ปรมัตถ์แห่งการพลีสดุดีอาชูรอ: มัจญลิสอิมามฮูเซน (อ.) ค่ำคืนที่ 1 มุฮัรรอม ปี 1440 (ตอนที 2)

126

ปรมัตถ์แห่งการพลี สดุดีอาชูรอ บทที่ ๑/๒ มัจญลิสอิมามฮูเซน (อ.)
ค่ำที่ ๑ มุฮัรรอม ฮ.ศ. ๑๔๔๐ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑
บรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี


พึงตระหนักไว้เถิด หากเราทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในศาสนา แล้วไปไม่ถึงมะรีฟัต (สูงสุดของมัน) หรือไปไม่ถึงซึ่งอัคลาคแล้ว ขอรับรองและยืนยันว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นสูญเปล่าแน่นอน และขอย้ำ รับรองยืนยันอีกว่าหนักกว่าสูญเปล่าด้วย

ตัวอย่าง : ที่พวกเราเคยได้ยินกันมา

– การนมาซที่ไม่มีมะรีฟัต การนมาซที่ไม่มีอัคลาค คือ นมาซที่ถูกสาปแช่ง
-การอ่านอัลกุรอ่านที่ไม่มีมะรีฟัต การอ่านอัลกรุอ่านที่ไม่มีอัคลาค คือ การอ่านกรุอ่านของผู้ที่ถูกสาปแช่ง
-การทำฮัจย์ที่ไปไม่ถึงอัคลาคของฮัจย์ หรือไปไม่ถึงมะรีฟัดของฮัจย์ ถ้าภาษาของบรรดา อะอิมมะฮ์(อ) เรียกว่า ฮัจย์วัว ฮัจย์ควาย ไม่ใช่ฮัจย์ของคน

ดังนั้น ศาสนาคือการพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของศาสนา จุดสูงสุดของการกระทำ ฉะนั้น หากปราศจากการพัฒนาแล้ว อามั้ลอิบาดัต เกือบจะไม่มีประโยชน์ใดๆ

● ขั้นตอนการพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของศาสนา

ขั้นตอนที่ ๑ การพัฒนา ว่าด้วยเรื่องอะดั๊บ (อะดับคือมารยาท)
ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนา ว่าด้วยเรื่องอัคลาค
ขั้นตอนที่ ๓ การพัฒนา ว่าด้วยเรื่องมะรีฟัต

คำอธิบาย : เริ่มต้นด้วยมารยาทก่อน ตามมาด้วยอัคลาค เมื่อผ่านอัคลาค จึงเข้าสู่มะรีฟัต

ส่วน “มะรีฟัต” คือการเข้าใจอย่างสมบูรณ์ เข้าใจเป้าหมายของสิ่งที่เรากระทำอยู่

ดังนั้น ทุกอย่างจึงมี “อะดั๊บ” ของมัน

🎞 ตัวอย่าง รายละเอียดเรื่องการละหมาด

บรรดาอาเล็มอุลามาชั้นสูงเกือบทั้งหมดได้เขียนหนังสือว่าด้วยการละหมาด ซึ่งตรงนี้ขอยกตัวอย่างหนังสือที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ได้เขียนไว้ดังนี้

หนังสือเล่มที่ ๑ ชื่อ “อะดาบุศศอลา” แปลว่า มารยาทในการละหมาด มีความหนาพอสมควร ซึ่งขนาดเราอ่านเองก็ยังกังวลแล้ว

หนังสือเล่มที่ ๒ ชื่อ “อัศศอรอรุศศอลา” แปลว่า ความลับของการละหมาด มีความหนาเช่นกัน

คำอธิบาย : เป้าหมายเพื่อให้รู้ว่าการละหมาดไม่ใช่จะทำแบบไหนก็ได้ ดั่งตัวอย่าง การละหมาดในแบบที่ไม่รู้เรื่อง เช่นละหมาดบนเสื่อสกปรก ละหมาดในขณะที่เสื้อส่งกลิ่นเหม็นเน่า อ่านชัดไม่ชัด อ่านฟาฏิหะฮ์ถูกไม่ถูก รู้ความหมายหรือไม่รู้ความหมาย อ่านไปแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งตรงนี้เรายังอยู่ในขั้นตอนที่เรียกว่า อะดับที่อยู่ใน “อะดาบุศศอลา”

บริบทนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มของอะดั๊บ(มารยาท)เท่านั้น ทีนี้จะขออธิบายให้ชัดพอสังเขป

🎞 ตัวอย่าง สมมติ เราพูดอะไร ในขณะที่เราเองก็ไม่รู้เรื่อง แล้วมาพูดกับผู้ใหญ่ เราเรียกว่า ไม่มีอะดับ (ไม่มีมารยาท)ในการพูด

ดังนั้น การละหมาดก็เช่นกัน คนส่วนมากที่ละหมาด เมื่อเขาไม่รู้ว่า เขาพูดอะไร เช่น

๑.“สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮฺ”แปลว่า?

๒.”ซุบฮานะร๊อบบิยัลอะซีมีวะบีฮัมดิฮฺ”ไม่รู้ว่าแปลว่า ?

เหล่านี้คือการไม่มี “อะดับ”ในการพูด เห็นได้ว่า เพียงแค่อะดับก็ยากแล้ว ทว่าตรงนี้ยังไม่ใช่เนื้อหาของเรา

*************************
หมายเหตุ กรณีท่านใดที่ไม่รู้ความหมาย ขออนุญาตเสริมเนื้อหาประกอบคำบรรยายของท่านซัยยิด เพื่อความต่อเนื่อง

سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَه

“สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮฺ” แปลว่า อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญ

سُبْحَانَ رَبِّيَ الْعِظِيْمِ وَبِحَمْدِهِ

ซุบฮานะร๊อบบิยัลอะซีมมีวะบิฮัมดิฮฺ แปลว่า มหาบริสุทธิ์แด่ผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยการสรรเสริญพระองค์นั้น

● วิถีการดำเนินในเดือนมุฮัรรอม

การเข้าสู่เดือนมุฮัรรอม การเข้าสู่การรำลึกถึงท่านอิมามฮูเซน(อ) การเข้าสู่การรำลึกถึงวีรกรรม ทั้งวีรบุรุษและวีรสตรีนั้นก็มี อะดับของมัน

🖋 อะดั๊บของการเข้าสู่เดือนมุฮัรรอม

อะดับที่แท้จริงมาจากอะฮฺลุลเบต(อ)เท่านั้น ฉะนั้น พึงรู้เถิดว่า แนวทางการปฏิบัติของเรานั้น ไม่มีและไม่ใช่เกิดจากเราคิดเอง อีกทั้งอูลามาอฺคิดเองก็ไม่มีเช่นกัน ทว่าตอนนี้กลับมีศาสนาแปลกปลอมต่างๆที่อ้างอิงศาสนาอิสลาม เข้ามานำเสนอแนวคิดแปลกๆ

เพื่อให้ทราบว่า ในคำสั่งสอนของอูลามาอฺ แทบจะกล่าวได้ว่า 99.99% มาจากคำสอนของอะฮฺลุลเบต มาจาก รีวายัต มาจากการทำความเข้าใจ ทำการศึกษาในรีวายัดต่างๆ

ส่วนเราประชาชน คนอาวาม ไม่มีเวลา ไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถที่จะเข้าไปศึกษาทุกเรื่องในความรู้ของอะฮฺลุลเบตได้

ดังนั้นจงตระหนักไว้ว่า ต่อให้เราอ่านฮาดิษได้ อ่านภาษาอาหรับได้ เราก็ไม่รู้ว่าฮาดิษนี้ศอเฮี๊ยะหรือไม่ และหากฮาดิษนี้ศอเฮี๊ยะแล้ว จำเป็นต้องทำความเข้าในด้านความหมายเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะภาษาอาหรับมี 70 ความหมาย

ชัดเจนว่า คนที่เรียนเท่านั้นที่จะรู้ว่า ภาษาอาหรับมี 70 ความหมาย และต้องมีความรู้จริงเท่านั้น เราถึงจะสัมผัสความรู้ได้อย่างถูกต้อง

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะ ณ เวลานี้ มีศาสนาใหม่เกิดขึ้น ในนามของชีอะฮ เป็นศาสนาที่ต่อต้านฟูกอฮา (ลักษณะนี้คือ การทำลายอิสลามจากด้านใน)

