คุฏบะฮ์อีดฟิตร์ ฮ.ศ.1435′ ตอนที่ 2
โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وآلِ مُحَمَّدٍ وعَجِّلْ فَرَجَهُمْ
“الله أكبر.. الله أكبر.. لا إله إلاّ الله الله أكبر ولله الحمد الْحَمْدُ للهِ عَلى ما هَدانا
وَلَهُ الشُّكْرُ على ما اَوْلانا”
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وآلِ مُحَمَّدٍ وعَجِّلْ فَرَجَهُمْ
♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔ ความจริงแล้ว ถ้าเราเข้าไปศึกษาในด้านจิตวิทยา นี่ คือ ความเกรงกลัวต่ออัลลอฮ(ซบ)อย่างสูงสุดที่กำลังถูกฝึกฝนในเดือนนี้ เพียงแต่ต้องใช้กลไกปัจจัยอื่นช่วยมนุษย์ก่อน เพื่อให้มนุษย์รู้จักความเกรงกลัว
การที่เราไม่ให้น้ำผ่านไปยังลำคอเรา แม้แต่เพียงหยดเดียวในขณะที่เราบ้วนปาก สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องรู้ คือ เรากำลังฝึกความเกรงกลัวอย่างแท้จริง ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ว่า เรากลัวน้ำจะเข้าคอ จริงๆแล้วอย่าไปคิดว่าเราจะกลัวน้ำเข้าคอ แต่เรากลัวจะผิดคำสั่งของพระองค์ต่างหาก
ที่ได้กล่าวมานี้ แค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ยกแค่ 1 จิตวิญญาณที่มันเกิดขึ้นมาในเดือนรอมฎอน หลังจากนั้นมันจะพัฒนา ความกลัวนี้มันจะค่อยๆพัฒนา คือ เมื่อเกิดความกลัวต่อพระองค์ไม่ว่าเรื่องหนึ่งเรื่องใด ความกลัวอันนี้จะถูกพัฒนาไปสู่เรื่องอื่นๆด้วย
เราสังเกตให้ดีในเดือนรอมฎอน แม้แต่เรื่องรถเราก็เกือบจะไม่อยากจะพูดแล้ว นอกจากคนที่โชคร้ายจริง ที่เขาคิดว่าเดือนรอมฎอนกับเดือนไม่รอมฏอนไม่แตกต่างสำหรับเขา ถ้าเขายังมีพฤติกรรมในการนินทาคน ในการอะไรก็แล้วแต่ นั่นคือบุคคลผู้โชคร้าย จงฝึกออกห่างจากสิ่งที่ไร้สาระต่างๆ
ดังนั้น หลังจากเดือนรอมฎอนผ่านไปแล้ว มนุษย์จะสัมผัสได้ เราจะสัมผัสอย่างหนึ่งได้ว่า เราได้อะไรบ้างในเดือนรอมฎอน เรากลายเป็นคนที่อ่านกุรอานมากขึ้นใน 1 เดือน ตลอดทั้งเดือนนี้เรากลายเป็นคนที่พูดน้อยในสิ่งที่ไร้สาระน้อยลง เรากลายเป็นคนที่ระมัดระวังทุกเรื่อง
กลับมาเรื่อง ที่เราต้องระวังน้ำไม่ให้เข้าคอ ก็เช่นเดียวกัน เรามาปฏิบัติกับวิถีชีวิตอื่นๆในชีวิตของเราด้วย จะพูดอะไรจะทำอะไรจะคิดอะไรนั้น ให้มีความเกรงกลัวต่อพระองค์
ไม่ว่าจะดึกสักขนาดไหน? ง่วงสักขนาดไหน ???ถึงเวลาเรา จะต้องตื่นขึ้นมา แต่ ขอ….อย่าให้เป็นการตื่นขึ้นมาเพื่อกินข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าตื่นขึ้นมากินข้าวเพียงอย่างเดียวก็ดี เพราะมนุษย์ตื่นขึ้นมาในยามดึกเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์
ซึ่งเราจะพบได้ก็ในเดือนรอมฎอนเท่านั้น ที่คนส่วนมากทำได้ เพราะในเดือนอื่นๆนั้นจะต้องเป็นคนพิเศษ จะต้องเป็นเอาลียาอฺของอัลลอฮฺ แต่ถึงไม่ใช่เอาลียาของอัลลอฮฺ ก็เป็นคนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษ คือ ได้รับการยก เทิดขึ้นมาเป็นพิเศษ แต่ในเดือนรอมฎอนทุกคนสามารถทำได้ หมายถึง คนที่มีอิหม่านขั้นต้นคนที่มีตักวาถือศีลอด
สำหรับคนที่ไม่ตื่นมากินข้าว คนที่ไม่บวช(ไม่ถือศีลอด)เราไม่พูดถึง
ฉะนั้น เดือนรอมฎอนทั้งเดือน ถ้าเราพินิจพิจารณา เราคือผู้ที่คัดเลือก เราคือผู้ที่ถูกคัดเลือก เราคือ บุคคลที่ได้รับฮิดายัต
“الْحَمْدُ للهِ عَلى ما هَدانا وَلَهُ الشُّكْرُ” ขอขอบคุณต่อพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ที่เราคือ กลุ่มคน ผู้ที่ถูกเลือกในเดือนนี้
“على ما اَوْلانا” คือ เราเป็นพวกแรก เราคือ ชนชั้นแถวแรกที่อัลลอฮฺ(ซบ)ให้เรานั้นสูงขึ้น พระองค์ให้เรานั้นมีเกียรติกว่าคนอื่น
ในเดือนรอมฎอนนั้น เราคือ ผู้คนที่ได้ภักดีต่อพระองค์ เราคือ ผู้ที่ถูกเลือก เพราะถ้าเราไม่ถูกเลือก เราจะไม่เป็นผู้ที่เคารพภักดีต่อพระองค์ในเดือนนี้
“ เอาลา “ คือ ถูกเลือกก่อน ถูกคัดสรร ก่อน ทำให้ดีกว่าคนอื่นก่อน เหนือกว่าผู้อื่นก่อน
ดังนั้น จงรักษาสิ่งต่างๆเหล่านี้ไว้ให้ได้ 11 เดือนนี้ ไม่ใช่ 11 เดือนธรรมดา เป็น 11 เดือนที่ชัยฏอนก็กลับมาแล้ว ประตูนรกก็เปิดแล้ว ประตูสวรรค์ก็ปิด ถ้าจะเข้าต้องใช้พลังพอสมควรใน 11 เดือนนี้ แต่ในเดือนรอมฎอนประตูสวรรค์เปิด เข้าได้ง่ายไม่ต้องใช่พลังอะไรใดๆ ทำความดีเราก็เคยได้ชะฟาอัตสวรรค์แห่งเดือนรอมฎอน
หนึ่งในความหมายของสวรรค์ง่ายๆ ที่พี่น้องสัมผัสได้ คือ เมื่อมีความสุขในการทำอามัลอิบาดัต นั่นคือ สวรรค์
การทำสวรรค์ แล้วแต่ขั้นตอนที่เบาบางที่สุด ส่วนขั้นตอนเข้มข้นนั้น ทุกอย่างปรากฏให้เห็นได้ทั้งหมด แต่หนึ่งในความหมายของการสัมผัสสวรรค์ คือ…
ถ้าเรามีความสุขในการทำอามัลอิบาดัต ถ้าเรามีความสุขในการทำดี ไม่ว่าความดีอะไรก็แล้วแต่ นั่นหมายถึง มนุษย์กำลังสัมผัสสวรรค์ของเขา
ถ้าเรามีความสุขในการละหมาดมาก นั่นหมายถึง เรากำลังสัมผัสสวรรค์อยู่
ถ้าเรามีความสุขในการอ่านอัล-กุรอาน เรากำลังสัมผัสสวรรค์อยู่
ถ้าเรามีความสุขในการบริจาค เรากำลังสัมผัสสวรรค์อยู่
ฉะนั้น ทุกความดีที่มนุษย์ทำอย่างมีความสุข นั่นเขากำลังสัมผัสสวรรค์อยู่ เขากำลังเข้าใกล้สวรรค์
ถ้าทำไปอีกเขาก็จะยิ่งเข้าใกล้ ถ้าทำไปอีกก็ยิ่งเข้าใกล้ไปอีก และถ้าทำมากยิ่งขึ้น สวรรค์จริงๆแบบสมบูรณ์ก็จะปรากฏตัวให้เขาได้เห็น
ซึ่งเรามีริวายัตฮะดิษยืนยันเป็นจำนวนมาก ว่า สวรรค์นรกสัมผัสกันตั้งแต่ในโลกนี้ รับรู้กันตั้งแต่ในโลกนี้ สวรรค์นรกบางส่วนให้กันตั้งแต่ในโลกนี้
ดังนั้น เดือนรอมฎอน คือ การดิ้นรนต่อสู้ในการสัมผัส การดิ้นรนต่อสู้ในการรับรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ แต่เดือนรอมฎอนไม่ใช่มีแต่เพียงเรื่องเหล่านี้เพียงเท่านั้น เดือนรอมฎอนไม่มีแต่เรื่องอามัลอิบาดัตส่วนตัว ขอบอกว่าไม่ใช่ !!!
ในเดือนรอมฎอน มากกว่าครึ่งของดุอาอฺ คือ ดุอาอฺที่เกี่ยวกับเรื่องสังคม ดุอาอฺที่เกี่ยวกับการรับผิดชอบศาสนา
ฉะนั้น สูงสุดของดุอาอฺในเดือนรอมฎอน คือ การขอให้เรานั้นได้ตายในหนทางของอัลลอฮฺ(ซบ.)
ทุกดุอาอฺ ดุอาอฺประจำวันที่อ่านทุกวัน “اَنْ تَقْتُلَ بي اَعْداءَكَ” ทุกเวลาหลังนมาซในเดือนรอมฎอน
มีดุอาอฺบทหนึ่ง เป็นดุอาอฺอ่านหลังนมาซมักริบ “ ขอให้เราถูกฆ่าตายในหนทางของอัลลอฮฺ “ดุอาอฺ
ในเดือนรอมฎอนเกินกว่าครึ่งหนึ่งมีดุอาอฺจำนวนมาก นอกเหนือจากดุอาอฺหลังนมาซฟัรดูที่ชี้ให้เห็นว่า เดือนรอมฎอน คือ เดือนแห่งการสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบสังคม โดยเฉพาะดุอาอฺที่อ่านหลังนมาซฟัรฎู
วันละ 5 เวลา
เราอาจจะไม่มีเวลาอธิบายอย่างละเอียด เดือนแห่งการนึกถึงมวลมนุษย์ชาติทั้งหมด
“اَللّـهُمَّ اَدْخِلْ عَلى اَهْلِ الْقُبُورِ السُّرُورَ” ให้เรานึก ตั้งแต่คนที่ตายไปแล้ว =” ยาอัลลอฮฺโปรดส่งความสุขไปยังชาวกุโบรทั้งหมด”
“اَللّـهُمَّ اَغْنِ كُلَّ فَقير” = ยาอัลลอฮฺขอพระองค์ทำให้คนที่ฟากีร(ยากจน)ทุกคน จงร่ำรวย
แปลง่ายๆ หมายความว่าอย่างไร ให้เรายกมือพูดเพียงแต่ปากเพียงอย่างเดียวหรือ??
ขอให้พระองค์ทรงทำ “اَللّـهُمَّ اَغْنِ كُلَّ فَقير”
ดุอาอฺก็เป็นอีกบทบัญญัติหนึ่งในศาสนา เป็นบทบัญญัติทางอ้อมว่า ชีวิตของคนที่ถือศีลอด เดือนนี้คือ การสร้างจิตวิญญาณแห่งการมีจิตสำนึกสาธารณะ ให้มีจิตสำนึกถึงสังคม ให้นึกถึงคนที่อยู่ในกุโบร ให้นึกถึงคนยากจน ให้นึกถึงคนขัดสน
“اَللّـهُمَّ اكْسُ كُلَّ عُرْيان” = “ยาอัลลฮฺขอพระองค์ทรงให้อาภรณ์แก่บรรดาบุคคลที่ไม่มีอาภรณ์ที่จะสวมใส่”
จนกระทั่งถือ “اَللّـهُمَّ اَصْلِحْ كُلَّ فاسِد مِنْ اُمُورِ الْمُسْلِمينَ” ขอทุกวันหลังนมาซ = ยาอัลลอฮฺ “ฟาซิด”ต่างๆที่เกิดขึ้นมาในมวลมุสลิม ในมวลหมู่อิสลามขอพระองค์ทรงอิสละห์มัน ไม่ได้แปลว่า รักอัลลอฮฺเฉยๆ เรามีหน้าที่ที่จะต้องอิสละห์
ที่เราขอนั่นคือ ขอพระองค์ทรงประทานความสำเร็จในการอิสละห์ ในการปฏิรูปปฏิวัติ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพต่างๆของมวลมุสลิม
“اَللّـهُمَّ رُدَّ كُلَّ غَريب” = ยาอัลลอฮฺผู้พลัดถิ่นต่างๆ ขอให้เขาได้กลับไป
เรารู้ไหม?? ว่าเรากำลังขออะไร
รู้ไหม??ว่าในโลกนี้มีมุสลิมพลัดถิ่นอยู่ อยู่ที่ไหนบ้างในโลกนี้??
