คำตอบ เมื่อมันถือหุ้น มันก็จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและลูกหลาน
เมื่อเรามีสิทธิ์ใช้ในทรัพย์สินของเรา มันก็มีสิทธิ์ใช้ในกรรมสิทธิ์ส่วนของมัน ลูกหลานเราก็มีสิทธิ์สั่งในส่วนของเรา มันก็มีสิทธิ์สั่งในส่วนของมัน แต่ถ้าวันใด เราสั่งใช้เหมือนกับที่มันอยากจะให้สั่ง คือทำอย่างเดียวกันกับที่มันต้องการ มันปราถนา มันก็จะยกหุ้นในส่วนของมันให้เราทั้งหมด เพราะฉะนั้นให้เรารู้ว่า การใช้ชีวิตของเรา ถ้าประมาทในเรื่องทรัพย์สินและลูกหลานของเรานั้น มันจะมีส่วนที่เป็นของไชฏอนด้วย
เพราะฉะนั้น ทรัพย์สินของเรา ลูกหลานของเราไชฏอนมีสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่ง หากวิถีชีวิตของเราไม่มีความระมัดระวัง ในเมื่ออัลกุรอานขึ้นต้นด้วย ‘อัมวาล’ لْأَمْوَا หรือทรัพย์สินก่อน
คำถาม : ไชฏอน ถือหุ้นในทรัพย์สินของเราได้อย่างไร ทั้งๆที่เราเหนื่อย กับการทำมาหากินเพียงคนเดียว อีกทั้งกว่าจะได้เงินทองและทรัพย์สินก็มิใช่ได้มาอย่างง่ายดาย ครั้นได้มาแล้ว อยู่ดีๆกลับมีไชฏอนร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย เป็นไปได้อย่างไร สิทธิ์อันนี้มาจากไหน ?
คำตอบ : ไชฏอนได้สิทธิ์นั้น เพราะทรัพย์สินที่ได้มาด้วยวิธีการที่ฮะร่าม ส่วนจะฮะร่ามด้วยสาเหตุใดก็ตาม พึงระลึกไว้ว่า อะไรก็ตามหากได้มาด้วยวิธีการที่ฮะร่าม ขอให้รู้ไว้ว่า ไชฏอนเป็นผู้ถือหุ้น ได้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นด้วย
ตัวอย่าง : การโกง การโกหก บางครั้งมาจากการค้าขาย เช่น ขายโรตี ขายส้ม ขายนม ขายข้าวสาร เมื่อมีการโกงตาชั่ง การพูดโกหกในการค้าขาย ถือว่าเป็นฮะร่าม เพราะการพูดโกหกในการค้าขายถือว่าทรัพย์สินนั้นมาด้วยวิธีการฮะร่ามเช่นกัน
นี่คือวิธีการหนึ่ง ถึงแม้มันเป็นสิ่งฮะล้าลแต่หากมาด้วยวิธีการขายที่ฮะร่าม พึงระลึกไว้เลยว่า ทรัพย์สินที่ได้มาก็จะฮะร่ามเช่นกัน
อีกหนึ่งกรณี คือ สิ่งค้าขายที่ฮะร่ามโดยตรง หมายถึง ผู้ที่ขายเหล้า ขายยาเสพติด ฯลฯ นั้น ถึงแม้เขาจะพูดความจริง หรือ ขายด้วยความอิคลาศ ไม่โกง แต่วิธีการชัดเจนเป็นฮะร่ามโดยตรงอยู่แล้ว นั่นคือ อีกหนึ่งที่ไชฏอนร่วมถือหุ้นด้วย
มาถึงวิธีที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นที่เราต้องทำความเข้าใจ เบื้องต้น ทรัพย์สินที่ได้มาฮะล้าลตั้งแต่แรก วิธีการที่ได้มาก็ฮะล้าล ของที่ขายไปก็ฮะล้าล แต่เมื่อผ่านไปนานวัน กลับกลายเป็นฮะร่าม …….ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
นักเรียนต้องทำความเข้าใจบทเรียนไชฏอนศึกษาอย่างลึกซึ้งให้ได้ เรากำลังอธิบาย สำหรับคำว่า…
( وَشَارِكْهُمْ فِي الْأَمْوَالِ ) “ไป เจ้าจงไปปล้นในทรัพย์สินของพวกเขา มีส่วนถือหุ้นอยู่ด้วย”
คำถาม ทรัพย์สินแบบไหน ที่มันจะปล้น ?
