สาบานพิสุทธิ์ (ตอนที่ 2)

1385

พฤติกรรมของวะฮาบี

ในทุกยุคทุกสมัยจะเห็นพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์เช่นนี้อยู่เสมอๆ เริ่มมีข้อกล่าวหา ข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จซึ่งพวกเขารู้ว่าเป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จเขาก็กล่าวหาเพื่อจะเอาชนะ ไม่ใช่เป็นการเอาชนะด้วยเหตุและผล ก็เหมือนกับพวกวะฮาบีในยุคนี้

เบื้องต้นก็เชิญชีอะฮฺมาถก พอเริ่มมีการยกหลักฐาน ฮาดิษ ก็เริ่มมีคำถามว่าทำไมชีอะฮฺด่าศอฮาบะฮฺ จากนั้นก็เริ่มกล่าวหาว่าชีอะฮฺไม่เชื่ออัลกุรอาน พวกคุณเชื่อกุรอานอีกเล่มหนึ่ง พวกคุณเชื่อว่าอาลีเป็นพระเจ้า ซึ่งก็อยู่ในรูปลักษณะเดียวกันกับคริสต์เตียนในวันนั้น

ชาวคริสต์เตียนก็เริ่มกล่าวหาในลักษณะนี้จนกระทั่งในระหว่างการถกและระหว่างการพูดได้กล่าวหาว่าท่านนบีมุฮัมมัด (ซล)เป็นผู้โกหก เมื่อมาถึงจุดนี้อัลลอฮฺ(ซบ)ก็มีคำสั่งให้หยุดการถก การใช้เหตุและผล เพราะเริ่มไม่ใช้เหตุและผลแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งสองก็ยังมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือเชื่อในอัลลอฮฺ ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซบ)จึงได้ประทานโองการลงมา

ในบางครั้งการพิสูจน์สัจธรรมอาจต้องใช้อีกวิธีหนึ่งดั้งนั้นการมุบาฮะละฮฺก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการพิสูจน์สัจธรรม….!!!

บทบัญญัติว่าด้วย การ “ลิอาน” ในนิติศาสตร์อิสลาม

ในหลักการของ “ฟิกฮฺ”ก็มีการพิสูจน์สัจธรรมด้วยวิธีนี้ มีบทหนึ่งว่าด้วยบท”ลีอาน”คือการสาปแช่งซึ่งกันและกัน เป็น ฮุกุ่มของ”ฟิกฮฺ” เมื่อสามีภรรยามีการกล่าวหาซึ่งกันและกัน เป็นการกล่าวหาที่รุนแรงและการกล่าวหานั้นไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐาน เช่นสามีกล่าวหาว่าภรรยาว่ามีชู้ ซึ่งเป็นข้อกล่าวที่ขาดหลักฐาน ถ้าพิสูจน์ไม่ได้สามีต้องเป็นผู้ที่ถูกลงโทษ ถ้าพิสูจน์ได้ภรรยาต้องเป็นผู้ที่ถูกลงโทษ เมื่อเป็นข้อกล่าวหาที่มาจากสามีก็จะไม่เป็นการลงโทษภรรยาโดยทันที หรือลงโทษสามีโดยทันที อิสลามมีทางออกให้อีกหนึ่งประตู แต่ถ้าเป็นข้อกล่าวในลักษณะทั่วไป เมื่อไปกล่าวหาว่าใครทำซินาและพิสูจน์ไม่ได้เขาจะต้องถูกเฆี่ยนถึงแปดสิบที

ในภาษาปัจจุบันนี้คือเมื่อไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ต้องใช้หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือหลักฐานทางจิตวิญญาณให้สองคนทำการ “ลีอาน” ทำการสาปแช่งซึ่งกันและกัน สาบานสาปแช่งคนละห้าครั้ง ภรรยาก็ต้องสาบานสาปแช่งว่า “ถ้าฉันโกหกขอให้การสาปแช่งมีมายังฉัน” ส่วนสามีก็จะต้องพูดว่า “ ถ้านางพูดจริง ขอให้การสาปแช่งนั้นมีมายังฉัน” ทั้งสองจะต้องอ่านคำสาปแช่งนี้คนละห้าครั้ง เมื่อกล่าวครบห้าครั้งแล้วทั้งสองก็จะพ้นโทษ สามีก็ไม่ถูกลงโทษด้วยข้อหาที่กล่าวหาภรรยา ภรรยาก็ไม่ถูกลงโทษตามข้อกล่าวของสามี แต่ถ้าใครไม่กล้าสาบานสาปแช่งครบห้าครั้ง ฝ่ายที่ไม่กล้าสาบานก็จะต้องถูกลงโทษ….!!