มีมุสลิมจำนวนมากพลัดถิ่นและกำลังที่จะเป็นผู้พลัดถิ่นอีกจำนวนมาก “رُدَّ كُلَّ غَريب” “فُكَّ كُلَّ اَسير”ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน
ฉะนั้นในเดือนรอมฏอน ไม่มีใครมีสิทธิ์ คิดว่าเป็นเดือนของการทำอิบาดัตส่วนตัว ก้มหน้าก้มตาอ่านอัลกุรอาน ก้มหน้าก้มตาสูญูด นั้นไม่ใช่ มากว่าครึ่งหนึ่งในดุอาอฺ
ผมขอใช้คำว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของดุอาอฺในเดือนรอมฎอนนั้นสร้างจิตวิญญาณ สร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบสังคม ในการรับผิดชอบศาสนา สร้างจิตสำนึกถึงขั้นสูงสุดว่า ให้ขอดุอาอฺว่า ให้เรากลายเป็นชะฮีด นั่นอีกสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในเดือนรอมฎอน เพราะจิตสำนึกอันนี้นั้นยากกว่า
ขอยืนยัน การนมาซง่ายกว่าการบริจาค
ขอยืนยัน “ ถือบวชง่ายกว่าการบริจาคช่วยเหลือพี่น้อง”
ขอยืนยัน “นมาซสักแสนรอกาอัตง่ายกว่าการออกไปตายในหนทางของพระองค์ “
เราจะเห็นมนุษย์ส่วนมาก พยายามที่จะบิดเบือนศาสนาให้เป็นแค่เรื่องการทำอามัลอิบาดัต เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องของสังคมเป็นสิ่งที่ปฏิบัติยากกว่าอิบาดัตอื่น แต่เขารู้ว่านั่นก็คือ อิบาดัตและบางครั้งสูงส่งกว่าอิบาดัตอันนี้อีก
บางครั้งอิบาดัตที่ไร้ความสำคัญกำลังอาจจะไม่มีค่าใดๆเลยในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซบ.) ไม่ใช่เพียงแต่ไม่มีค่าและไม่ได้รางวัล ถึงขั้นถูกสาปแช่ง
“ فَوَيْلٌ لِّلْمُصَلِّينَ”
ความวิบัติจงมีแด่ผู้นมาซ ผู้นมาซแบบไหน??
คำตอบ คือ ผู้นมาซที่ “وَيَمْنَعُونَ الْمَاعُونَ” ผู้นมาซที่ห้ามการช่วยเหลือ ห้ามตัวเอง ผู้นมาซที่ปฏิเสธการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
“ يَدُعُّ الْيَتِيمَ” ผู้นมาซที่ทอดทิ้งเด็กกำพร้า ความวิบัติจงมีแต่ผู้นมาซแบบนั้น
ผู้นมาซที่ทอดทิ้งคนยากจน ความวิบัติจงมีแต่ผู้นมาซแบบนั้น คุฏบะฮ์อีดฟิตร์ ฮ.ศ.1435′ ตอนที่ 4
โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وآلِ مُحَمَّدٍ وعَجِّلْ فَرَجَهُمْ
“الله أكبر.. الله أكبر.. لا إله إلاّ الله الله أكبر ولله الحمد الْحَمْدُ للهِ عَلى ما هَدانا
وَلَهُ الشُّكْرُ على ما اَوْلانا”
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وآلِ مُحَمَّدٍ وعَجِّلْ فَرَجَهُمْ
การนมาซเพียงเพื่อให้เสร็จ นมาซเฉยๆง่ายๆ นมาซแล้วไม่บริจาค นมาซแล้วบริจาคยาก นมาซแล้วช่วยเหลือยาก ยังไม่ถือว่าเป็นการนมาซที่ถึงเป้าหมาย