คำตอบ คือ ทรัพย์สินที่ไม่ยอมจ่ายคุมุซ ไม่ยอมจ่ายซะกาต ทรัพย์สินที่เคยฮะล้าล จะเปลี่ยนกลายไปเป็นทรัพย์สินที่ฮะร่าม
ฉะนั้น เมื่อฮะร่ามเมื่อไหร่ ไชฏอนก็จะเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในทรัพย์สินของเราทันที เมื่อมันมีหุ้นส่วนมันก็จะถูกใช้จ่ายไปตามความปราถนาของมัน ซึ่งมีมากมายหลายวิธี ดังนั้น การใช้จ่ายที่ไชฏอนเป็นหุ้นส่วน เงินที่เอาไปซื้อของที่ฮะร่ามส่วนมาก ก็คือเงินฮะร่ามมาแต่เดิม เพราะเรากำลังใช้จ่ายตามความประสงค์ของไชฏอน
ทำไมจึงต้องซื้อ ? เพราะมันถือหุ้นอยู่กับเรา สิ่งที่เราจะซื้อก็ต้องซื้อตามมันด้วย
สำหรับทรัพย์สินที่เป็นฮะร่าม เมื่อเราไปซื้อของฮะร่าม เช่น ซื้อเหล้า ซื้อยาเสพติด และ สิ่งต่างๆที่เป็นฮะร่าม หรือเอาไปกระทำในสิ่งที่เป็นฮะร่าม นั่นคือ การซื้อไปตามความประสงค์ของไชฏอน จะเห็นได้ว่า การทำตามไชฏอนนั้น มิใช่การทิ้งละหมาดเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการใช้จ่ายทรัพย์สินไปตามวิถีที่ไชฏอนต้องการ และเราก็ฝืนมันไม่ได้เพราะเราเป็นหุ้นส่วนกับมันในทรัพย์สินนั้นไปแล้ว และการเป็นหุ้นส่วนกับไชฏอนในทรัพย์สินนั้น มิใช่การเอาเงินไปซื้อของฮะร่ามเพียงอย่างเดียว บางครั้งเป็นการซื้อด้วยเงินที่ฮะล้าล เดิมตัวสิ่งของเป็นฮะล้าล คือ ไม่ใช่ซื้อหมู ซื้อเหล้า ซื้อยา แต่ที่การซื้อกลายเป็นฮะร่ามนั้น เป็นเพราะการใช้จ่ายไปเป็นตามวิถีของไชฏอน เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งนั้นจึงฮะร่ามทันที
คำถาม การซื้อขายที่เป็นฮะร่าม คือการซื้อขายแบบไหน?
คำตอบ คือ การใช้จ่ายที่ مُبَذِّرِ
(อินชาอัลลอฮ์ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับไชฏอน ที่มีอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน เราจะพยายามนำมาอธิบายทั้งหมด)
การใช้จ่ายที่ مُبَذِّرِ โองการนี้เราไม่ได้พิมพ์ในบทเรียนนี้เพราะเราไม่ได้อธิบายโองการนี้โดยตรง แต่คำๆนี้ คือ คำที่เราจะมาอธิบายประกอบเพื่อให้รู้ลักษณะการใช้จ่ายที่มีไชฏอนเป็นหุ้นส่วน กล่าวคือ
1.มนุษย์ใช้จ่ายเป็นไปตามลักษณะที่ไชฏอนต้องการ
2.มนุษย์ใช้จ่ายไปตามแบบฉบับของไชฏอน คือ การฟุ่มเฟือย การสุรุ่ยสุร่าย
ทำไมเราถึงเอาเรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การสุรุ่ยสุร่ายมาอยู่ในหัวข้อไชฏอนศึกษา
ในซูเราะฮ์อัล-อิศรอฮ์ โองการที่ 26-27
(ต่อเนื่องจากซูเราะฮ์ที่ 26 ส่วนซูเราะฮ์ที่ 27 คือโองการเต็ม)
อัลลอฮ์ (ซบ) ได้ปิดท้ายโองการที่ 26 ของซูเราะฮ์อัล-อิศรอฮ์
وَلَا تُبَذِّرْ تَبْذِيرًا : และพวกเจ้าจงอย่าใช้จ่ายแบบ مُبَذِّرِ ( “มูบัซเซร”)