ดั้งนั้นการมุบาฮะละฮฺเป็นลักษณะหนึ่งในการพิสูจน์สัจธรรมในอิสลาม และอาเล็มอุลามาอฺก็บอกว่าไม่ใช่เฉพาะของ บรรดาอิมามมะอฺซูมและบรรดานบีเท่านั้น ผู้ศรัทธาทั่วๆไปก็สามารถใช้วิธีนี้ในการพิสูจน์สัจธรรมได้ในบางเรื่อง บางกรณี แม้แต่เรื่องที่เรียกว่า “ลีอาน”

ลีอานก็คือการสาปแช่ง ส่วนการมุบาฮะละฮฺนั้นในด้านผิวเผินอาจจะดูว่าเบาบางกว่าการ “ลีอาน” แต่จริงๆแล้วเนื้อหาหรือฮากีกัต(แก่นแท้)ของมันนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน

มูลเหตุของการประทานโองการมุบาฮะละฮฺ

เมื่อชาวคริสต์เตียนที่เบื้องต้นตั้งใจว่าจะถกด้วยเหตุและผลแต่เมื่อพวกเขาหลุดจากเหตุและผล อัลลอฮฺ(ซบ)ทรงรู้แล้วว่าการพิสูจน์สัจธรรมด้วยวิธีนี้นั้นไม่มีประโยชน์อีกต่อไปแล้ว ก็ได้ประทานโองการนี้ลงมา

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

ความว่า “ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้าในเรื่องของเขา (อีซา) ภายหลังจากที่ความรู้ได้มายังเจ้าแล้ว เจ้าก็จงกล่าว (กับพวกเขา) เถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราจะเรียกลูกๆ ของเรา (ฮาซันและฮุเซน) และลูกๆ ของพวกท่าน และเรียกบรรดาสตรีของเรา (ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ)และบรรดาสตรีของพวกท่าน และตัวตนของเรา(ท่านอิมามอะลี) และตัวตนของพวกท่านมา แล้วเราก็จะวิงวอน โดยขอให้การสาปแช่งของอัลลอฮฺจงประสบแก่บรรดาผู้มดเท็จ

(อัลกุรอาน ซูเราะหฺ อาลิอิมรอน โองการที่ 61)

อรรถาธิบาย

โองการเริ่มต้น ว่า “ดั้งนั้นใครก็ตามที่ถกเถียงกับเจ้า” ต้องการหลักฐานจากเจ้าในเรื่องนั้น หมายถึงเรื่องของนบีอีซา(อ) ในเรื่องการพิสูจน์การเป็นนบีองค์สุดท้ายของท่านนบีมุฮัมมัด(ซบ)นั้น การเป็นนบีองค์สุดท้ายตามที่ท่านนบีอีซา(อ)ได้พยากรณ์ไว้ เมื่อขัดแย้งกัน ซึ่งเจ้าก็รู้ดีว่าเจ้าไม่ได้เป็นคนโกหก เจ้าเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ เจ้ารู้ดีทุกอย่าง เจ้ารู้อย่างสมบรูณ์ แต่พวกเขาก็ยังถกเถียงในลักษณะนี้แล้ว ดั้งนั้นจงกล่าวกับพวกเขา ว่า “ตะอาเลา” จงมา ซึ่งคำนี้มีความหมายเฉพาะว่าทำไมตรงนี้ได้เลือกใช้คำว่า “ตะอาเลา” ?

ในภาษอาหรับเบื้องต้นคำว่า “ตะอาเลา”เป็นการเชิญและการเรียกร้องของคนที่อยู่สูง แล้วเรียกคนที่อยู่ต่ำกว่าให้ขึ้นมา จึงใช้คำว่า”ตะอาเลา”เพราะท่านนบีอยู่ในสถานภาพที่สูงส่ง ถ้าแปลให้เข้าใจง่ายก็คือ “ขึ้นมา” แล้วมาทำอะไร ? “นัดอุอับนาอานา วะ อับนาอากุม วะนิซาอานา วะ นิซาอากุม วะอันฟุซะนา วะอันฟุซะกุม” นำอะไรมา…. ?

“อับนาอานา วะ อับนาอากุม” เราจะนำลูกๆของเรามา พวกเจ้าก็เอาลูกๆของเจ้ามา “นิซาอานา วะ นิซาอากุม”เราจะนำเหล่าสตรีของเรามา พวกท่านก็จงนำเหล่าสตรีของพวกท่านมา “วะอันฟุซะนา วะ ฮันฟุซะกุม”และเราจะนำตัวตนแห่งเรามาและพวกท่านก็จงนำตัวตนแห่งท่านมา”

คำว่า “อันฟุซ”จะแปลว่าตัวแทนไม่ได้ เพราะมันคือตัวตน คำว่าอันฟุซที่ใช้ในโองการนี้เป็นคำพหุพจน์ ส่วน อับนา อานา “ลูกๆของเรา”ก็เป็นคำพหุพจน์ และนิซาอานา”เหล่าสตรีของเราก็เป็นคำพหุพจน์ ดังนั้นเมื่อเรียกทุกฝ่ายพร้อมกันหมดแล้ว “ซุมมานับตะฮิล” เราก็มาทำการมุบาฮะละฮฺกัน

นิยาม “มุบาฮะละฮฺ”

คำว่า”มุบาฮะละฮฺ”ตามรากศัพท์ภาษาอาหรับ หมายถึงการทิ้งขว้าง มุบาฮาละฮฺคือการขอให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกทิ้งขว้างจากอัลลอฮฺ(ซบ) ในแง่ของคำนั้น เบาบางกว่าการ “ละอฺนัต” เบาบางกว่าการสาปแช่ง แต่จริงๆแล้วการถูกทิ้งขว้างจากอัลลอฮฺนั้นก็คือการถูกสาปแช่ง การห่างไกลจากเราะฮฺมัตของอัลลอฮฺ หนึ่งในความหมายของการถูกทิ้งขว้างคือการถูกทำให้ห่างไกลจากเราะฮฺมัตของอัลลอฮฺ ใครก็ตามที่วิถีชีวิตในโลกนี้ได้ห่างไกลจากเราะฮฺมัตของอัลลอฮฺ นั้นคือชีวิตที่ถูกละอฺนัต และถูกสาปแช่ง ซึ่งประโยคที่ตามมาจะเป็นตัวอธิบายได้ดีที่สุด ว่าการที่ตัวตนถูกทิ้งขว้างและห่างไกลจากเราะฮฺมัตของอัลลอฮฺนั้นจะเป็นอย่างไร….?

ชีวิตที่ดีนั้นคือชีวิตที่ได้รับการดูแลได้รับเราะฮฺมัตคอส(รอฮฺมัตพิเศษ) และเราะฮฺมัตจำเพาะจากพระองค์ จริงๆแล้วมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือกาเฟรจะได้รับเราะฮฺมัตจากอัลลอฮฺ(ซบ)ทุกคน แต่เป็นเราะฮฺมัตอาม(ทั่วไป)ที่ได้รับทุกคนทั้งกาเฟร มุชริก และมุนาฟิก แต่เราะฮฺมัตพิเศษที่ทำให้มีความสงบสุขและได้รับฮิดายัต(ทางนำ)และ เราะฮฺมัตที่ถูกยอมรับในตัวเขา เพื่อทำให้ฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชนที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งแน่นอนกลุ่มชนใดก็ตามที่ถูก อัลลอฮฺ(ซบ)ทอดทิ้งนั้นคือกลุ่มชนที่ถูกสาปแช่ง

“วะนัจอัล ละอฺนะตัลลอฮฺ ฮิอะลัลกาสิบีน” “และให้การสาปแช่งจากอัลลอฮฺนั้นเกิดแก่กลุ่มชนผู้กล่าวเท็จทั้งหลาย” “อะลัล กาสิบีน” นั้นคือผลของการมุบาฮาละฮฺที่จะนำมนุษย์ไปสู่การถูกสาปแช่งโดยตรง

คริสต์เตียนรับคำท้าของท่านนบีมุฮัมมัด(ซล) และมีการกลับไปเตรียมตัวกัน และเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นที่รับรู้กันทั่วในยุคสมัยนั้น บรรดามุสลิมต่างก็มีความหวังว่าพรุ่งนี้เราจะได้นำชีวิตของเราไปเป็นเดิมพันพิสูจน์สัจธรรมของอิสลาม เพราะคำที่ใช้เป็นพหุพจน์ “อับนา อานา” “ลูกๆของเรา” เบื้องต้นก็คือลูกๆของอิสลาม “นิซาอานา” คือเหล่าสตรีของอิสลาม “อันฟุซานา” คือตัวตนแห่งนบี ซึ่งแต่ละพวกแต่ละกลุ่มนั้นใครจะถูกเลือกให้มาอยู่ในตำแหน่งนี้

ในวันนัดหมายคือวันที่ยี่สิบสี่ ซุลฮิจญะฮฺ ฮิจเราะฮฺที่เก้า ทุกคนต่างรอคอย มีริวายัตจำนวนมากรายงายว่า มีการจัดพิธีสำคัญอันหนึ่ง มีการนัดจุดนัดหมายอย่างสมบรูณ์ ซึ่งบรรดาศอฮาบะฮฺต่างก็เตรียมตัวเพื่อจะถูกเลือกจากท่านรอซูลุลลอฮฺ(ซล) ประวัติศาสตร์ตรงนี้ได้มีการรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์ ท่านมัรฮูม อัลลามะฮฺ ฏอบา ฏอบาอี ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ตัฟซีร อัลมีซาน ว่า เฉพาะศอฮาบะฮฺที่สำคัญๆ มีมากกว่าห้าสิบเอ็ดคนที่ได้รายงานเรื่องมุบาฮะละฮฺ

กอฏี นูรุลลอฮฺ หนึ่งในอุลามะอฺที่สำคัญของชีอะฮฺในยุคหนึ่งได้บันทึกรายชื่อของอุลามาอฺอะฮลิลซุนนะฮฺถึงหกสิบคนที่ได้รายงานเรื่องราวของมุบาฮะละฮฺ และคำอธิบายต่างๆของแต่ละคนนั้นได้บันทึกรายละเอียดไว้อย่างสมบูรณ์

 

ติดตามอ่านต่อ สาบานพิสุทธิ์ (ตอนที่ 3)

สาบานพิสุทธิ์ (ตอนที่ 3)