามคำเรียกร้ องของท่านอิมามฮูเซน(อ) เพราะคิดเอาเอง ‘เอาล่ะ อาจจะยังไม่มีความจำเป็น ไม่น่ารีบร้อน รอให้ยาซีดแบบนี้ก่อน รอให้ยาซีดแบบนู้นก่อน รอให้ยาซีดแบบนั้นก่อน’
ดังนั้น เมื่อจะถึงตอนที่จะลุกสู้ ก็สายไปเสียแล้ว และโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าก็ เกิดขึ้น เมื่อชาวมาดีนะฮ์ลุกขึ้นสู้ในวั นที่อิมามฮูเซน(อ) ไม่อยู่แล้ว มะดีนะฮ์ก็ถูกถล่ม ชาวเมืองมาดีนะฮ์ตายเป็นหมื่น ๆ คน ผู้หญิงมะดีนะฮ์ถูกข่มขืนเป็ นจำนวนมาก จนกระทั่งนักประวัติศาสตร์ จนถึงอูลามายุคนี้ได้กล่าวว่า หนึ่งใน[ต้นตอ]ก่อกำเนิดวะฮาบี ย์ ก็คือบรรดาลูกซีนาที่ถูกข่มขื นในวันนั้นแหละ หนึ่งในบรรพบุรุษของเหล่าวะฮาบี ย์ทั้งหมด ที่อยู่ในแผ่นดินฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เพราะไม่ได้ลุกขึ้นสู้ในเวลาเดี ยวกับที่ผู้นำลุกขึ้นสู้
เช่นเดียวกัน ในยุคนี้ก็เหมือนกัน ยุคนี้เกิดเหตุการณ์มากมายที่มุ สลิมจะต้องลุกขึ้นสู้ ลุกขึ้นปราบ ลุกขึ้นทำอะไรก็ตามแต่ ก่อนที่มันจะสายเกินแก้ ดังนั้น สิ่งหนึ่ง ที่กัรบาลาให้บทเรียนที่ยิ่ งใหญ่เลย คือ เงื่อนไขของเวลา นักสู้จะต้องไม่เลือกเวลาเอง แต่จะต้องรู้ว่า เมื่อไรถึงเวลาที่เราจะต้องสู้
ถ้าเราไม่รู้ แน่นอน แผ่นดินนี้ไม่เคยว่างเว้นจากฮุ จญัตของอัลลอฮฺ (ซ.บ) ไม่ว่าฮุจญัตของอัลลอฮฺ(ซ.บ) จะเป็นอิมามมะศูม(อ) โดยตรงจากบรรดาอิมาม 12 ท่าน หรือจะเป็นฮุจญัตของอัลลอฮฺ(ซ. บ) ที่เป็นตัวแทนของบรรดามะศูม(อ)
ดังนั้น การรู้เงื่อนไขของการต่อสู้ เรื่องของเวลา บางครั้งไม่ใช่เรื่องลำบากสำหรั บเรา เพียงแต่เราสามารถขับกล่อมจิตวิ ญญาณของเราอยู่เสมอว่า เราพร้อมที่จะลุกขึ้นสู้ทันที ที่ผู้นำแห่งอัลลอฮฺ ประกาศวันเวลาของการต่อสู้ ประกาศวันเวลาของภารกิจอันนั้น
ในวันนั้น ชาวกูฟะฮ์ อาจจะไม่ต้องใช้เป็นหมื่นคน ทว่า ชาวกูฟะฮ์ เพียงแค่สองสามพันคนก็สามารถสั งหารอิบนีซียาด(ล.น) ได้ แต่ในเมื่อพวกเขาไม่สู้ในวันนั้ น พวกเขารั้งรอเวลา จนยาซีด(ล.น) ส่งกองทัพเข้ามาเสริมเรื่อย ๆ กระทั่ง สุดท้าย บุคคลเหล่านั้นก็ไม่กล้าสู้
ดังนั้น เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องทำทุกอย่างให้ตรงกับเงื่ อนไขของเวลา ในทุกเรื่องของชีวิตที่เกี่ยวกั บภารกิจ เรื่องแรก คือภารกิจที่เกี่ยวข้องกับศาสนา นี่คือบทเรียนแรก ๆ เลยที่กัรบาลามอบให้กับมนุ ษยชาติ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ ซึ่งจริง ๆ แล้วบทเรียนนี้ มันมีมาตลอด
[ย้อนกลับไปในยุคของท่านอิ มามอะลี อ.] วันนั้น คนไม่กี่คนไปที่ซากีฟะฮ์ เต็มที่คือ 20-30 คน ถ้าชาวมาดีนะฮ์ลุกขึ้นต่อต้าน การเลือกตั้งที่ซะกีฟะฮ์ในวันนั้ น เรื่องราวของโลกอิสลามในวันนี้ ก็จะไม่เป็นแบบนี้
ในวันที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิ มะฮ์ (อ) ถูกเผาก็เช่นกัน วันนั้น ถ้าอุมมัตอิสลามรู้ถึงหน้าที่ว่ า ‘วันนั้น ไม่ใช่แล้ว วันนั้น เราจะต้องลุกขึ้นต่อต้ านความอธรรมที่ทำกับบ้านของท่ านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ)’ — เรื่องราวก็จะไม่ลากไปจนถึ งโศกนาฏกรรมแห่งกัรบาลา
ดังนั้น เมื่อผู้ศรัทธาไม่รู้เวลา และหน้าที่ของตั วเองโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่อันนี้ จึงเกิดขึ้น นี่คือบทเรียนอันที่หนึ่ง ที่เราจะต้องอยู่แบบเตือนตัวเอง ทำตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ สำหรับศาสนานี้ เดี๋ยววันเวลามาถึงเมื่อไร เขาจะบอกเราเอง คนที่รู้ คนที่บอกได้ คนที่มีสิทธิบอก พร้อมที่จะบอกเราเอง ส่วนตัวของเรานั้นต้องเตรียมตั วให้พร้อมอยู่เสมอ ทุกเวลา นี่คือบทเรียนที่หนึ่ง ที่ได้รับมาจากบทเรียนแห่งกั รบาลา
ในสมัยนบี (ศ็อลฯ) ก็เป็นเช่นนี้ จะยกตัวอย่างเรื่องนี้ให้ไปตั้ งข้อสังเกตดู ในสมัยนบี (ศ็อลฯ) มีอยู่สมัยหนึ่ง ที่ท่านนบี(ศ็อลฯ) ประกาศสงคราม พรุ่งนี้ทุกคนต้ องออกไปทำสงครามอย่างเร่งด่วน ให้รวมพลกันให้เร็วที่สุด มีศอฮาบะฮ์คนหนึ่งชื่อว่า ‘ฮัลซาละ’ – เป็นบุตรของใคร นามสกุลอะไรไม่รับรู้ แต่ท่านมีฉายานามที่พิเศษเป็ นอย่างมาก จนถึงทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์เขียนชื่อว่า ฮัลซาละฮ์ ฆอซีลุลมะลาอิกะฮ์ (حَنْظَلَة غَسیلُ الْمَلائکه) หมายถึง ฮัลซาละฮ์ บุคคลที่มะลาอีกะฮ์อาบน้ำฆุซุ ลให้
เนื่องจาก คืนที่ท่านนบี(ศ็อลฯ) ประกาศสงครามนั้น ฮัลซาละฮ์พึ่งจะแต่งงาน และเป็นคืนเข้าหอ ฮันซาละฮ์ขอจากท่านนบี(ศ็อลฯ)ว่ า ‘ยารอซูลุลลอฮฺ ขอเข้าหอสักคืนก่อน แล้วพรุ่งนี้จะไปร่วมรบกับท่าน’ — และฮัลซาละฮ์ก็เขาหอ เมื่อตื่นมาในวันรุ่งขึ้น เขาอาบน้ำไม่ทัน ด้วยความรีบเข้าไปร่วมรบกับท่ านนบี(ศ็อลฯ) กล่าวคือ แต่งงานแค่คืนเดียว แล้วก็ออกไปรบเลย ได้ร่วมหลับนอนกับภรรยาแค่คื นเดียว และเป็นนักรบ เป็นชะฮีดที่ยังไม่ได้อาบน้ำฆุ ซุล หมายถึง ฆุซุลญานาบะฮ์นี่แหละ แล้วเป็นชะฮีด — นบี(ศ็อลฯ) บอกว่า ‘ตอนนี้ฉันเห็นมลาอิกัตกำลั งอาบน้ำฆุซุลให้กับฮัลซาละฮ์ เพื่อจะส่งตัวเขาเข้าสู่ สรวงสววรค์’
เรื่องฮัลซาละฮ์บ่งบอกถึงอะไร? — [บ่งบอกว่า] บางครั้ง บางกรณี ถ้าอยากจะเป็นชะฮีด ไม่มีการขอเวลา แม้แต่ขอไปอาบน้ำฆุซุล… ฆุซุลวาญิบด้วย ถ้าเข้าใจเรื่องฮัลซาละฮ์ก็ จะเข้าใจว่า… ‘อ่อ ฮัลซาละฮ์จึงได้เป็นชะฮีด เพราะฮัลซาละฮ์คิดว่าการเข้าร่ วมในกองทัพสำคัญกว่าการอาบน้ำฆุ ซุลญานาบะฮ์’ ฮัลซาละฮ์จึงได้เป็นชะฮีด และเป็นชะฮีดที่ حَنْظَلَة غَسیلُ الْمَلائکه ชะฮีดที่มลาอิกัตอาบน้ำฆุซุลให้ กล่าวคือ เมื่ออิสลามเรียกเวลาไหน เวลานั้น [เขาก็ตอบรับ] จึงได้เป็นชะฮีด ไม่ใช่ทุกคนที่ไปร่วมรบกับท่ านนบี(ศ็อลฯ) แล้วได้เป็นชะฮีด แต่ฮัลซาละได้เป็นชะฮีด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาบน้ำฆุซุ ลญานาบะฮ์
กัรบาลาก็เช่นกัน วันนั้นมีคนจำนวนมากในขณะที่ฮุ จญตุลลอฮ์ บอกว่า ‘ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องลุกขึ้นสู้’ – รายละเอียดจะมาในบทเรียนที่ 2 ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่สำคัญอี กอันหนึ่ง – ส่วนอันนี้ยังเป็นแค่บทเรียนพื้ นฐาน ดังนั้น ถ้าสรุปสั้นๆ สำหรับบทเรียนอันที่หนึ่ง ก็คือ จะต้องเตรียมเวลาชีวิตให้พร้ อมเสมอ ที่จะรับใช้อิสลาม พร้อมเสมอ พร้อมทุกเวลา ไม่มีข้ออ้างใด ๆ
บทเรียนที่ 2
บทเรียนที่ 2 ที่การปฏิวัติของท่านอิมามฮู เซน(อ.) มอบให้กับเราคือ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเข้าใจ เราต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ ในอิสลามนั้น มีเรื่องอะไรสำคัญ และมีเรื่องอะไรที่สำคัญกว่า ซึ่งในภาษาอาหรับเรียกว่า “เรื่องอาฮัมกับมูฮิม” (اهم و مهم)
“มูฮิม” (مهم) คือเรื่องสำคัญ — “อาฮัม” (اهم) คือเรื่องที่สำคัญกว่า ที่จะต้องทำ
ส่วนมากของมวลมุสลิมทุกวันนี้ ที่เราเป็นแบบนี้ เพราะเราไม่ได้ทำเรื่องที่สำคั ญกว่า ยกตัวอย่างนอกเรื่องสักเล็กน้ อยก่อน สมมติ ถามว่า “เอกภาพของมวลมุสลิมสำคัญกว่า หรือมัสฮับของมุสลิมสำคัญกว่า?”
[ตอบ] เอกภาพของมุสลิมสำคัญกว่า ถ้าเอกภาพของมุสลิมสำคัญกว่า เป็นอาฮัมกว่า เราจะต้องไม่เสียเวลาไปกับเรื่ องของมัสฮับ เรื่องมัสฮับเป็นเรื่องปลีกย่อย ค่อยว่ากัน ถ้าใครอยากจะคุย อยากจะทำความเข้าใจ แต่เอกภาพของมุสลิมนั้นสำคัญกว่ า
แต่คนจำนวนเกือบจะทั้งหมด ใช้เวลากับเรื่องที่มีความสำคั ญน้อยกว่า ผมไม่ได้บอกว่าเรื่องมัสฮับไม่ สำคัญนะ แต่มีความสำคัญน้อยกว่า เพราะเราไม่รู้ถึงภารกิจอันนั้น
ในวันที่ท่านอิมามฮูเซน(อ.) ลุกขึ้นสู้ รู้ไหมว่าเรื่องสำคัญ หรือปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปั ญหาอะไร? … [ตอบ] คือ ปัญหาการขึ้นมาปกครองของยะซีด( ล.น) เรื่องนี้สำคัญถึงขนาดไหน?… [ตอบ] สำคัญ ถึงขนาดที่จะต้อง “หยุด” เรื่องนี้ให้ได้)
ทำไมการขึ้นมาปกครองของยะซีด(ล. น) จึงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญถึ งขนาดนั้น จนถึงขั้นเป็นเหตุให้อิมามฮู เซน(อ) ต้องลุกขึ้นสู้? … [ตอบ] เพราะการขึ้นมาปกครองของยะซีด( ล.น) คือการสิ้นสุดของอิสลามอย่ างสมบูรณ์ “วัสลาม” ซึ่งอิมามฮูเซน (อ) เป็นผู้บอกเอง…
قالَ الْحُسَيْنُ عليه السلام: اِنّا لِلّهِ وَاِنّا اِلَيْهِ راجِعُونَ وَعَلَى الاِْسْلامِ الْسَّلامُ اِذ قَدْ بُلِيَتِ الاُْمَّةُ بِراعٍ مِثْلَ يَزيدَ، وَلَقَدْ سَمِعْتُ رَسُولَ اللّه ِ صلي الله عليه و آلهيَقُولُ: اَلْخِلافَةُ مُحَرَّمَةٌ عَلى آلِ اَبى سُفيانَ
‘ถ้าพวกเจ้าปล่อยให้ผู้ นำแบบยะซีดขึ้นมาแล้ว จงกล่าว “คุดาฮาฟิส” กับอิสลาม เตรียมตัว Say goodbye (กล่าวคำอำลา) กับอิสลามได้เลย’
การขึ้นมาของยะซีด(ล.น) เท่ากับการจบสิ้นของอิสลาม — สมมติ อาจจะมีคนบอกว่า ‘อย่าไปนะ เราต้องตายหมดนะ เดี๋ยวผู้หญิงอาจจะโดนฆ่า พี่น้องมุสลิมต้องฆ่ากันเอง’ — เรื่องนี้สำคัญไหม?… [ตอบ] สำคัญ… แต่ระหว่างประเด็นนี้ ที่มุสลิมต้องฆ่ากันเองกับ “อิสลามตาย” เนี่ย อะไรสำคัญกว่า? — ตรงนี้แหละ เพราะฉะนั้น สหายแห่งกัรบาลา จึงจะต้องรู้ว่า ในชีวิตเรา ในการนับถือศาสนา ต้องรู้อยู่เสมอว่า อะไรคือเรื่องสำคัญ และอะไรคือเรื่องสำคัญน้อยกว่า และเราจะต้องไม่เสียเวลาชีวิ ตไปวุ่นกับเรื่องที่สำคัญน้ อยกว่า อันเนื่องมาจาก เรื่องที่สำคัญน้อยกว่า นี่แหละที่ได้ทำลายพลังอิ สลามอย่างมาก เพราะอิมามฮูเซน(อ) บอกไว้ชัดเลย ว่า…
اِنّا لِلّهِ وَاِنّا اِلَيْهِ راجِعُونَ وَعَلَى الاِْسْلامِ الْسَّلامُ اِذ قَدْ بُلِيَتِ الاُْمَّةُ بِراعٍ مِثْلَ يَزيدَ
‘… ถ้าประชาชาตินี้ถูกทดสอบด้วยผู้ นำเหมือนกับยาซีด(ล.น) ก็จบ คือวันสิ้นสุด วันตายของอิสลาม….’
ดังนั้น ถ้าเราจะให้อิสลามมีชีวิตอยู่ จะต้องหยุดสิ่งนี้ จะต้องลุกขึ้นมาสู้ เหมือนที่ อ. รอฟิอี [ผู้ดำเนินรายการ] พูดอยู่เสมอ พูดทุกปีว่า ถ้าไม่มีการลุกขึ้นสู้ที่กั รบาลา วันนี้ขวดเหล้าจะอยู่ริมระเบี ยงมัสยิด แบบไม่ตะขิดตะขวงใจด้วย และอาจจะไม่คิดว่าผิดด้วย ทำไมหรือ ? เพราะเรามีคอลิฟะฮ์ที่กินเหล้า แล้วก็ทำซีนา แต่ทว่า การลุกขึ้นสู้ของท่านอิมามฮู เซน(อ) นั้น ทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เกิดขึ้น
ผมจะสรุปให้พี่น้องเอาไปปฏิบัติ ได้ว่า ในการนับถือศาสนา ในการรับใช้ศาสนา จะต้องคิด ต้องทำความเข้าใจเสมอว่า อะไรคือเรื่องที่สำคัญในวันนี้ สำหรับพวกเรา อะไรคือสิ่งนั้น? เรื่องอะไรที่สำคัญ?
ยิ่งกับพวกเรา ไม่อยากจะพูด เดี๋ยวจะโกรธ เราบางที เห็นดุนยาสำคัญกว่าศาสนาไปเลย แบบไม่อายและไม่ตะขิดตะขวงใจด้ วย — อันนู้น [หมายถึงสาส์นกัรบาลานั้น] เป็นเรื่องระหว่าง ศาสนากับศาสนา ระหว่างสำคัญกับสำคัญกว่า — แต่พวกเรานี่ ศาสนากับดุนยา และก็กลับกลายเป็นดุนยา ที่สำคัญกว่าด้วย ส่วนรายละเอียด เป็นของใครของมัน แต่ละคน ก็มีดุนยาเป็นของตนเอง ดังนั้นถ้าเรายังให้ความสำคัญกั บดุนยา อย่าเรียกตนเองเด็ดขาด อย่าพูดเด็ดขาดว่า “ลับบัยกายาฮูเซน” เพราะท่านอิมามฮูเซน(อ.) เอาดุนยาทั้งหมดที่มี นำทั้งหมดที่มี มาพลีให้กับศาสนา ในขณะที่พวกเรา กล่าว “ลับบัยกายาฮูเซน” เรากลับแลกดุนยากั บศาสนาจำนวนมาก — นี่คือบทเรียนอันที่ 2 บทเรียนเรื่องความสำคัญ
บทเรียนที่ 3
บทเรียนอันที่ 3 ที่ได้มาจากกัรบาลา มันจะค่อย ๆ เข้มข้น… หากอยากจะประสบความสำเร็ จในศาสนา อยากจะให้อะห์ลุลเบตยอมรับ อยากจะรับใช้ศาสนา ก็จำเป็นจะต้องรู้ว่า ขอบเขตของการรับใช้ศาสนานี้นั้น จะต้องไปถึงไหน…
วีรกรรมที่กัรบาลาเป็นสิ่ งบอกเราว่า ถ้าคิดจะเข้าสู่แนวทางนี้ ก็จงไปศึกษา ไปอ่านเรื่องราวของกัรบาลาก่อน ไปดูวีรกรรมกัรบาลา ถ้าเป็นสตรีก็ไปดูวีรกรรมของวี รสตรี ถ้าเป็นบุรุษ ก็ไปดูวีรกรรมของวีรบุรุษ… ทำได้หรือไม่ ไปได้หรือไม่ กล้าไหม ถ้าทำไม่ได้ ยังไม่กล้า อย่าพึ่งบอกว่า “ลับบัยกายาฮูเซน” เพราะมันจะกลายเป็น “ลับบัย” ที่โกหก
วีรกรรมที่กัรบาลา จากวาทกรรมของท่านอิมามฮูเซน(อ. ) บอกอย่างชัดเจนว่า แนวทางนี้ หากคิดจะเดินทางนี้ ต้องดูว่ามันจะไปจบที่ตรงไหน และพร้อมไหมที่จะไปจบตรงนั้น… นำเอามาจากวาทกรรมของท่านอิ มามฮูเซน(อ.)ก่อน ซึ่งถือเป็นวาทกรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดอันหนึ่ง ซึ่งสำหรับผู้ศรัทธา เมื่อได้ยินวาทกรรมมอันนี้ เลือดมันต้องสูบฉีดไปทั่วทุกอณู ของร่างกาย… วาทกรรมอันใด?
คือ วาทกรรม
إن کان دین محمّد لم یستقم الّا بقتلی فیا سیوف خذینی
‘ถ้ามาดแม้นว่าศาสนาของมูฮัมหมั ด ไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ เว้นแต่จะต้องฆ่าฉัน โอ้ศาสตราวุธทั้งหลาย โอ้ดาบเอ๋ย หอกเอ๋ยจงมา อาบเลือดข้าเสียให้ชื่นบาน’
อนึ่ง ทุกครั้งที่ผมได้ยิน [ประโยคดังกล่าวในภาษาไทย] ผมจะอ่านอัลฟาฏิฮะฮ์ ให้กับอาจารย์นุช เฉลิม ตลอด พี่น้องก็อย่าลืมเวลามะตัม ถ้าเป็นเพลงของอาจารย์ ก็พยายามอ่านฟาฏิฮะให้กับท่านด้ วย ท่านเรียงร้อยได้สวยงาม และลึกซึ้งเป็นอย่างมาก
นักสู้ในอิสลามจะต้องพูดว่า ‘โอ้หอกเอ๋ย! โอ้ดาบเอ๋ย! จงมาอาบเลือดข้าเสียให้ชื่นบาน’ — กล้าพูดคำนี้ด้วยชีวิต และจิตวิญญาณไหม? ถามจริง ๆ ว่ากล้าพูดคำนี้ด้วยชีวิตและจิ ตวิณญาณหรือไม่? กล้าพูดคำนี้ออกมาโดยมีชีวิตเป็ นเดิมพันไหม? หากมี… เราคือสหายแห่งกัรบาลา เพราะศาสนานี้ เดิมพันกันถึงขนาดนี้ นี่คือ อีกบทเรียนหนึ่ง ที่เราจะต้องเรียนรู้ และเราจะต้องสร้างจิตวิ ณญาณของเราให้พร้อม
ดังนั้น เมื่อประกาศแบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา คือคำว่า ‘สับเป็นชิ้น ๆ’ ไม่เคยมีสงครามใดที่เคยเกิดอย่ างกัรบาลา คือสับเป็นชิ้น ๆ ถามตัวเองว่ามีจิตวิญญาณอันนี้ แล้วหรือยัง? กลัวหอกกลัวดาบไหม? ถ้ายังกลัวอยู่ อย่าพึ่งตะโกนไปดัง ๆ ว่า ‘ลับบัยกายาฮูเซน’ — เพราะอิมามฮูเซน(อ) เรียกร้องไปสู่สิ่งนี้ และอุลามาบางท่านอธิบายเสริมว่า การที่อิมามฮูเซน(อ) ขอความช่วยเหลือนั้น ไม่ได้ขอเพื่อให้เราช่วยเหลือท่ านจริง ๆ แต่ขอความช่วยเหลือ เพื่อที่จะช่วยเหลือเรา ถ้าเราให้ความช่วยเหลืออิมามฮู เซน(อ) เรากำลังรับความช่วยเหลือจากอิ มามฮูเซน(อ.) ซึ่งท่านได้เปรียบอายะกุรอานหนึ่ ง (ซูเราะหฺอัลบะกอเราะหฺ – ๒๔๕)
مَّن ذَا الَّذِي يُقْرِضُ اللَّهَ قَرْضًا حَسَنًا
‘แล้วใครจะให้อัลลอฮฺยืมสตางค์ บ้าง’
อันที่จริง อัลลอฺฮ์ (ซ.บ) จะยืมสตางค์เรากระนั้นหรือ? อัลลอฮ์ (ซ.บ) ไม่มีสตางค์หรือ? ทำไมอัลลอฮฺ(ซ.บ) ใช้คำนี้ในอัลกุรอานว่า ‘ใครจะให้อัลลอฮฺ ยืมสตางค์บ้าง
ทั้ง ๆ ที่ ما فی السماوات و الارض สำหรับพระองค์นั้น ‘ทั้งที่อยู่ในชั้นฟ้า และทั้งที่อยู่ในแผ่นดิน’ ล้วนของพระองค์ทั้งสิ้น แต่เมื่อพระองค์ต้องการให้ผู้ ศรัทธาบริจาค อัลลอฮฺ (ซ.บ) ก็ตรัสว่า ‘บริจาคเถิด เท่ากับให้ฉันยืม’ อัลลอฮฺ(ซ.บ) ขอยืมพวกเรา เพื่อที่จะให้เรา
เช่นเดียวกัน อิมามฮูเซน(อ.) ขอความช่วยเหลือ เพื่อจะช่วยพวกเรา ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลื อจากท่านอิมามฮูเซน(อ) คือ ผู้ที่ได้ตัดสินใจช่วยเหลืออิ มามฮูเซน (อ)
هَلْ مِنْ ناصِرٍ یَنْصُرُنی (ฮัลมินนาซีรยันซุรนี) นั่นคือสาสน์สุดท้าย และสาสน์อันนี้ไปไกล และครอบคลุม ยิ่งกว่าคำเรียกร้องเชิ ญชวนของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)
จำนวนสูงสุดจากคนที่ไปทำฮัจญ์ ผมคิดว่าไม่เกิน 4 ล้านคน แต่ ณ วันนี้ สูงสุดของคนไปที่ฮะรัมของท่านอิ มามฮูเซน(อ) ในวันอัรบาอีน ตอนนี้คือ เกือบ 30 ล้านคน ของทุก ๆ ปี นี่คือความยิ่งใหญ่ นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ของภารกิ จอันนี้ ภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ นี่คืออีกประเด็นหนึ่ง
เมื่อคืน [ค่ำคืนที่ 9 มูฮัรรอม] เราก็ได้นำเสนอไปแล้วว่า นี่คือจิตวิณญาณแห่งกัรบาลา ถ้าจะยกคำพูดของมุสลิม อิบนิ เอาซาญะฮฺ … ‘แม้นต้องถูกเผา ถูกฆ่า ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน ปลิวว่อนไปกับลม แล้วก็ฆ่าอีก แล้วก็เผาอีก…’ บางศอฮาบะก็บอกว่า ‘เป็นเช่นนี้ สัก 70 ครั้ง…เราก็จะไม่ทิ้งท่าน เราจะกลับมาตายแบบนี้อีก’ … เพราะมันยิ่งใหญ่ จึงขอกลับมาตายแบบนี้อีก
บทเรียนที่ 4
สาส์นสุดท้าย [ที่จะนำเสนอในค่ำคืนนี้] เป็นสาส์นที่ยากที่สุด สำหรับผมนะ สาส์นที่สำคัญอีกอันหนึ่ง จากผู้ถือสาส์นในภาคที่สอง ตามที่บรรดาอาเล็มอุลามา ได้แบ่งกัรบาลาเป็น 2 ภาค โดยภาคที่หนึ่ง นำโดยอิมามฮูเซน (อ) และภาคที่สอง นำโดยท่านหญิงซัยหนับ (อ) และอุลามาพูดเหมือนกันทุกคนว่า ถ้าไม่มีภาคของท่านหญิงซัยหนับ( อ) เรื่องราวแห่งอาชูรอก็จะไม่สมบู รณ์เหมือนกับที่เป็นอยู่ในวันนี้
บทบาทของท่านหญิงซัยหนับ(อ) อุลามาบางคนบอกว่า ไม่ได้น้อยไปกว่าของท่านอิมามฮู เซน(อ) ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) เขียนไว้ในหนังสือของท่าน… ‘เหมือนกับอิมามฮูเซนอีกคนหนึ่ งกำลังแสดงบทบาท’… ท่านพูดถึงท่านหญิงซัยหนับ(อ) ท่านใช้คำนี้เลยว่า… ‘เหมือนกับฮูเซน(อ) ที่สอง’ กำลังแสดงบทบาทต่อ เพื่อจะนำการปฏิวัตินี้ไปสู่ ความสมบูรณ์ที่สูงสุด
อย่างไรก็ตาม ท่านหญิงซัยหนับ(อ) ไม่ได้มีเพียงสาส์นเดียว แต่เราไม่มีเวลาเพียงพอจะพูดถึ งทุกสาส์น ทว่าสาส์น[ดังต่อไป]นี้ สำคัญที่สุด หากเอาสาส์นนี้ ไปศึกษา เป็นบทเรียนขับกล่อมจิตวิ ญณาณของเราให้เข้าใจ และสามารถทำได้เหมือนกับสาส์นอั นนี้ของท่านหญิงซัยหนับ(อ)ได้ นั่นก็จะถือเป็นความสำเร็จที่สู งสุด — แล้วสาส์นอันนี้นั้น คือ สาส์นใดของท่านหญิงซัยหนับ(อ)?
เมื่อถูกต้อนเข้าไปในเมืองกู ฟะฮ์ เข้าไป ณ ที่ว่าการเมืองกูฟะฮ์ เข้าไปในท้องพระโรงของอิบนิซิ ยาด (ละนาตุลลอฮฺ) ท่านหญิงเข้าไปไหนสภาพเยี่ยงใด? ..ป [ตอบ] เข้าไปในสภาพที่ศีรษะของพี่น้อง ลูกหลาน มิตรสหาย วีรบุรุษทั้งหมด ถูกเสียบอยู่ที่ปลายหอก… ตอนที่เข้ามา ท่านหญิงโดนอะไรมาบ้าง? …[ตอบ] ท่านถูกต้อนรับด้วยก้อนอิฐ และก้อนหิน ตั้งแต่ปากประตูเมืองของกูฟะฮ์ และตลอดถนนที่เดินเข้าไปในที่ว่ าการของเมืองกูฟะฮ์ ท่านหญิงก็โดนขวางก้อนหิน ก้อนหินมาจากถนนอย่างมากมาย นอกจากนั้น ตลอดเส้นทาง ท่านยังถูกเฆี่ยนตี โดนทารุณทุกสิ่งทุกอย่าง
[แต่ทว่า] เมื่อปรากฏอยู่เบื้องหน้าศรี ษะของท่านอิมามฮูเซน(อ)…. ผมเล่าสภาพก่อนว่าคนที่จะพู ดคำต่อไปนี้ ออกมาได้นั้น อยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นใด ท่านหญิงไม่ได้อยู่ในทุ่ งลาเวนเดอร์… แต่อยู่ต่อหน้าศีรษะของผู้เป็ นพี่ชาย ที่เป็นที่รักที่สุด ที่เป็นชีวิตของท่านหญิงซัยหนับ (อ) ซึ่งวางอยู่ในถาด ที่อยู่ใต้เบื้องเท้าของอิบนิซิ ยาด(ละนาตุลลอฮฺ)… มันได้ถามท่านหญิงซัยหนับ(อ) ว่า…
‘เป็นอย่างไร เห็นอย่างไรบ้าง ในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทำกับพวกเจ้ าทั้งหมดแบบนี้?’ … ที่ถูกตัดคอ ถูกเสียบประจาน ณ ปลายหอก ‘พวกเจ้าถูกจับมาเป็นเชลย ประชาชนขว้างปาด้วยก้อนอิฐและก้ อนหิน เป็นอย่างไรบ้าง ที่อัลลอฮฺได้ทำให้พวกเจ้าอั ปยศเช่นนี้ เจ้าเห็นอะไรบ้าง’ ?
ท่านหญิง(อ)ตอบในทันทีทันใดว่า ما رأیت الا جمیلاً “ไม่เห็นสิ่งใดเลย นอกจากความสวยงาม”
คำอธิบาย:
คำว่า جمیل (ญะมีล) ในอัลกรุอาน มีอยู่ 7 ครั้ง แต่เราไม่มีเวลาเพียงพอสำหรั บการตัฟซีรในจุดนี้… [ถึงกระนั้น] ต้องถามว่า ด้วยจิตวิญานอันใดที่ท่านหญิงซั ยหนับ(สลามุลลอฮฺอลัยฮา) มองเห็นทั้งหมดที่ผ่านมา คือ “ความสวยงาม” — ดูจากสิ่งใด เริ่มจากที่ไหน?
เริ่มจากเด็กๆ ไม่มีน้ำกิน เริ่มจากท่านอับบาส(อ) ถูกตัดแขนขาด เพื่อไม่ให้ถุงน้ำมาถึง เริ่มจากอาลีอัสกัรถูกเชือดด้ วยธนูสามแฉก เริ่มจากกระโจมถูกเผา เริ่มจากไฟติดเสื้อเด็กๆ และสตรี… เริ่มจากเห็นท่านอิมามฮูเซน(อ) ถูกสับ ถูกม้าเหยียบ โดนม้าขย้ำ จนกระทั่งถูกตัดศีรษะ และท่านตอบว่า ทั้งหมดนี้คือความสวยงาม… ท่านพูดประชดไหม? — ไม่… สวยงามจริงๆ
ที่ผมจะบอกคือ กัรบาลาบอกว่า ให้จิตวิญญาณของตัวเรา มองเห็นทั้งหมดคือความสวยงามให้ ได้ ให้จิตวิญญาณเรารับให้ได้ นี่คือความสวยงามที่เราได้พลี เราถูกสับเป็นชิ้นๆ แขนถูกตัด ขาถูกตัด เป็นเชลย ที่ถูกล่ามโซ่ มันช่างสวยงามเสียเหลือเกิน ที่ทั้งหมดนี้ได้ทำเพื่ออัลลอฮ (ซ.บ)
เราอย่าเป็นแค่ผู้ฟังอย่างเดียว แล้วก็ปลื้มกับท่านหญิงซัยหนับ( อ) แต่ให้มองถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น คือ ความสวยงาม ค่อยๆฝึกไป นี่คือ บทเรียน เป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุด และนี่คือเหตุผลที่ปีแล้วปีเล่า เราจะต้องรำลึกถึงกัรบาลา จนกระทั่งแสงอันนั้นปะทุขึ้ นมาในหัวใจของเรา — อย่างไร? เรามายกตัวอย่างสักเล็กน้อย — [กล่าวคือ] เป็นแบบชะฮีดมุฮซิน ฮูญาญี
พี่น้อง… ก่อนหน้าชะฮีดมุฮฺซิน ฮุญาญี พี่น้องคิดไหมว่าในชีวิตของเรา จะได้ยินเรื่องราวคนธรรมดา ชะฮีดมุฮซิน ฮุญาญี คือ คนธรรมดาคนหนึ่ง ขอดุอาอ์ ‘ยาอัลลอฮ (ซ.บ)ขอให้เป็นชะฮีด ขอให้ถูกเชือดเหมือนกับอิมามฮู เซน(อ)’ … คิดไหมว่า ชีวิตนี้จะได้ยินในชีวิตจริ งของเรา จากมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ‘ยาอัลลอฮฺ ขอให้ถูกเชือดเหมือนกับที่อิ มามฮูเซน(อ) ถูกเชือดจากข้างหลัง’ … แสดงว่าชะฮีดมุฮซิน ฮุญาญี ได้เรียนจบแล้ว สอบผ่านบทเรียนแห่งกัรบาลาแล้ว เราอาจจะมีตัวอย่างแค่หนึ่ง หรือสองตัวอย่าง แต่มีตัวอย่างที่หนึ่งเดียว อันเดียว ก็เพียงพอแล้ว อาจจะมีมากกว่านี้ แต่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้
ทำอย่างไร ให้เรามองทุกวิกฤตการที่เกิดขึ้ น จากการที่เรารับใช้ศาสนา วิกฤตการอันนั้น ทำอย่างไร ขับกล่อมจิตวิญญาณแบบไหน ที่ให้มองสิ่งต่างๆเหล่านี้เสมื อนว่า คือ สิ่งที่สวยงามที่สุด
อิมามฮูเซน(อ) ก็มองว่าสวยงาม และเมื่ออุมมุลซาลามะฮ์ (หนึ่งในภรรยาของท่านนบี ศ็อลฯ) มาบอกแก่ท่านอิมามฮูเซน(อ) … ‘โอ้ลูกรัก อย่าออกไปเลย ฉันได้เคยฟังจากท่านตาของเจ้า ท่านรอซูลรุลลอฮ(ศ็อลฯ)ว่า เจ้าจะถูกฆ่าตายที่แผ่นดินกั รบาลาอย่าออกไปเลย จงอย่าออกไปเลย’ … อิมามฮูเซน(อ) ตอบว่าอย่างไร? … [ตอบว่า] ‘ไม่ได้หรอก โอ้แม่จ๋ามันเป็นประสงค์ของอั ลลอฮ (ซ.บ)ที่ฉันจะต้องถูกฆ่าที่นั้ นอัลลอฮ (ซ.บ)ประสงค์ อัลลอฮ (ซ.บ) อยากเห็นเราถูกฆ่า เราอยากให้อัลลอฮ (ซ.บ)เห็น ให้อัลลอฮ (ซ.บ) ได้เห็นในสิ่งที่พระองค์อยากเห็ น’ — สวยไหม ? … สวยงาม
ในเมื่ออัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็นอิมามฮูเซน(อ) ถูกเชือดที่กัรบาลา อิมามฮูเซน(อ) ก็พร้อมที่จะให้อัลลอฮ (ซ.บ)เห็น และอัลลอฮ (ซ.บ)อยากเห็นแค่นี้ไหม? — เมื่อท่านหญิงอุมมุลซาลามะฮ์ (อ.) รู้แล้วว่า ห้ามไม่ได้ จึงห้ามต่อ.. ‘แล้วเจ้าจะเอาผู้หญิง และเด็กไปทำไม โอ้ลูกรัก’ … อิมามฮูเซน(อ) จำเป็นต้องตอบความจริงว่า ‘อันนี้ ก็อัลลอฮ (ซ.บ)อยากเห็น’
إِنَّ اللّهَ قَدْ شاءَ أَنْ یَریهُنَّ سَبایا
อัลลอฮ (ซ.บ)ต้องการจะเห็น ‘ฮุนนะฮ์’… พวกเธอ พวกนาง เด็ก ลูกหลาน วีรสตรี อัลลอฮ (ซ.บ)ต้องจะเห็นเด็กๆวีรสตรี พวกนี้เป็นเชลยศึก — อัลลอฮ (ซ.บ) อยากจะเห็น ทำได้หรือไม่? อิมามฮูเซน(อ) ขานรับว่าทำได้ ท่านหญิงซัยหนับ (อ) ก็บอกว่าทำได้เมื่ออัลลอฮ (ซ.บ) ประสงค์ เราทำได้ ให้เป็นเชลยศึกถูกล่าม ฮะดิษมีต่อ….
‘ถูกล่ามโซ่ตรวน ถูกมัด’ — อัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็น และพวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่ จะทำให้อัลลอฮ (ซ.บ)เห็น แต่พวกเราส่วนมาก พวกที่ไม่ได้อยู่ในวันนั้น คิดว่าอัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็นคนนมาซ คงคิดว่า วันนั้นอัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็นคนถือบวช อัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็นคนนมาซตะฮัจญุต สมมุติ อัลลอฮ์ (ซ.บ) อยากเห็นคนอ่านกุรอานในวันนั้น กระนั้นหรือ?… ทว่า ในวันนั้น ในวิกฤตของวันนั้น อัลลอฮ (ซ.บ)อยากจะเห็นอะไร ? พระองค์อยากเห็นคนนมาซหรือ? — ไม่… แต่อัลลอฮ (ซ.บ)อยากเห็นคนพลี ในแนวทางของพระองค์ นี่คือบทเรียนแห่งกัรบาลา
บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถสรุปได้ คือ เมื่อวันหนึ่งมาถึง ก็พร้อมพลีทุกอย่าง… มันไม่เคยมีการพลีแบบนี้มาก่อน คือ พร้อมพลีทุกอย่าง แม้แต่ลูกเล็กเด็กแดง เพื่อศาสนาของพระองค์ นี่เป็นสาส์นอีกอันหนึ่ง และสาส์นอันนี้ มีไว้สำหรับทุกคน
กัรบาลาถูกแสดง ผมใช้คำว่าแสดง เพื่อให้ทุกคนแสดงต่อไปจนถึงยุ คทุกสมัย จนถึงการปฏิวัติของท่านอิ มามมะฮ์ดี (อ.) นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่อัลลอฮ (ซ.บ)ทำให้มันร้อนรุ่มอยู่ตลอด
ในความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา [ของวีรบุรุษ และวีรสตรีกัรบาลา]… พวกเขามีความรู้สึกไหม.. มี …มีความรักไหม…มี และได้เป็นแบบอย่างที่สวยงามให้ แก่เรา
อิมามฮูเซน (อ) เป็นคนหยาบกระด้างหรือ? ท่านหญิงซัยหนับ(อ) เป็นคนหยาบกระด้างไหม? — ไม่เลย — เช่นเดียวกับในคืนๆนี้ ในริวายัติบอกว่า อิมามฮูเซน (อ) เดินรอบกระโจม ไม่ได้นอนทั้งคืน ท่านเดินทำอะไร? … ท่าน เดินเก็บหนาม เก็บเสี้ยน เก็บของแหลมคม ที่จะทำอันตรายกับเด็กๆในวันพรุ่ งนี้
มูศิบัต
‘… มุสลิม อิบนิ เอาซะญะฮ์ ถ้าวันใดที่ฮูเซนมาขอเสื้อตัวนี้ เจ้าจงรู้ไว้เถิดว่า วันนั้นคือวันสุดท้ายที่เจ้ าจะได้เห็นฮูเซน…’ — และเสื้อนี้ก็มีประวัติ ยาวนานเป็นอย่างมากพี่น้อง แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงอยากจะอ่านเกี่ยวกั บเสื้อตัวนี้อีก เพราะมันมีความแปลกอยู่เรื่ องเดียวในเรื่องนี้ ผมก็ยังหาคำตอบไม่ได้
เอาสั้นๆว่า ตอนที่ท่านนบีอิบรอฮีม(อ) ถูกโยนลงไปในกองไฟ ก็ใส่เสื้อตัวนี้ และในริวายัตก็บอกว่า เป็นเพราะเสื้อตัวนี้ ไฟถึงเย็นลง หรือ ตอนน้ำท่วมโลก ท่านนบีนุฮ์ (อ) รอดมาได้ ก็เพราะว่าใส่เสื้อตัวนี้ เสื้อแห่งนูบูวัต ตอนที่นบียูซุฟ (อ) มาอำลา นบียะฮ์กูบ (อ) ไปเที่ยวกับพี่ๆ นบียะฮ์กูบไม่ค่อยสบายใจ จึงสวมใส่เสื้อตัวนี้ให้กับท่ านนบียูซุฟ (อ) และเสื้อตัวนี้ ก็คุ้มครองนบียูซุฟ(อ) จนท่านได้เป็นกษัตริย์แห่งอียิ ปต์ และหลายๆศาสดา นี่คือ เสื้อแห่งนบูวัต ที่ส่งต่อมาจนถึงนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) หลังจากนั้น ได้เก็บไว้ที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (อ) และส่งมอบให้กับท่านอิมามฮูเซน (อ)
แต่ที่แปลกคือ เสื้อตัวนี้ ทำไมมันจึงไม่ปกป้องอิมามฮูเซน (อ) ทำไมเสื้อตัวนี้ถึงเปื้อนไปด้ วยเลือดของอิมามฮูเซน (อ) ดังนั้นเมื่ออิมามฮูเซน(อ) เดินเข้ามาเอาเสื้อตัวนั้น ท่านหญิงซัยหนับ(อ) หัวใจแทบจะแตกสลาย แล้วก็ได้หลั่งน้ำตา อิมามฮูเซน(อ) ยังไม่พูดอะไร ท่านนำเอาเสื้อกลับไป แต่งตัวชุดนักรบอย่างสมบูรณ์ แล้วจึงกลับมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมอยู่บนหลังของม้าซุลญานา
เมื่อมาถึงกระโจมของเด็กและสตรี จึงได้ร้อง… ‘ยาซัยหนับ ยาซูกัยนา ยารูกัยยะฮ์ ยารูบาบ … เด็กทุกคนออกมา พ่อจะมาลาพวกเจ้าแล้ว พ่อจำเป็นจะต้องไปแล้ว’…. เด็กทุกคน ได้วิ่งออกมาจากกระโจม เมื่อเห็นท่านอิมามฮูเซน(อ) อยู่ในชุดนักรบ ทุกคนก็ได้ตะโกนร้อง… ‘ยาอะบาตา ยารอซุลลุลลอฮ์ มันมาถึงแล้วหรือ วันนั้น วันที่พวกเราทุกคนหวาดกลัว’…
อิมามฮูเซน (อ) ได้ลงมาจากหลังม้า และได้ร่ำลาทีละคน ทีละคน ร่ำลาท่านหญิงซัยหนับ(อ) ร่ำลาท่านหญิงรูบาบ (อ) บรรดาลูกหลานทั้งหมดทุกๆคน แล้วก็ได้สั่งเสียว่า … ‘ตราบใดที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ เมื่อฉันออกไปนอกสนามรบ ห้ามใครออกมาจากกระโจม พวกเจ้าทุกๆคนจงปิดกระโจมเอาไว้ จนกว่าฉันจะจากโลกนี้ไปแล้ว พวกเจ้าถึงจะออกมาได้…’
เมื่อร่ำลาทุกๆคนแล้ว ท่านอิมามฮูเซน(อ) จึงกระโจนขึ้นไปบนลงม้า
عَلَیْکُنَّ مِنِّی السَّلَامُ
อิมามฮูเซน (อ) ก็ได้ควบม้าเพื่อจะพุ่งไปข้ างหน้า แต่ว่าซุลญานาไม่ขยับ อิมามฮูเซน(อ)กระตุกครั้งที่ สอง แต่ซุลญานาก็ไม่ขยับ อิมามฮูเซน(อ)กระตุกอีกครั้ งหนึ่ง ซุลญานาก็ไม่ขยับ อิมามฮูเซนจึงรู้สึกแปลกใจแล้ว ม้าผู้ซื่อสัตย์ตัวนี้ ไม่เคยเป็นเช่นนี้เลย มันเกิดอะไรขึ้น อิมามฮูเซน(อ)จึงก้มไปมอง ซึ่งพบว่าท่านหญิงสุกัยนา(อ) ยืนกอดขาม้าอยู่ ซุลญานาจึงไม่กล้าขยับ อิมามฮูเซนจึงบอกว่า ‘โอ้สุกัยนา ลูกรัก มีอะไรอีกหรือ.. พ่อได้ลาเจ้าแล้ว ทำไมไม่ปล่อยให้พ่อไป‘
ท่านหญิงสุกัยนา (อ) จึงได้บอก… ‘ลงมาก่อน พ่อจ๋า ลงมาก่อน พ่อยังไม่ได้ทำสิ่งหนึ่ง ที่พ่อทำกับหลายๆคน‘ … อิมามฮูเซน (อ) จึงลงมาจากหลังม้า มายืนใกล้ๆท่านหญิงสุกัยนา(อ) เมื่ออิมามฮูเซน(อ) ยืน ท่านหญิงสุกัยนา(อ) บอกว่า… ‘นั่งลงก่อน พ่อจ๋า นั่งลงก่อน’ … อิมามฮูเซน (อ) จึงนั่งลงตามคำสั่งของท่านหญิ งสุกัยนา(อ).. ‘นั่งขัดสมาธิ พ่อจ๋า นั่งขัดสมาธิ’ … อิมามฮูเซนก็นั่งขัดสมาธิเหมื อนกับต้องมนต์ของท่านหญิงสุกั ยนา(อ) ท่านหญิงสุกัยนา(อ) ก็นั่งบนตักของอิมามฮูเซน(อ) แล้วก็ได้จับมือของท่านอิมามฮู เซน (อ) ตั้งบนหัวของตน แล้วก็บอก… ‘ลูบสิพ่อ ลูบ ลูบหน่อย หนูเห็นนะ หลายวันที่ผ่านมา พ่อลูบหัวเด็กกำพร้าทุกคนเลย แต่พ่อยังไม่ได้ลูบหัวของหนู เลย หนูกำลังจะกลายเป็นเด็กกำพร้ าแล้วใช่มั้ย‘ ….อิมามฮูเซนจึงลูบหัวของท่ านหญิงสุกัยนา(อ) โดยท่านหญิงสุกัยนา(อ) เป็นคนขยับมือของท่านอิมามฮู เซน(อ) แล้วก็รำพึงรำพัน…’พ่อจ๋า พ่อจะจากเราไป แล้วเราจะอยู่กับใคร พี่อะลีอักบัรก็ไม่อยู่แล้ว อัมมูอับบาสก็ไม่อยู่แล้ว พ่อจะทิ้งพวกเราไว้แบบนี้ไม่ได้ ส่งเรากลับมะดีนะห์ก่อน ส่งเรากลับไปยังบ้านตาของเราก่ อน’
ซึ่งอิมามฮุเซน (อ) ไม่สามารถที่จะโต้ตอบกับท่านหญิ งสุกัยนา(อ) ได้ จึงตะโกนร้องเรียกท่านหญิงซั ยหนับ (อ)… ‘ซัยหนับ มาเอาสุกัยนาไปด้วย อย่าให้นางฉีกหัวใจของฉันเลย’ … ท่านหญิงซัยหนับจึ งออกมาจากกระโจมอีกครั้งหนึ่ง และปลอบประโลมท่านหญิงสุกัยนา( อ) และนำกลับเข้าไปยังกระโจม และออกมาส่งท่านอิมามฮุเซน (อ.) จริงๆแล้วระหว่างนี้ ก็มีการร่ำลากัน มีการรำพึงรำพันของท่านหญิงซั ยหนับ(อ) อยู่นานพอสมควร จนกระทั่งอิมามฮุเซน(อ) จำเป็นต้องใช้นิ้วแห่งวิลายัตจิ้ มไปที่อกของนาง จึงทำให้ท่านหญิงได้สงบลง
เมื่อท่านหญิงซัยหนับสงบลง อิมามฮุเซน (อ) ก็ขึ้นไปบนหลังม้า ทำท่าจะควบม้าออกไป ทว่ากลับได้ยินเสียงดังมาอีกครั้ งหนึ่ง จากท่านหญิงซัยหนับว่า… ‘มะลัลมะลอ ยับนาซะฮฺรอ’ — แปลง่ายๆ ความว่า ‘ช้าหน่อยก็ได้ โอ้ลูกของซะฮฺรอ’ — ตรงนี้ อุลามาอฺบางท่านบอกว่า จริงๆแล้วท่านอิมามฮุเซน(อ) จะไม่หันกลับมาแล้ว แต่เมื่อท่านหญิงซัยหนับ(อ) เรียกด้วยนาม โอ้ ลูกของซะฮฺรอ”.. เดี่ยวก่อน ช้าก่อน…’ อิมามฮุเซน(อ) จึงต้องลงมาจากหลังม้าอีกครั้ งหนึ่ง แล้วได้ถามท่านหญิงซัยหนับ… ‘มีอะไรอีกน้องรัก?’ … ท่านหญิงตอบว่า…’เมื่อครู่ ฉันลืมคำวะศิยัตของแม่ โอ้พี่จ๋า กลับมาก่อน เพราะแม่ได้สั่งเอาไว้ว่า วันไหนที่พี่มาเอาเสื้อ แม่บอกว่า โอ้ซัยหนับ ลูกช่วยจูบคออิมามฮุเซน(อ) แทนแม่ด้วย งั้นพี่เดินมาให้น้องจูบไปที่ คอหอยของพี่ก่อน’ …
อิมามฮุเซน (อ) จึงต้องเดินกลับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านหญิงซัยหนับ(อ) จูบลา ซึ่งเป็นรอยจูบที่ท่านหญิงฟาฏิ มะฮฺ(อ) ฝากจูบไว้ ก่อนที่ท่านอิมามฮุเซน(อ) จะออกไปยังสนามรบ และจากนั้น อิมามฮุเซน(อ) ก็ได้ควบม้าตรงไปยังสนามรบ ซึ่งตอนแรกก่อนที่จะสู่การทำศึ กสงครามนั้น บางริวายัตได้บอกว่า อิมามฮุเซน(อ) ได้เรียกชื่อของบรรดามิ ตรสหายของท่านที่เป็นชะฮี ดไปหมดแล้ว… ‘ยาฮาบีบ ยามุสลิม ยาอับบาส พวกเจ้าอยู่ที่ไหนกัน? ทำไมไม่ตอบคำเรียกร้องของฉัน’ — ซึ่งเสียงนี้ก็ดังไปถึ งกระโจมของเด็กๆด้วย ทุกคนก็ร้องไห้ตามที่ท่านอิ มามฮุเซน(อ) ได้ตะโกนเรียกร้อง … ‘โอ้ฮาบีบ โอ้มุสลิม พวกเจ้าอยู่ไหนกัน? ทำไมไม่ตอบรับเสียงเรียกร้ องของฉันหลัง’
หลัวจากทุกอย่างเงียบ อิมามฮุเซน(อ) จึงหันม้าไปทางกองทัพของทรชน และประกาศคำๆนี้ออกไปว่า
‘ฮัลมินนาซิรินยันซุรนี’ هَلْ مِنْ ناصِرٍ یَنْصُرُنی
วันนี้ ลูกหลานของท่านศาสดาโดดเดี่ยว และเดียวดาย มีใครบ้างที่จะช่วยเหลือ?
ทุกสิ่งทุกอย่างเงียบงัน อิมามฮุเซน(อ) จึงเข้าสู่บริบทของการเข้ าทำสงคราม ทำศึก รบกับพวกเขา และในระหว่างสงครามนั้น ในริวายัตได้กล่าวเอาไว้ว่า อิมามฮุเซน(อ) จะเลี้ยวม้ากลับมาให้ใกล้ กระโจมมากที่สุดและก็กล่าวคำว่า ‘ลาเฮาลาวะลากูวะตะอิลลา บิลลา ฮิลอะลี ยิลอะซีม’ لا حول ولا قوة الا بالله العلي العظيم
เมื่อเด็กๆได้ยินเสียงนี้ ทุกคนก็จะสบายใจว่า อิมามยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งหลายครั้งอิมามฮุเซน(อ) ก็เวียนมา ระหว่างทำศึก ท่านก็จะเลี้ยวกลับมา ควบม้าข้างๆคัยมะฮฺของเด็กๆ และก็จะกล่าวว่า ‘ลาเฮาลาวะลากูวะตะอิลลา บิลลาฯ’… ทุกคนก็อุ่นใจ ทุกคนก็สบายใจว่า เมาลายังมีชีวิตอยู่
ทว่า สักพักหนึ่ง เสียง ‘ลาเฮาลาวะลาฯ’ นั้น หมดไป ไม่มีเสียง ทุกคนได้นั่งรอด้วยความจนตรอก เวลาก็ยิ่งผ่านไป แต่เสียง ‘ลาเฮาลาวะลากูวะตะอิลลา บิลลา ฮิลอะลี ยิลอะซีม’ ก็ยังไม่มา ทุกคนเริ่มจะไม่สบายใจ รอไปอีกสักพักหนึ่ง แทนที่จะเป็นเสียง ‘ลาเฮาลาวะลาฯ’ กลับเป็นเสียงของม้าซุลญานา …
เสียงซุลญานามาร้องอยู่ที่หน้ ากระโจมของเด็กๆและสตรี ทุกคนเหมือนกับตกลงไว้ล่วงหน้า ทุกคนวิ่งออกมาจากกระโจมพร้อมกั นทั้งหมด ท่านหญิงซัยหนับและก็ลูกหลาน เมื่อทุกคนออกมายืนหน้ากระโจม เสียงร้องก็กลายเป็นเสียงเดียว
وا اباتا وا رسولا وا حسینا
‘วาย อบาตา วาย รอซูลา วาย ฮูซัยนา’
ทำไมเสียงร้องจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะซุลญานากลับมาโดยไม่มีผู้ ขี่อยู่บนหลังม้า ทุกคนจึงรู้แล้วว่าอาบาอับดิ ลลาฮฺอยู่ที่ไหน ในระหว่างที่เด็กกำลังร้องคร่ำ ครวญ
‘วาย อบาตา วาย รอซูลา วาย ฮูซัยนา’ นั้น ท่านหญิงก็รีบเดินไปยังสนามรบ ยังเนินของท่านหญิงซัยหนับ(อ) เพื่อจะไปดูว่าอะไรเกิดขึ้ นในสนามรบ ก็เห็นร่างของอิมามฮุเซน(อ) นอนจมกองทรายอยู่ ระหว่างที่ดูพวกเขากำลังรุมฟั นแทง ท่านอิมามฮุเซน (อ.) เมื่อท่านหญิงซัยหนับจะดูใกล้ๆ ก็ได้ยินเสียงร้องของเด็กๆที่คั ยมะฮ์อีก จึงต้องวิ่งกลับมาที่คัยยมะฮ์อี กครั้งหนึ่ง
พี่น้อง..ตรงนี้แหละคือ “การเดินซะแอ” ของท่านหญิงซัยหนับ(อ) วิ่งกลับมาตรงนี้ เพื่อจะมาเอาเด็กๆเข้าสู่กระโจม เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ ระหว่างที่กำลังจัดการเด็กๆ ก็ได้ยินเสียงโห่ร้องที่ สนามรบอีกครั้งหนึ่ง ท่านหญิงซัยหนับ(อ) ก็ต้องวิ่งกลับไปที่เนินของท่ านหญิง(อ) เพื่อจะดูว่าอะไรเกิดขึ้นกั บเมาลาฮูเซน(อ) ท่านหญิงซัยหนับ(อ) วิ่งกลับไป กลับมาอย่างนี้อยู่หลายรอบ จนกระทั่งรอบสุดท้ายที่วิ่งกลั บไปนั้น ท่านไม่เห็นอะไรเลย นอกจากเห็น ชิมรฺ อิบนฺ ซิลเญาชัน (ล.น) กำลังนั่งอยู่บนหน้าอกของอิ มามฮุเซน(อ) มันนั่งอยู่ที่หน้าอกของอิมามฮุ เซน (อ) และมันก็ได้ดึงมีดสั้ นจากเอวของมันออกมา…
เมื่อมันกระชากมีดของมันออกมา หัวใจ ดวงวิญญาณก็ถู กกระชากออกจากอกของท่านหญิงซั ยหนับ(อ) ด้วยเช่นกันพี่น้อง… ท่านหญิงซัยหนับ(อ) กำลังจ้องมองไป ในบางริวายัตได้บอกว่า ระหว่างนั้นอิมามฮุเซน(อ) ก็หันหน้าไปมองท่านหญิงซัยหนับ( อ) ส่งสายตาให้กับน้องรักว่า ‘น้องรัก กลับไปเถิด น้องอย่าดูภาพนี้เลย’ … อิมามฮุเซนกำลังส่งสายตา เพราะร่างของท่านนั้น ขยับไม่ได้แล้ว แต่ท่านหญิงซัยหนับ(อ) ไม่เข้าใจอะไรแล้ว จิตวิญญาณนั้นได้ถูกเชือดเฉือน พร้อมไปกับมีดที่กำลังขยับไปที่ คอหอยของท่านอิมามฮุเซน(อ)…
ชิมรฺ(ล.น) ขยับอยู่พักหนึ่ง แต่เชือดไม่เข้า เชือดอย่างไรก็ไม่เข้า อิมามฮุเซน(อ) จึงพูดอย่างแผ่วเบาว่า… ‘มีดนี้ไม่เข้าหรอกชิมรฺ เจ้ารู้ไหมทำไมถึงไม่เข้า เพราะตรงที่เจ้ากำลังเชือด มันเป็นรอยจูบของรอซูลุลลอฮฺทั้ งนั้นเลย ตรงที่รอซูลของอัลลอฮฺ เคยจูบอยู่เสมอ ถ้าเจ้าจะเชือดฉัน เจ้าต้องเชือดจากข้างหลัง’
ดังนั้น มันจึงเชือดอิมามฮุเซน(อ) จากต้นคอข้างหลัง บางริวายัตบอกว่า มีดนั้นก็ไม่มีความคมสักเท่ าไหร่ บางริวายัตบอกว่า ทั้งเชือด ทั้งสับจนศีรษะของอิมามฮุเซน(อ) หลุดออกจากร่างแล้ว มันก็ได้ลุกขึ้นยืนแล้วชูศี รษะของอิมามฮุเซน(อ) และเสียงโห่ร้องจากบรรดาทรชนก็ ดังขึ้น…
لا حول ولا قوة الا بالله العلي العظيم
وسَیعلَمُ الّذینَ ظَلَموا أَی مَنقَلَبٍ ینقَلِبونَ
______________
ถอดคำบรรยาย:
อามีนิลลา บินตี ชัมซุดดีน
คอยรูนนีซา บินตี อิสกันดาร์
ซะฮ์รอ บินตี อับดุลการีม
เศาฟีญิ้ลลา บินตี ชัมซุดดีน
สุกัยนา บินตี อับดุลการีม
ซัยหนับ บินตี นาบาวี
เรียบเรียง:
อุมมุลชูฮาดา บินตี อิสกันดาร์
ค้นคว้าภาษาอาหรับ:
เชคมีซานฮาซัน บิน มัรฮูมเจ๊ะแวฮูเซ็น
ภาพถ่าย
มูฮัมหมัดฮูเซน บิน ชัมซุดดีน