คำว่า (مُبَذِّرِ ) คำอ่าน “มูบัซเซร” มุสลิมประเทศไทยก็ใช้คำนี้อยู่ โดยพี่น้องมุสลิมกรุงเทพฯจะใช้คำว่า (مُبَذِّرِ )โดยตรง ส่วนมุสลิมภาคใต้จะใช้คำว่า (بَذِّرِ)“บาเซร” ซึ่งรากศัพท์เดิมนั้น ก็มาจาก( مُبَذِّرِ) เป็นการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เราเรียก สุรุ่ยสุร่าย ลักษณะนี้ คือ การใช้จ่ายของไชฏอน
ในซูเราะฮ์อัล-อิศรอฮ์ โองการที่ 26 อัลลอฮ์ (ซบ) บอกว่า…
(وَلَا تُبَذِّرْ تَبْذِيرًا) : และพวกเจ้าจงอย่าใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่าย
และโองการที่ 27 มาอธิบายเต็มว่า…
إِنَّ الْمُبَذِّرِينَ كَانُوا إِخْوَانَ الشَّيَاطِينِ وَكَانَ الشَّيْطَانُ لِرَبِّهِ كَفُورًا
إِنَّ الْمُبَذِّرِينَ كَانُوا إِخْوَانَ الشَّيَاطِينِ
: แท้จริงผู้ที่ฟุ่มเฟือยนั้นเป็นพี่น้องกับไชฏอนทั้งหลาย
บุคคลที่ مُبَذِّرِ คนที่สุรุ่ยสุร่าย คนที่ฟุ่มเฟือยในการใช้จ่ายเงินทองนั้น
(ประโยคนี้หนัก เพราะโองการไม่ได้บอกว่าเป็นลูกน้อง หรือ พรรคพวกของไชฏอน แต่บอกว่าเป็นพี่น้องของไชฏอน ซึ่งถือนับว่าหนักเป็นอย่างมาก เพราะกุรอ่านใช้คำว่า إِخْوَانَ และยังเป็นกลุ่มอีกด้วย
(شَّيَاطِينِ ) คำนี้ หมายถึงไชฏอนทั้งหลาย มิใช่แค่ตัวเดียว
( شَّيَاطِينِ) คือ ไชฏอน ในรูปพหูพจน์ ซึ่งหมายถึง ไชฏอนหลายตัว ไชฏอนทั้งหมด
สำหรับคนที่ (مُبَذِّرِ )คนที่สุรุ่ยสุร่าย คนที่ฟุ่มเฟือย เขาจะเป็นพี่น้องกับไชฏอน ซึ่งอาจจะไม่หมด แต่ถือได้ว่าเป็นพี่น้องกับไชฏอนจำนวนมากอย่างแน่นอน เพราะคำว่า شَّيَاطِينِ เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า شيطَان นั่นเอง
และคำปิดท้าย
وَكَانَ الشَّيْطَانُ لِرَبِّهِ كَفُورًا :
(และจงรู้ไว้ว่าไชฏอน คือ ผู้ปฏิเสธพระผู้อภิบาลของพวกเขา)
ดังนั้น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย คือ การใช้จ่ายในวิถีทางของมาร และเมื่อมันถือหุ้น มันก็เป็นเจ้าของหุ้นส่วนอันนี้ สิทธิ์ของการใช้จ่ายส่วนหนึ่งจะถูกใช้จ่ายไปในแนวทางของมัน เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวังพอสมควรเพราะเรื่อง مُبَذِّرِ ไม่ใช่เรื่องเล็ก อย่าได้มองว่าเป็นเรื่องเล็ก หากอะไรมีความจำเป็นต้องซื้อก็ซื้อไป อย่าได้ตระหนี่ถี่เหนียว เพราะ อิสลามประณามอย่างหนักต่อผู้ที่ตระหนี่ถี่เหนียว และอิสลามก็ประณามผู้ที่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายในการดำเนินชีวิตด้วยเช่นเดียวกัน
นี่คือความหมายของคำว่า (أُمَّةً وَسَطًا )ประชาชาติที่เดินในสายกลาง เมื่อถึงภาวะที่จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น การช่วยเหลือครอบครัว สังคมเบื้องสูง กิจการศาสนา เขาจะต้องทุ่มเท ไม่ว่าจะหมดไปสักกี่ล้านเขาก็ต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่ ทว่าการใช้จ่ายในลักษณะนี้ เราไม่เรียกว่า (مُبَذِّرِ )
ตัวอย่าง เจ้าภาพสถานที่แห่งนี้ วันนี้หมดค่าอาหาร อีกทั้งอำนวยความสะดวกในหลายๆอย่างเพื่อให้มีมัจญลิสไชฏอนศึกษา กว่าจะเรียนตัฟซีรไชฏอนจบครบถ้วน อาจจะหมดเป็นล้าน ถึงหมดเป็นล้าน ก็ไม่เรียกว่า ฟุ่มเฟือย เพราะใช้จ่ายถูกวิธี แต่ถ้าเราซื้อเสื้อตัวละ 7,000 บาท มาสวมใส่ อย่างนี้ควรจะตำหนิ เพราะอิสลามไม่อนุญาตให้มนุษย์สิ้นเปลืองไปกับค่าใช้จ่ายในรูปลักษณะนี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น และหากเราเรียนไชฏอนศึกษาประกอบกับบทเรียนซีฟัตมุตตากีน ก็จะเข้าใจได้ในทันที
(وَ مَلْبَسُهُمُ الِاقْتِصَاد)
“และเครื่องแต่งกายของเขานั้นเรียบง่าย ประหยัด”
คำว่า ‘อิกติศอด’ นอกจากจะเป็นที่ต้องระมัดระวังเรื่องทางเศรษฐกิจแล้ว ยังหมายถึงความเรียบง่าย และประหยัด ดังกล่าวนี้ คือ คุณลักษณะของผู้ศรัทธา
อิสลามไม่ได้สอนให้ตระหนี่จนถึงขั้นนุ่งกางเกงปะ คนประเภทนี้ก็ถูกตำหนิเช่นกัน มีเงินแต่ตระหนี่ นี่คือความหมายของ أُمَّةً وَسَطًا ประชาชาติที่เดินทางสายกลาง ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่ฟุ่มเฟือย ทว่าต้องใช้จ่ายตามความเหมาะสมด้วยศักยภาพของแต่ละบุคคล ของแต่ละฐานะ ของแต่ละครอบครัว
ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้เดินผ่านเศรษฐีคนหนึ่ง เขาสวมเสื้อเหมือนขอทาน นบีถามว่า นั่นใช่คนนั้นหรือเปล่า? ทำไมแต่งตัวแบบนี้ นี่เจ้ากำลังดูถูกอัลลอฮ์ (ซบ) เจ้าไม่ได้ขอบคุณพระองค์ (ซบ) เลย ทำไมไม่แสดงออกในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ) ประทาน
หากคนที่มีฐานะ แต่งตัวไม่เป็นไปตามความเหมาะสม โอกาสที่คนต่างศาสนา คนต่างชาติ จะว่าเอาได้ อีกทั้งดูแคลน พร้อมกล่าวว่า ไอ้พวกแขกนี่มันจนเหมือนกันหมด ไม่มีคนรวยเลยหรืออย่างไร
สมมติ หากคนมีฐานะดี สวมเสื้อกระสอบ(เสื้อมือสอง)กันหมด ถามว่า ทำไมไม่สวมใส่ในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ(ซบ)ทรงประทาน
มุสลิม ในต่างศาสนิก เรียกว่า แขก หากแขกมีความสามารถ ก็ควรใส่เสื้อผ้าดีๆ ขับรถเบนซ์ ขับขี่รถดีๆได้ แต่บางคน มีเงินร้อยกว่าล้าน กลับขี่มอเตอร์ไซค์ฮอนด้ารุ่นเก่าๆ ซึ่งในศาสนาตำหนิคนที่มีลักษณะอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าศาสนาอิสลามมีความคลาสสิคเป็นอย่างมาก
ดังนั้น ในวิถีของการดำเนินชีวิต ศาสนาไม่อนุญาตให้ฟุ่มเฟือยและตระหนี่ถี่เหนียว แต่มีฮะดิษรายงานว่า ท่านนบี (ศ็อลฯ) บอกว่า หนึ่งในความโชคดีของผู้ศรัทธา คือ มีบ้านที่กว้างใหญ่ นี่คือท่านนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ได้กล่าวไว้ บ้านที่กว้างใหญ่รับแขกได้สะดวก
เนี้ยะมัตของมุอ์มิน คือ หากมีความสามารถให้มีบ้านที่กว้างใหญ่ ไม่ใช่มีบ้านคับแคบ แขกมาก็ไม่รู้จะนอนที่ไหน
กรณีหากเขามีความสามารถ เนี้ยะมัตอันหนึ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ) ให้กับบรรดาผู้ศรัทธา ให้กับคนที่พระองค์ (ซบ) รัก คือให้มีบ้านที่ใหญ่ ที่กว้างใหญ่พอที่จะรับแขกได้ ทำอะไรก็ได้ นั่นคือ ลักษณะแห่งความดี ไม่ใช่มีเงินแต่ทำบ้านแค่ สี่คูณห้าเมตร อิสลามไม่ได้สอนแบบนั้น เพราะฉะนั้น مُبَذِّرِ อิสลามก็ไม่อนุญาต ส่วน ‘บะเคล’ ตระหนี่ถี่เหนียว อิสลามก็ไม่อนุญาตเช่นกัน เพราะถือว่า ไชฏอนมีหุ้นส่วนอยู่ ทำไมเราถึงตระหนี่ถี่เหนียว
ทำไมความตระหนี่ถี่เหนียวเกิดขึ้นกับเรา
ทำไมเรามีเงินถึงไม่บริจาค
ทำไมเงินของเราไม่กล้าช่วยเหลือผู้ยากไร้ ไม่กล้าจ่ายคุมุซ ไม่กล้าจ่ายซากาต ทำไมเงินเหล่านี้จึงไม่ถูกนำมาใช้
ทำไมถึงเกิดการตระหนี่ถี่เหนียวขึ้นมา นั่นเป็นเพราะไชฏอนมามีหุ้นส่วนอยู่
ด้านหนึ่งมันอยู่ด้วย มันให้เราใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยอย่างผิดวิธีที่ทรงผลทำให้อัลลอฮ์ (ซบ)ทรงกริ้ว อีกด้านหนึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าบริจาคไม่ไหว ช่วยเหลือไม่ไหวเพราะมันก็มีกรรมสิทธิ์อยู่ เพราะฉะนั้นทรัพย์สินที่เรามี แต่ไม่นำมาใช้ ไม่กล้าบริจาค ไม่กล้าช่วยเหลือสังคม ไม่กล้าช่วยเหลือพี่น้องผู้ยากไร้ จงรู้เลยว่า ไชฏอนหุ้นอยู่ในทรัพย์สินอันนั้นที่มีอยู่ มันเลยทำให้เรานั้นไม่ได้ใช้เงินไปในทางที่ถูกต้อง ถ้าเราฟุ่มเฟือยก็เหมือนกัน การใช้จ่ายในทรัพย์สินนั้น ก็คือ ไชฏอนหุ้นอยู่ด้วย บางครั้งมันไม่มีหุ้นในทรัพย์สิน แต่มันถือหุ้นในตอนที่เราใช้จ่ายไปด้วย ไม่ใช่เห็นว่าใครใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนั้นเป็นการใช้จ่ายของไชฏอน บางทีมันไม่ใช่ บางทีมันไม่ได้ถือหุ้นในทรัพย์สิน แต่มันไปถือหุ้นในตอนที่เราใช้จ่าย เราใช้จ่ายเพื่อมันด้วย การใช้จ่ายที่ مُبَذِّرِ นั้นเป็นการใช้จ่ายเพื่อมัน
นี่คือความหมายของ وَشَارِكْهُمْ فِي الْأَمْوَالِ ความว่า : ไปเลย ไปเป็นหุ้นส่วนกับพวกเขา พวกที่ตามไชฏอน
ตามที่ได้กล่าวในโองการแรก فَمَن تَبِعَكَ مِنْهُمْ : พวกนี้นี่แหละที่อัลลอฮ์ (ซบ) ว่ากลับมาเมื่อไหร่จะจัดเต็ม พวกที่ تَبِعَكَ พวกที่ตามเจ้านี่แหละกลับมาเมื่อไหร่จะจัดเต็มให้ จะต้อนรับอย่างด
جَزَاءً مَّوْفُورًا และบอกเลย ไปรวบรวม ไปหลอกลวงพวกนี้แหละ مَن تَبِعَكَ مِنْهُم
นี่เราเพียงอธิบายคำว่า فِي الْأَمْوَالِ ความว่า : ในทรัพย์สิน
وَ فِي الْأَوْلَا ความว่า : และหุ้นในลูกหลาน สายเลือด
คำว่า اوْلَا แปลว่า ลูกหลาน
ลูกของเราด้วย จะกลายเป็นลูกของไชฏอนไปด้วย ยาอัลลอฮ์ หลานของเราก็เป็นทั้งหลานของไชฏอนด้วย อธิบายไปแล้วว่า หากถือตามกฎหมาย ถ้าหุ้นส่วนหมายความว่า มีกรรมสิทธิ์ในหุ้น เราก็ใช้ไปตามของเราด้วย มันก็ใช้ไปตามของมันด้วย เราใช้ให้ไปนมาซ มันใช้ให้ไปกินน้ำกระท่อม เราใช้ให้ไปสุเหร่า มันใช้ให้ไปคาราโอเกะ จะไปไม่ไปมันอยู่ที่ความเข้มข้นของผู้ถือหุ้น
สมมติว่า เราดีแล้วแต่บังเอิญว่าลูกหลานที่เราได้มามันมีหุ้นอยู่ด้วย เพราะอะไร ขั้นต่อไปเราจะอธิบายว่าทำไมถึงได้มีมันมาถือหุ้นอยู่ด้วย เราใช้ให้ทำดี มันใช้ให้ทำบาป หรือบางครั้งเราเป็นตัวแทน มันมอบกรรมสิทธิ์ให้ คือ พ่อแม่เองก็ไม่ได้ดี เมื่อพ่อแม่ของตัวเองไม่ได้ดีนั้น ไชฏอนมันไม่ได้หุ้นแต่ไชฏอนมันถือทั้งหมด บางครอบครัว เราจะเห็นลูกกับพ่อนั่งชนแก้วกัน พ่อลูกทำบาปด้วยกัน เพราะตัวของพ่อเองก็อยู่ในกรรมสิทธิ์ของไชฏอน
นี่เป็นตัวอย่าง รูปลักษณะอันตรายหนึ่ง ที่อัลลอฮ์ (ซบ) ทรงเปิดเผย
ดังนั้น เราจะต้องระวังในชีวิตทรัพย์สินที่ได้มา จะต้องไม่มีไชฏอนถือหุ้นในทรัพย์สิน ต่างๆ เหล่านั้น และทรัพย์สินที่ไชฏอนถือหุ้นอยู่ ก็คือ ทรัพย์สินที่ได้มาด้วยวิธีการที่ฮะร่าม ไม่ว่าจะฮะร่ามแบบไหน เราจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก จะแบบตรง แบบอ้อม แบบเข้าโค้ง แบบหลุดโค้งอะไรก็ตาม
เราจะต้องระมัดระวังในทรัพย์สินเหล่านี้ มันมีผลต่อวิถีชีวิตของเรา มันมีผลต่อลูกหลานของเรา ซึ่งผมยังไม่ได้อธิบายในรูปแบบบวกกัน เพียงจะบอกว่าเมื่อไชฏอนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มันก็ถือกรรมสิทธิ์ในลูกหลานของเราร่วมไปแล้ว เพราะทรัพย์สินเงินทองที่ไชฏอนถือหุ้นอยู่นั้น เราก็เอามาเลี้ยงลูกของเรา เอาให้ลูกกินลูกใช้ ลูกเราก็กินของที่เป็นส่วนของไชฏอนด้วย
ฉะนั้น มันหุ้นอยู่แล้วในทรัพย์สินที่ฮะร่าม มันถือหุ้น และเมื่อเราเอาทรัพย์สินที่ฮะร่ามมาเลี้ยงลูกเลี้ยงภรรยา
ดังนั้น ริสกีที่ฮะลาล จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งที่น่ากลัว ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า…
“หนึ่งในยุคอาคิรุลซะมานสิ่งที่หาได้ยากสิ่งหนึ่ง คือ ทรัพย์สินที่ฮะล้าล”
จงระวังไว้ให้ดี และนี่คือ ผลของทรัพย์สินที่มีไชฏอนหุ้นส่วนทางอ้อมต่อลูกหลานของเรา
บรรยายโดย… ซัยยิดสุไลมาน ฮุซัยนี
ถอดคำบรรยาย… กัสมา บินตีดาวุด