ด้วยเหตุผลนี้ บรรดาอาเล็มอูลามาอฺระดับ ฟูกอฮา, มุฟัซซิร ,ฟากิฮฺ บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจวินิจฉัยปัญหาทางศาสนา

คำถาม :อำนาจนี้มาจากไหน

คำตอบ :อำนาจนี้มาจากนบี และอะฮฺลุลเบต(อ) ซึ่งฮะดิษมาจากท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ) ที่ได้รับการยอมรับอย่างเอกฉันท์ทั้งพี่น้องสายอะห์ลิลซุนนะห์และพี่น้องทางสายชีอะห์อีมามิยะห์ ท่านนบีได้กล่าวว่า…

( العلماء ورثة الأنبياء )
(อัลอุลามาอฺวารอซาตุลอัมบียาอฺ)

🗒“อุลามาอฺคือ ทายาทของบรรดานบี”

อูลามาอฺในที่นี้ ทางพี่น้องสายอะห์ลิลซุนนะห์ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ คือ “ทายาทในเรื่องราวของความรู้” ส่วนทางสายชีอะฮ์ยอมรับในทุกเรื่อง ทั้งการปกครองและครอบคลุมทั้งหมด เพราะคำว่า”วารอซาตฺ” เป็นคำ “มุฏลัก” ไม่ได้กำหนดเจาะจงว่าเป็นเรื่องหนึ่งเรื่องใด ทว่าชี้ว่า เป็นได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่เพียงความรู้ แต่รวมไปถึงหากมีความสามารถที่จะเป็นได้

กล่าวคือ สายชีอะฮ์ไปไกลกว่า ไปถึงการเป็นทายาททางวีลายัต ต่ออำนาจ ของการปกครอง แต่เอกฉันท์ทั้งสองฝ่าย คือ “ทายาททางด้านความรู้”

ดังนั้น เมื่อเราจะเข้าในเรื่องนี้โดยตรง เราต้องรู้ข้อปฏิบัติตน ที่เกี่ยวกับมุฮัรรอม ที่เกี่ยวกับการรำลึกทั้งหมดนั้น มาจากอะฮฺลุลเบต(อ)โดยตรงในเรื่องที่เป็นเรื่องหลักๆ ส่วนในรายละเอียด ได้จากบรรดาอาเล็มอูลามาอฺ เช่น ทำไมต้องไว้ทุกข์ ไว้อาลัย ทำไมต้องใส่ชุดดำ ทำไมต้องตบอก ทำไมต้องร้องไห้ และความจริงเรื่องเหล่านี้มีในฮาดิษทั้งหมด

🎞 ตัวอย่าง กรณี สวมชุดสีดำ

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ช่วงหลังๆปรากฏว่า กลุ่มวะฮาบีทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน ถกเถียงกัน จนในที่สุดได้ออกฮาดิษว่า นบีเคยสั่งให้ใส่เสื้อดำ นบีเคยสั่งภรรยาของศอฮาบะฮ์หลายๆคนให้ใส่เสื้อดำ เพื่อไว้อาลัยให้กับการจากไปของสามี เห็นได้ว่า มีฮาดิษศอเฮี๊ยะตามรายงานของวะฮาบีด้วย

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการใส่ชุดดำเพื่อไว้อาลัย แม้แต่พี่น้องชีอะฮ์บางคนยังคงสงสัยอยู่ บางครั้งความที่ไปเห็นศาสนาอื่นปฏิบัติ เป็นเพราะเราเองต่างหากที่ไม่เข้าในศาสนาของเรา ซึ่งความจริงแล้วรูปแบบการไว้ทุกข์เป็นของๆเรา แต่กลับคิดว่าเป็นของคนอื่น

ดังนั้น ต้องได้รับการบัญญัติจากบรรดาอาเล็มอูลามาอฺที่เป็นทายาทของบรรดานบีที่แท้จริงเท่านั้น เนื่องจากเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาที่นบีมอบหมายให้พวกเขาเป็นทายาท เพื่อสืบสานอุดมการณ์และรายละเอียดของศาสนาต่อๆกันมา

นี่คือ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจว่า ในเดือนมุฮัรรอม แน่นอนว่า ยังคงมีกลุ่มคนที่ยังมีความสงสัยต่างๆอย่างมากมาย โดยเฉพาะสังคมของเรา เป็นสังคมที่เป็นซุนนีเก่า โดยส่วนมากยึดติดกับระบบเก่า ด้วยกับอะไรต่างๆที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจ ซึ่งอาจจะปฏิบัติตัวได้อย่างยากลำบาก

ทว่า เมื่อเราเข้ามาในอะดับเบื้องต้น ทำไมเราต้องไว้ทุกข์ เราต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนมุฮัรรอม ซึ่งความจริงแล้วมีคำตอบ เพราะมีฮาดิษรีวายัตจากบรรดาอะฮฺลุลเบต(อ)มีอยู่อย่างมากมาย แต่ขอยกฮาดิษเพียงหนึ่งตัวอย่าง ที่เกี่ยวกับการรำลึกในรูปลักษณะนี้ว่ามาจากไหน

เบื้องต้น มีฮาดิษบทหนึ่ง เกี่ยวกับอะดับการเข้าเดือนมุฮัรรอม จากท่านอิมามริฎอ(อ) กล่าวว่า “อินนา อาบี “ แท้จริงบิดาของฉัน หมายถึงอิมามมูซา อัลกาซิม (อ)

“อิชา ดาฆอลา ชัรรุล มุฮัรรอม ลายูรอ ฎอฮิกัล ” เมื่อเดือนมุฮัรรอมเข้ามาถึง จะไม่ได้เห็น การหัวเราะจากบรรดาศาสดา บรรดา อิมาม และบรรดาอัมบิยา

ซึ่งการหัวเราะนี้ ไม่ใช่หัวเราะเสียงดังในแบบของเรา เพราะบรรดา นบี จะหัวเราะเบาบางมาก คือ เป็นการหัวเราะที่เข้มกว่ายิ้ม(การยิ้มแกมหัวเราะเบาๆ) เพียงเท่านี้ ศาสดาและวลียุลลอฮฺถือว่าหัวเราะแล้ว ดั่งที่คัมภีร์อัลกรุอ่านบอกว่า เมื่อท่านนบีสุไลมาน(อ)ได้ยินเสียงมดพูด

ซูเราะฮฺนัมลฺ โองการ :18
——————

يَا أَيُّهَا النَّمْلُ ادْخُلُوا مَسَاكِنَكُمْ لَا يَحْطِمَنَّكُمْ سُلَيْمَانُ وَجُنُودُهُ وَهُمْ لَا يَشْعُرُونَ

คำอธิบาย : มดตัวหนึ่งพูดว่า “โอ้พวกมดเอ๋ย! พวกเจ้าจงเข้าไปในหลุม จงเข้าไปรังของพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าสุลัยมานและไพร่พลของเขาจะได้ไม่บดขยี้พวกเจ้า ตายหมดโดยไม่รู้ตัว”

เมื่อท่านนบีสุไลมาน ได้ยินเสียงหัวหน้ามดพูด อัลกรุอ่านบอกว่า

ซูเราะฮฺนัมลฺ โองการ :19
——————
فَتَبَسَّمَ ضَاحِكًا مِّن قَوْلِهَا

ความว่า เขา(สุลัยมาน) ยิ้มและมากกว่ายิ้ม คือทั้งยิ้มและหัวเราะเบาๆ ยิ้มแกมหัวเราะจากคำพูดของของหัวหน้ามดตัวนั้น

คำอธิบาย เพื่อให้เห็นภาพของคำว่า ( ضَاحِكًا )ที่ท่านอิมามริฎอ(อ) กล่าวว่า เมื่อเดือนมุฮัรรอมเข้ามา “ลายูรอ ฎอฮิกัล วะกานาฏิล กิอาบะฮ์” และจะอยู่ในสภาพเศร้าโศกเสียใจ บ่งบอกว่า เมื่อเข้ามุฮัรรอม เห็นได้ว่าเป็นการต้อนรับปีใหม่ของเดือนอิสลามด้วยน้ำตา

สิ่งที่ต้องจดจำ นี่คือวัฒนธรรมของพวกเรา เราต้อนรับมุฮัรรอม ต้อนรับปีใหม่ ด้วยความเศร้า ซึ่งปีนี้ เราอยู่ในฮิจเราะฮ์ 1440

ถามว่า เศร้าขนาดไหน…เศร้าถึงขนาดความเศร้าครอบงำตัวของท่านอิมามมูซา อัลกาซิม(อ)

อิมามริฎอ(อ) ได้เล่าถึงสภาวะ เมื่อเข้ามุฮัรรอม ของท่านอิมามมูซา(อ) ว่า
“ตัฆริบุ อาลัยฮี ฮัตตา……..”

ความเศร้าได้ครอบไปยังท่านอิมามมูซา(อ) จน 10 วัน ผ่านพ้นไป ท่านอยู่ในสภาวะที่ “กิอาบะฮ์” คือโศกเศร้าเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าไปดูฮาดิษบทอื่น(จะเอามาเสริม)จะไม่เห็นแม้แต่รอยยิ้มหรือหัวเราะของบรรดาอะฮฺลุลเบต(อ) โดยเฉพาะใน 10 วันแรก หมายความว่า ความโศกเศร้านี้ครอบงำชีวิต จนกระทั่ง 10 วันผ่านไป

“วะอีซา กา…..”
และเมื่อวันที่ 10 มาถึง (วันอาชูรอ) วันนี้เป็นวันแห่งมุษิบัตของท่านอิมามมูซา(อ)
และเป็นวันโศกเศร้าหม่นหมองของท่าน
เและป็นวันแห่งการร้องไห้อย่างหนักของท่าน
และวันนี้ทั้งวัน ว่า วันนี้คือ วันที่ฮูเซนถูกฆ่า… วันนี้คือ วันที่ฮูเซนถูกฆ่า วันนี้คือ วันที่ฮูเซนถูกฆ่า
(ท่านจะพูดถึงเรื่องราวของฮูเซน )

ซึ่งฮาดิษและรีวายัตในเรื่องนี้มีรายงานเกือบทุกอิมาม ทั้งอิมามก่อนนี้และอิมามหลังจากนี้ คือ ทั้งอิมามที่มีก่อนและมีหลังจากท่านอิมามมูซา(อ) และในค่ำคืนนี้ อิมามมะฮฺดี(อ) ก็ร้องไห้ และจะร้องไห้แบบนี้เรื่อยๆและตลอดไป โดยเพราะใน 10 วันแรกของเดือนมุฮัรรอม

สำหรับก่อนหน้านี้ จะขออธิบายเพิ่มขึ้นไปอีกในเรื่อง“ซิกรุลลิลอาละมีน” เบื้องต้น การรำลึก การวางตน การปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง มาจากแบบอย่างของอะอิมมะฮฺ(อ)

ส่วนฮาดิษของอิมามริฎอ(อ) ที่ไม่ได้ยกตัวบทมา ที่ชัดกว่าว่า “ไม่เห็นแม้นแต่รอยยิ้ม เมื่อจันทร์เสี้ยวเดือนแห่งมุฮัรรอมมาถึง” ได้รับการยืนยันแล้ว ในรีวายัต รายงานโดยบรรดาศอฮาบะฮ์ในยุคของอิมามริฎอ(อ)ตั้งแต่วินาทีนั้น จนถึงวันอาชูรอ ไม่เคยมีใครเห็นรอยยิ้มของท่านอีกเลย

และเป็นที่ชัดเจน นี่คือ ฮาดิษมารยาทเบื้องต้นที่ว่า “มุฮัรรอม” คือ เดือนแห่งการไว้ทุกข์ ไว้อาลัยอย่างแท้จริง และมีรายงานจากบรรดาอะฮฺลุลเบต(อ)ทั้งหมด เพื่อเป็นแบบอย่างนั่นเอง

หมายเหตุ 🗄การใส่ชุดดำเพื่อไว้อาลัยในศาสนาอิสลาม

ประกอบเนื้อหาในมัจญลิซ อิมามฮูเซน(อ) ค่ำที่ ๑ มุฮัรรอม ๑๔๔๐(๑๙ กันยายน ๒๕๖๑)

● การใส่ชุดดำไว้อาลัย แก่บรรดาชุฮาดา ตามซุนนะฮ อะฮลุลบัยต์ และภรรยาท่านนบี

ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ) ให้สตรี สวมชุดดำ เพื่อไว้อาลัยแด่ ญะอฺฟัร อัฏฏอยยาร
‎لما أصيب جعفر قال رسول الله (صلي الله عليه و سلم) لأسماء: تسلبي ثلاثا

“เมื่อญะอฺฟัร เป็น ชะฮีด ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) ได้กล่าวแก่ อัสมาอฺ ภรรยาของ ญะอฺฟัร ว่า….
‎تسلبي ثلاثا
“จงสวมชุดดำไว้อาลัยสามวันเถิด”
อ้างอิง
‎-صحیح ابن حبان – کتاب الجنائز .. – فصل فی النیاحة و نحوها – ح 3227

● การสวมชุดดำของเหล่าสตรี เพื่อไว้อาลัยแด่ ชะฮีด ฮัมซะฮ์
อิบนิมันซูร กล่าวว่า….
‎و في حديث بنت أم سلمة: أنها بكت علي حمزه ثلاثة أيام و تسلبت
ท่านหญิงอุมมุซาลามะฮ์ ได้ร่ำไห้ และสวมชุดดำไว้อาลัย แด่ ท่านฮัมซะฮ์ เป็นเวลาสามวัน
อ้างอิง
‎-لسان العرب – حرف النون – نصا – ج 1، 473

● อิบนิซะการียา ได้นิยามความหมายของคำว่า ตัสลีบ ว่า
‎التي يموت زوجها أو حميمها، فتسلب عليه و تسلبت المرأة إذا أحدت.
หมายถึง เสื้อผ้าที่ใส่ไว้อาลัย เมื่อคนหนึ่งคนใดจากคู่ครอง หรือ คนใกล้ตัวของนางเสียชีวิต
‎-مقاییس اللغة – ج 3 ص 93

● การสวมชุดไว้อาลัยของเหล่าสตรี การจากไปของรอซูลุลลอฮ์
ฮัซซาน บิน ซาบิต ศอฮาบะฮ์ท่านหนึ่ง กล่าวว่า
‎يا أفضل الناس! إني كنت في نهر *** أصبحت منه كمثل المفرد الصادي
‎أمسي نساؤك عطلن البيوت فما *** يضربن فوق قفا ستر بأوتاد
‎مثل الرواهب يلبسن المسوح قد *** أيقن بالبؤس بعد النعمة البادي

“โอ้มนุษย์ผู้ประเสริฐที่สุด แท้จริงข้านี้แหวกว่ายอยู่ในสายน้ำ การจากไปของเขา ดั่งมนุษย์ผู้โดดเดี่ยว กระหาย
สตรีของท่านได้ปล่อยบ้านไว้ และตะปูก็ไม่ติดกับกำแพง และพวกนางก็หมดอาลัย ไม่อาจทำงานในบ้าน
เปรียบสตรีเหล่านั้น ดั่งแม่ชี ที่ทิ้งโลก นางเหล่านั้น สวมผ้าดำคลุมกาย
‎-صفحه 67 ديوان حسان بن ثابت

● การสวมชุดดำของอิมามฮะซัน เพื่อไว้อาลัยแด่การเป็นชะฮีดของ อมีรุลมุอฺมีนีน อาลี (อ)
อบี ระซีน ได้รายงานรีวายะฮ์ โดยเขากล่าวว่า ภายหลังจากการจากไปของ อิมาม อาลี(อ)
‎خطبنا الحسن بن علي و عليه ثياب سود و عمامة سوداء.
ฮะซัน บิน อาลี(อ) ได้กล่าวคุตบะฮ์ ให้เราฟัง ในสภาพที่เขาสวมชุด และอามามะฮ์ดำคลุมกาย
อ้างอิง
‎-سیر اعلام النبلاء – ج 3 ص 267

● การสวมชุดของเหล่าสตรีเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อไว้อาลัย แด่การเป็นชะฮีดของอิมามฮูเซน(อ)
‎حد نساء الحسن بن علي سنة
อ้างอิง
‎-المستدرک علی الصحیحین – کتاب معرفة الصحابة.. – ذکر سنة وفاة الحسن (ع) – ح 4857

اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم