จอมคนแห่งกัลยาณชน
โดยฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลีมีน ซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี
การปฏิวัติอิสลามอันรุ่งโรจน์ในอิหร่านนั้น เป็นมหากาพย์ของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย เป็นประวัติศาสตร์ที่มุสลิมและชาวโลกต้องตะลึงงัน บทปุจฉาวิสัชนาแห่งมหากาพย์นี้ต้องจารึกไว้เป็นบทเรียนอันล้ำค่าต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จ ตามหลักการอิสลามอันบริสุทธิ์
องค์ประกอบที่ทำให้การปฏิวัติครั้งนั้นประสพผลสำเร็จได้ คือการเสียสละของประชาชนชาวอิหร่าน ในส่วนของผู้นำท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) นั้น คงจะไม่ต้องพูดถึงความยิ่งใหญ่อันใดเพิ่มเติมอีก อุดมการณ์ก็สูงส่งจนไม่มีสิ่งใดที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เพิ่มเติมอีก ทั้งสามองค์ประกอบที่ว่าคือ
ประการแรก การเสียสละของประชาชาติ
ประการที่สอง บุคลิกอันโดดเด่นสูงส่งของผู้นำ
ประการที่สาม อุดมการณ์อันสูงส่งแน่วแน่
เมื่อทั้งสามองค์ประกอบดังว่านี้สอดคล้องกันเมื่อไหร่ การปฏิวัติเพื่อความเปลี่ยนแปลงจึงบังเกิดผล!!!
สังคมอิสลามเคยมีอิมามที่ยิ่งใหญ่กว่าอิมามโคมัยนี (รฎ) แต่การปฏิวัติไม่ได้บังเกิดขึ้น เช่นยุคสมัยแห่งท่านอิมามฮูเซน (อ.) อิมามริฎอ (อ.) อิมามญะอฺฟัร (อ.) ท่านเหล่านี้ยิ่งใหญ่สูงส่งกว่าท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) เสียอีก แต่ท่านอิมามเหล่านี้ก็ไม่สามารถปฏิวัติเพื่อสถาปนารัฐอิสลามขึ้นมาได้ เหตุผลที่สำคัญเพราะขาดองค์ประกอบไปข้อหนึ่งนั่นคือความไม่พร้อมที่จะเสียสละของประชาชาติ
ผู้นำและผู้ตามจะต้องมีความพร้อมกันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าหากว่าฝ่ายหนึ่งพร้อมอีกฝ่ายหนึ่งไม่พร้อม การปฏิวัติไปสู่ความสำเร็จก็บังเกิดขึ้นไม่ได้ ถึงจะมีรอซูลที่เป็นรอซูลอุลุลอัศมี ศาสดาเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำมนุษย์ไปสู่หลักชัยตามปรารถนาได้ เพราะประชาชาติแห่งยุคสมัยไม่มีคุณภาพที่เพียงพอ
การปฏิวัติอิสลามประสพผลสำเร็จด้วยการเสียสละของประชาชาติอิหร่าน
การปฏิวัติอิสลามอันรุ่งโรจน์ในอิหร่าน เมื่อใกล้ถึงจุดแตกหักและใกล้สู่ชัยชนะในหกเดือนสุดท้ายของรัฐบาลชาห์ ปาห์เลวี ได้ตัดสินใจร่วมกับรัฐบาลอิรักให้เนรเทศอิมามโคมัยนี (รฎ) ออกจากประเทศ อิมามโคมัยนี (รฎ) ตัดสินใจที่จะเดินทางเข้าสู่คูเวต แต่คูเวตไม่อนุญาต และไม่มีประเทศไหนอนุญาตให้อิมามโคมัยนี (รฎ) ลี้ภัยการเมืองเข้าประเทศ
จนสุดท้ายท่านอิมามโคมัยนี (รฎ) ได้ตัดสินใจลี้ภัยการเมืองไปประเทศฝรั่งเศสแต่ก็ถูกปฏิเสธอีก เพื่อต้องการที่จะกดดันปฏิวัติไม่ให้ประสพความสำเร็จ
อ่านต่อในฉบับ