ดังนั้น เราต้องนมาซแล้ว มองเห็นว่าทรัพย์สินของตัวเอง คือ ทรัพย์สินของทุกคน แต่ไม่ใช่ถึงขั้นว่า ต้องเอาไปแจกหมดทุกคน ไม่ใช่!!! ผู้นมาซต้องให้การช่วยเหลือตามความจริง ตามความจำเป็นของมัน มิฉะนั้นจำนวนมากของคำสั่งให้นมาซที่มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานจะไม่ลงควบคู่มากับ
“وَأَقِيمُواْ الصَّلاَةَ وَآتُواْ الزَّكَاةَ” หรืออัลกุรอานจะไม่ลงประกาศมาอย่างชัดแจ้งว่า
“لَّيْسَ الْبِرَّ أَن تُوَلُّوا وُجُوهَكُمْ” หรือ “لَن تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ”
อัล-กุรอานจำนวนมากลงมาปฏิเสธว่า…อย่าสรุปว่า ความดีแค่การนมาซ หรือการถือศีลอด
อัลลอฮฺ(ซบ.)บอกว่าความดีที่จะพิสูจน์ว่า การนมาซ การถือศีลอด การอ่านอัลกุรอาน เหล่านี้จะพิสูจน์ได้ก็ต่อเมื่ออ่านโองการในคัมภีร์อัลกรุอาน ซึ่งแต่ละโองการจากที่เราอ่านนั้น ประสบความสำเร็จจริงหรือไม่จริง ต้องดูที่มนุษย์นั้นบริจาคไหม??
มีการบริจาคในสิ่งที่เจ้ารักไหม??
มีการช่วยเหลือไหม??
มีการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ(ซบ.)ไหม??
สิ่งนี้ยาก ยากกว่าการอดข้าว ยากกว่าก้มๆเงยๆ
ดังนั้น จิตวิญญาณเช่นนี้ จึงถูกสอนและถูกปลูกฝังในเดือนรอมฎอนอีกเช่นกัน
“اَللّـهُمَّ فُكَّ كُلَّ اَسير” ยาอัลลอฮฺ(ซบ.) ขอให้เชลยศึกทั้งหมดได้รับการปลดปล่อย
เราจะต้องรู้ก่อนว่าในโลกอิสลาม ณ วันนี้มีเชลยศึกอยู่ที่ไหนบ้าง??
มีมุสลิมที่ใดบ้าง??ในโลกที่เป็นเชลยศึก
เราจะได้คิดว่า ทำไมอัลลอฮฺ(ซบ.) จึงใช้ให้เราอ่านดุอาอฺแบบนี้
اللّـهُمَّ اَدْخِلْ عَلى اَهْلِ الْقُبُورِ السُّرُورَ }}
، اَللّـهُمَّ اَغْنِ كُلَّ فَقير
، اَللّـهُمَّ اَشْبِعْ كُلَّ جائِع
، اَللّـهُمَّ اكْسُ كُلَّ عُرْيان
،اَللّـهُمَّ اقْضِ دَيْنَ كُلِّ مَدين
،اَللّـهُمَّ فَرِّجْ عَنْ كُلِّ مَكْرُوب
، اَللّـهُمَّ رُدَّ كُلَّ غَريب
، اَللّـهُمَّ فُكَّ كُلَّ اَسير
اَللّـهُمَّ اَصْلِحْ كُلَّ فاسِد مِنْ اُمُورِ الْمُسْلِمينَ
، اَللّـهُمَّ اشْفِ كُلَّ مَريض
، اللّهُمَّ سُدَّ فَقْرَنا بِغِناكَ
، اَللّـهُمَّ غَيِّر سُوءَ حالِنا بِحُسْنِ حالِكَ
، اَللّـهُمَّ اقْضِ عَنَّا الدَّيْنَ وَاَغْنِنا مِنَ الْفَقْرِ
، اِنَّكَ عَلى كُلِّ شَيء قَديرٌ
ความหมาย
” โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานความปิติยินดี และความสุขแก่ชาวกุบูรทั้งหลาย
โอ้อัลลอฮฺ โปรดทำให้คนจนทุกคนมั่งคั่ง
โอ้อัลลอฮฺ โปรดทำให้ผู้หิวโหยทุกคนอิ่มหนำสำราญ
โอ้อัลลอฮฺ โปรดทำให้ผู้เปลือยเปล่ามีอาภรณ์สวมใส่
โอ้อัลลอฮฺ โปรดปลดเปลื้องหนี้สินแก่ผู้ที่มีหนี้สินทุกคน
โอ้อัลลอฮฺ โปรดแก้ไขอุปสรรคและปัญหาของทุกคน
โอ้อัลลอฮฺ โปรดส่งคนแปลกหน้าได้กลับยังถิ่นฐาน
โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้อิสรภาพ แก่เชลยทุกคน
โอ้อัลลอฮฺ โปรดแก้ไขความเสียหายในทุกกิจการของมุสลิม
โอ้อัลลอฮฺ โปรรักษาเยียวยาผู้ป่วยทุกคนให้หาย
โอ้อัลลอฮฺ โปรดขจัดความยากจนของเรา ด้วยความมั่งคั่งของพระองค์
โอ้อัลลอฮฺ โปรดแก้ไขสภาพที่เลวร้ายของเราด้วยความดีของพระองค์
โอ้อัลลอฮฺ โปรดชำระหนี้สินให้แก่เรา และโปรดเปลี่ยนความยากจนของเราเป็นความมั่งมี
แท้จริง พระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง “
“رُدَّ كُلَّ غَريب” “فُكَّ كُلَّ اَسير” “اَللّـهُمَّ اَصْلِحْ كُلَّ فاسِد مِنْ اُمُورِ الْمُسْلِمينَ”
ความหมาย โปรดส่งคนแปลกหน้ากลับถิ่นฐาน โปรดให้อิสรภาพแก่เชลยทุกคน โอ้อัลลอฮฺ โปรดแก้ไขความเสียหายในทุกกิจการของมุสลิม
ยาอัลลอฮฺ( فاسِد ฟาซิด) คือ ความเสียหายต่างๆที่กำลังเกิดในมวลมุสลิม
ยาอัลลอฮ ขอให้ได้อิสละห์ ขอให้ได้เปลี่ยนแปลง ขอให้ได้ปฏิรูปในเดือนรอมฎอนด้วยดุอาอฺต่างๆเหล่านี้ ถ้าจิตวิญญาณอันนี้เกิดขึ้น เราก็จะได้รับรางวัลอันนี้อีกเช่นกัน
ดังนั้น “อีด”จึงเป็น “อีด”ที่แท้จริงของมวลมนุษย์ เพราะรอมฎอน คือ การสร้าง 2 อย่าง
1.สร้างจิตวิญญาณเพื่อตัวเอง
2.สร้างจิตวิญญาณเพื่อสังคม
หมายความว่า อีดที่แท้จริงของมวลมนุษย์ คือ การสร้างตัวเอง จิตวิญญาณแห่งการทำอามัลอิบาดัตอะไรทั้งหมด พูดกันให้เข้าใจง่าย ก็คือเพื่อตัวเองด้วย แล้วก็จะต้องสร้างจิตวิญญาณเพื่อสังคมให้เกิดขึ้น
การสร้างจิตวิญญาณเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นไปถึงขั้นไหน??
คำตอบ คือ เราต้องสร้างอามัลอีบาดัตนี้ถึงขั้นที่มนุษย์พร้อมที่จะพลีในหนทางของอัลลอฮฺ(ซบ.) ด้วยชีวิต ด้วยทรัพย์สินของพระองค์
(تحت راية النبي)“ตะฮฺตะรอยาตัน นาบี”
ขอให้ได้อยู่ใต้ธงนบี
ขอให้ได้ต่อสู้ใต้ธงของบรรดานบี
ขอให้ได้ต่อสู้กับบรรดาศัตรูของท่านนบี
ขอให้ได้ฆ่าหรือถูกฆ่าด้วยน้ำมือของศัตรูของอัลลอฮฺศัตรูของนบี
นี่คือ ดุอาอฺจำนวนหนึ่งที่อยู่ในเดือนรอมฎอน เมื่ออิดุลฟิตรีมาถึง จึงเป็นการสรุปสิ่งต่างๆเหล่านี้ว่า เราได้หรือไม่ได้ เราประสบความสำเร็จ หรือไม่ประสบความสำเร็จ
มีดุอาอฺหนึ่ง เมื่อท่านอิม่ามบาเก็ร(อ)ออกมาจากบ้านเพื่อที่จะมานมาซในวันอีด เป็นดุอาอฺที่ท่านอิมามบาเก็ร(อ)อ่านและสอน
ริวายัตได้กล่าวว่า ดุอาอฺหนึ่งที่ท่านอิมามอ่านแล้วสอนให้ทุกคนอ่านก่อน ระหว่างออกจากบ้านของท่านมาเพื่อที่จะมานมาซในวันอีด คือ
اَللّهُمَّ إنّا نَرغَبُ إلِیكَ فِی دُولَهٍ كَریمَهٍ تُعِزُّ بِهَا الإسلامَ وَ اَهلَه وَ تُذِلُّ بِهَا النِّفاقَ وَ اَهلَه وَ تَجعَلُنَا فِیها مِمَّنْ تَنتَصِرُ لِدینِكَ وَ لا تَستَبدِلْ بِنَا غِیرَنا
ดุอาอฺนี้คล้ายๆกับดุอาอฺบทหนึ่งที่มีอยู่ในเดือนรอมฎอน แตกต่างกันเพียงท่อนสุดท้าย ดุอาอฺอิฟติตะฮ์ซึ่งเป็นมุสตะฮับให้อ่านในเวลากลางคืนหลังจากเวลาละศีลอด ซึ่งมีคล้ายๆกับดุอาอฺอันนี้ในประโยคต้นๆ
ในวันอีด วันนี้จึงเป็น ” วันที่จะต้องสำนึก วันที่จะต้องเรียกหา ”
ท่านอิมามบาเก็ร(อ.)อ่านดุอาอฺเรียกหาสิ่งใด
“اللّهُمَّ إِنا نَرْغَبُ إِلَيْكَ فِي دَوْلَةٍ” = ยาอัลลอฮฺเราหวัง
เราหวัง “نَرْغَبُ” คือ ความหวังที่สูงส่ง ความหวังที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ความหวังที่เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์
ใช้คำว่า “نَرْغَبُ” หวังแบบมีพลังแปลง่ายๆ คือ….
ยาอัลลอฮฺ!!ในอีดวันนี้ที่กำลังจะเดินไปนมาซอีด วันที่พี่น้องมวลมุสลิมนับล้านๆจะมารวมกันนมาซ ในวันนี้นั้น
“نَرْغَبُ إِلَيْكَ فِي دَوْلَةٍ كَرِيمَةٍ” หวังถึงรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลที่ “การีม”
รัฐบาลที่ยิ่งใหญ่ รัฐบาลอันทรงเกียรติ
รัฐบาลทรงเกียรตินี้ เป็นรัฐบาลที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้กับมวลมนุษยชาติ เป็นรัฐบาลที่มีแต่ความยุติธรรม เป็นรัฐบาลที่ไม่มีการกดขี่ เป็นรัฐบาลที่คนยากจน คนทุกยาก คนถูกทอดทิ้ง คนถูกกดขี่ได้รับการดูแลได้รับการเทิดเกียรติ “دَوْلَةٍ كَرِيمَةٍ”
ซึ่งแน่นอนรัฐบาลนี้ หมายถึง รัฐบาลของอิมามมะฮ์ดี(อ)เท่านั้นไม่มีรัฐบาลอื่น เพราะสิ่งที่หวังต่างๆทั้งหมดเหล่านี้ ที่จะเกิดขึ้นในรัฐของรัฐบาลของอิมามมะฮ์ดี(อ)เท่านั้น
ทั้งกุรอานทั้งฮาดิษยืนยันสิ่งนี้ “دَوْلَةٍ كَرِيمَةٍ” อย่างสมบูรณ์ ว่า รัฐบาลอิสลามเคยมีในสมัยรอซูลลุลลอฮฺ สมัยอิมามอาลี(อ.) แต่ “دَوْلَةٍ كَرِيمَةٍ” รัฐบาลที่เปี่ยมสมบูรณ์ด้วยปรัชญาทั้งหมดของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน รัฐบาลที่เปี่ยมอย่างสมบูรณ์ด้วยพระประสงค์ต่างๆของอัลลอฮฺ(ซบ.) มีรัฐบาลเดียวเท่านั้นคือรัฐบาลของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ)
♔•●✺ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ✺●•♔
♔•●✺ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ✺●•♔
♔•●✺ اللهم صل علی محمد وآل محمد وعجل فرجهم ✺●•♔
(โปรดติดตามตอนที่ 3)
♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔
ถอดบทความโดย ซัยหนับ บินตี นาบาวี และ ฮาซานะฮ์ บินตี อับดุลฆอนี
คุฏบะฮ์อีดฟิตร์ ฮ.ศ.1435′ โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557
ณ มัสยิดรูฮุลลอฮ์ จ.นครศรีธรรมราช
♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔♔